โดย Free Somyot
สม ยศ พฤกษาเกษมสุข เริ่มต้นการทำงานโดยการเข้าร่วมขบวนการแรงงานตั้งแต่ยังศึกษาที่มหาวิทยาลัย รามคำแหง หลายคนอาจไม่รู้ว่าก่อนหน้านั้นเมื่อเขายังอยู่ในวัยรุ่น สมยศได้เข้าร่วมขบวนการนักเรียนและร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยใน ยุค 6 ตุลา 2519
สมยศได้เริ่ม ต้นการทำงานในองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและจากนั้นได้เข้าสู่ขบวนการแรง งานโดยมีผลงานการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนหลายครั้งเช่น การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานอ้อมน้อย เป็นที่ปรึกษาให้สหภาพแรงงานไทยเบลเยี่ยมและคนงานโรงงานทอผ้าพาร์การ์เม้นท์ ในการต่อสู้การเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำและการเลิกจ้างคนงานที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงาน การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมของคนงานย่านรังสิต ปทุมธานี การช่วยเหลือคนงานเนื่องจากไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ร่วมกับองค์กรแรงงาน ไทยและต่างประเทศ ก่อตั้งกลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ลูกจ้างหญิงทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับสิทธิการลาคลอด โดยได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 3 เดือน
นอก จากนี้เขายังได้ก่อตั้งศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน ซึ่งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและอบรมคนงานด้านสิทธิการจ้างงานและฝึกอบรมคนงานใน สายการผลิตต่างๆเช่นโรงงานเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และจักรยานยนต์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 จนถึง 2548 ต่อจากนั้นสมยศหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังสือและคอลัมนิสต์ ซึ่งเป็นงานที่เขารักและถนัดมาตั้งแต่ครั้งเป็นสาราณียากรให้กับโรงเรียนเทพ ศิรินทร์ขณะเรียนอยู่มัธยมปลาย
สม ยศเริ่มต้นอาชีพคนทำหนังสือโดยก่อตั้งสำนักพิมพ์สยามออลเทอร์เนทีฟ และได้ออกนิตยสาร สยามปริทัศน์ และพ็อคเกตบุคส์ที่มีเนื้อหาด้านแรงงานและการเรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งการตรวจสอบรัฐบาลตั้งแต่ยุค รสช เรื่อยมาจนถึงยุครัฐบาลทักษิณ จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารพ.ศ. 2549 สมยศเกิดความสงสัยในกระบวนการประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงถดถอยหลายครั้ง ทั้งๆที่ประเทศไทยควรจะเดินหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบยิ่ง ขึ้นโดยอำนาจของประชาชนแต่กลับต้องถอยหลังเมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น การแสวงหาคำตอบจากการตั้งคำถามในนิตยสารและโลกออนไลน์ทำให้สมยศได้แลก เปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยซึ่งมีความสงสัยในการรัฐ ประหารเหมือนๆกับเขา สมยศและเพื่อนๆจึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่มศึกษาและมีการพัฒนาไปสู่การเข้าร่วม เรียกร้องประชาธิปไตยร่วมกันเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก) และท้ายสุดร่วมขบวนเป็น นปช
ขณะที่ สมยศเข้าร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยแท้ๆที่มาจากการเลือกตั้ง เขาก็ยังดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ จัดทัวร์และนำเที่ยว สมยศไม่ละทิ้งจิตวิญญาณการเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยทำงานด้านการเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ หลายครั้งที่สมยศเคลื่อนไหวเขาถูกขัดขวางจากผู้มีอำนาจและสูญเสียผลประโยชน์ จนถูกตรวจสอบและอายัดบัญชี ถูกจับกุมคุมขังที่ค่ายทหารเมื่อเดือนพ.ค. 2553 เป็นเวลากว่า 1 เดือน
ใน ที่สุดสมยศก็ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) โดยที่เขาไม่รู้ตัวว่าถูกตั้งข้อหา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ขณะที่สมยศเดินทางไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่นครวัต ประเทศกัมพูชา พร้อมกับลูกทัวร์จำนวนมากกว่า 20 ชีวิตและกำลังผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เขากลับถูกจับกุมตัวโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวด้วยเหตุผลที่ว่าเขามี พฤติการณ์จะหลบหนี และคดีที่เขาได้รับเป็นคดีร้ายแรงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ โดยที่พนักงานอัยการกล่าวโทษสมยศจากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ ที่ตีพิมพ์บทความที่อัยการได้นำไปให้ผู้อ่านตีความและมีผู้อ่านตีความว่า พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งๆที่บทความนั้นๆไม่ได้เขียนขึ้นโดยสมยศ
จน กระทั่งถึงวันนี้ เป็นเวลานานกว่า 11 เดือนแล้วที่สมยศถูกคุมขังโดยยังไม่ได้ถูกตัดสินว่าผิดจริงหรือไม่ การยื่นขอประกันตัวถึงศาลชั้นต้นเป็นจำนวน 8 ครั้งรวมถึงการยื่นประกันตัวที่ศาลอุทธรณ์อีก 1 ครั้งโดยศาลให้เหตุผลเช่นเดิม เป็นการตอกย้ำคำถามที่ประชาชนไทยสงสัยในความยุติธรรมว่ายังคงมีอยู่ในประเทศ ไทยหรือไม่ รวมทั้งการตั้งคำถามต่อมาตรฐานการปฏิบัติต่างๆตามกฎหมายเช่นการควบคุมตัวไป ยังเรือนจำจังหวัดต่างๆเพื่อฟังการสืบพยานโจทก์โดยต้องเดินทางเป็นเวลานานไป กลับถึง ๔ จังหวัดและไกลที่สุดกว่า 30 ชั่วโมงทั้งไปและกลับโดยต้องเดินทางโดยรถกรงขังพร้อมกับโซ่ตรวน กับข้อหาที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียน และเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศแล้ว ดูเหมือนว่าระบบยุติธรรมของไทยในวันนี้จะถอยหลังเข้าคลองและล้าหลังยิ่งกว่า บางประเทศเสียด้วยซ้ำ
2 เมษายน 2555
ที่มา fb Free Somyot
สมยศได้เริ่ม ต้นการทำงานในองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและจากนั้นได้เข้าสู่ขบวนการแรง งานโดยมีผลงานการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนหลายครั้งเช่น การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานอ้อมน้อย เป็นที่ปรึกษาให้สหภาพแรงงานไทยเบลเยี่ยมและคนงานโรงงานทอผ้าพาร์การ์เม้นท์ ในการต่อสู้การเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำและการเลิกจ้างคนงานที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงาน การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมของคนงานย่านรังสิต ปทุมธานี การช่วยเหลือคนงานเนื่องจากไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ร่วมกับองค์กรแรงงาน ไทยและต่างประเทศ ก่อตั้งกลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ลูกจ้างหญิงทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับสิทธิการลาคลอด โดยได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 3 เดือน
นอก จากนี้เขายังได้ก่อตั้งศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน ซึ่งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและอบรมคนงานด้านสิทธิการจ้างงานและฝึกอบรมคนงานใน สายการผลิตต่างๆเช่นโรงงานเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และจักรยานยนต์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 จนถึง 2548 ต่อจากนั้นสมยศหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังสือและคอลัมนิสต์ ซึ่งเป็นงานที่เขารักและถนัดมาตั้งแต่ครั้งเป็นสาราณียากรให้กับโรงเรียนเทพ ศิรินทร์ขณะเรียนอยู่มัธยมปลาย
สม ยศเริ่มต้นอาชีพคนทำหนังสือโดยก่อตั้งสำนักพิมพ์สยามออลเทอร์เนทีฟ และได้ออกนิตยสาร สยามปริทัศน์ และพ็อคเกตบุคส์ที่มีเนื้อหาด้านแรงงานและการเรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งการตรวจสอบรัฐบาลตั้งแต่ยุค รสช เรื่อยมาจนถึงยุครัฐบาลทักษิณ จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารพ.ศ. 2549 สมยศเกิดความสงสัยในกระบวนการประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงถดถอยหลายครั้ง ทั้งๆที่ประเทศไทยควรจะเดินหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบยิ่ง ขึ้นโดยอำนาจของประชาชนแต่กลับต้องถอยหลังเมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น การแสวงหาคำตอบจากการตั้งคำถามในนิตยสารและโลกออนไลน์ทำให้สมยศได้แลก เปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยซึ่งมีความสงสัยในการรัฐ ประหารเหมือนๆกับเขา สมยศและเพื่อนๆจึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่มศึกษาและมีการพัฒนาไปสู่การเข้าร่วม เรียกร้องประชาธิปไตยร่วมกันเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก) และท้ายสุดร่วมขบวนเป็น นปช
ขณะที่ สมยศเข้าร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยแท้ๆที่มาจากการเลือกตั้ง เขาก็ยังดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ จัดทัวร์และนำเที่ยว สมยศไม่ละทิ้งจิตวิญญาณการเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยทำงานด้านการเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ หลายครั้งที่สมยศเคลื่อนไหวเขาถูกขัดขวางจากผู้มีอำนาจและสูญเสียผลประโยชน์ จนถูกตรวจสอบและอายัดบัญชี ถูกจับกุมคุมขังที่ค่ายทหารเมื่อเดือนพ.ค. 2553 เป็นเวลากว่า 1 เดือน
ใน ที่สุดสมยศก็ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) โดยที่เขาไม่รู้ตัวว่าถูกตั้งข้อหา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ขณะที่สมยศเดินทางไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่นครวัต ประเทศกัมพูชา พร้อมกับลูกทัวร์จำนวนมากกว่า 20 ชีวิตและกำลังผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เขากลับถูกจับกุมตัวโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวด้วยเหตุผลที่ว่าเขามี พฤติการณ์จะหลบหนี และคดีที่เขาได้รับเป็นคดีร้ายแรงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ โดยที่พนักงานอัยการกล่าวโทษสมยศจากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ ที่ตีพิมพ์บทความที่อัยการได้นำไปให้ผู้อ่านตีความและมีผู้อ่านตีความว่า พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งๆที่บทความนั้นๆไม่ได้เขียนขึ้นโดยสมยศ
จน กระทั่งถึงวันนี้ เป็นเวลานานกว่า 11 เดือนแล้วที่สมยศถูกคุมขังโดยยังไม่ได้ถูกตัดสินว่าผิดจริงหรือไม่ การยื่นขอประกันตัวถึงศาลชั้นต้นเป็นจำนวน 8 ครั้งรวมถึงการยื่นประกันตัวที่ศาลอุทธรณ์อีก 1 ครั้งโดยศาลให้เหตุผลเช่นเดิม เป็นการตอกย้ำคำถามที่ประชาชนไทยสงสัยในความยุติธรรมว่ายังคงมีอยู่ในประเทศ ไทยหรือไม่ รวมทั้งการตั้งคำถามต่อมาตรฐานการปฏิบัติต่างๆตามกฎหมายเช่นการควบคุมตัวไป ยังเรือนจำจังหวัดต่างๆเพื่อฟังการสืบพยานโจทก์โดยต้องเดินทางเป็นเวลานานไป กลับถึง ๔ จังหวัดและไกลที่สุดกว่า 30 ชั่วโมงทั้งไปและกลับโดยต้องเดินทางโดยรถกรงขังพร้อมกับโซ่ตรวน กับข้อหาที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียน และเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศแล้ว ดูเหมือนว่าระบบยุติธรรมของไทยในวันนี้จะถอยหลังเข้าคลองและล้าหลังยิ่งกว่า บางประเทศเสียด้วยซ้ำ
2 เมษายน 2555
ที่มา fb Free Somyot
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น