นาฬิกา รูปภาพ ปฎิทิน


       เวลาประเทศไทย...  
 
 
 

       ปฏิทินวันนี้...  

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ศาลอาญายกฟ้องคดีเสื้อแดงหมิ่นเบื้องสูงผ่านเฟซบุ๊ก ชี้พยานโจทก์มีข้อสงสัย



เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 31 ต.ค. ที่ห้องพิจารณา 804 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง หมายเลขดำ อ.4857/2554 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุรศักดิ์ หรือสุรภักดิ์ ภูไชยแสง หรือภูไชยแสน หรือภูไชแสง อายุ 41 ปี โปรแกรมเมอร์อิสระ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ,14,17
 
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อวันที่ 25 พ.ย.54 บรรยายพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 4 -16 พ.ค.54 จำเลยได้เขียนข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เหตุเกิดที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี , แขวง-เขตวังทองหลาง กทม.,ทั่วราชอาณาจักรไทย และท้องที่ใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดี

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย นำสืบหักล้างแล้ว เห็นว่า การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ที่ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงตัวผู้ส่ง ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องพยายามเก็บ รักษาข้อมูลต้นฉบับไว้ เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ซึ่งปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของ จำเลยแล้ว กลับมีผู้เปิดใช้ในวันที่ 2 ก.ย.2554 เวลา 20.13.44 น. และวันที่ 7 ก.ย. 2554 เวลา 21.12.07 น. ซึ่งเป็นวันก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกส่งไปตรวจพิสูจน์ อาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์มีข้อบกพร่อง จึงยังไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่าข้อมูลการใช้อีเมล์ และเฟซบุ๊ก  จะเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 พิพากษาให้ยกฟ้อง
ทั้งนี้ภายหลังคำพิพากษา นายสุรศักดิ์ จำเลย มีอาการดีใจหันมายิ้มและจับมือกับกลุ่มญาติและเพื่อนที่มาร่วมให้กำลังใจใน วันนี้ โดยระหว่างการพิจารณาคดีที่ผ่านมานายสุรศักดิ์ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ.

 ที่มา dailynews 


****************************

คำพิพากษาย่อ

(จัดย่อหน้าและทำตัวเน้นโดยประชาไท)

คดีหมายเลขดำที่ อ.๔๘๕๗/๒๕๕๔
  คดีหมายเลขแดงที่
ศาลอาญา
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด                      โจทก์
            ระหว่าง
                        นายสุรศักดิ์หรือสุรภักดิ์ ภูไชยแสงหรือภูไชยแสนหรือภูไชแสง จำเลย

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างอีเมล์ส่วนตัวชื่อ dorkao@hotmail.com และใช้งานในลักษณะเป็นเจ้าของแล้วใช้อีเมล์ดังกล่าวสร้างบัญชีผู้ใช้ (โปรไฟล์) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ชื่อ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ขึ้น และจำเลยได้เขียนข้อความอันเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แล้วนำข้อความดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น เท็จ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๙๑, ๑๑๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓, ๑๔, ๑๗ ริบของกลาง

            จำเลยให้การปฏิเสธ
            พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าจำเลยมีที่อยู่อีเมล์ของ dorkao@hotmail.com และรหัสผ่านเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ที่ลงทะเบียนไว้ในระบบแต่อย่างใด ทั้งได้ความว่ารหัสผ่านที่จำเลยเขียนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นรหัสผ่านสำหรับ ใช้เปิดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยเท่านั้น และเป็นรหัสผ่านเดียวกันกับที่อยู่อีเมล์และเฟซบุ๊กในชื่อ surapach_phuchaisang@hotmail.com ของจำเลยเอง ซึ่งตามปกติแล้วผู้เป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้ย่อมต้องปกปิดรหัสสำหรับผ่านเข้า สู่ระบบอีเมล์หรือเฟซบุ๊กเป็นความลับเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงข้อมูลของตน ได้ แต่ปรากฏว่าหลังจับกุมจำเลยและควบคุมตัวไว้นั้น ยังมีบุคคลอื่นเข้าใช้งานอีเมล์ dorkao@hotmail.comอยู่อีก

             ที่โจทก์นำสืบว่ารหัสอีเมล์แอดเดรสอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดและอี เมล์แอดเดรสนั้นมีการใช้เฟซบุ๊กจะสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของ เฟซบุ๊กก็เพียงเป็นความเข้าใจของพยานโจทก์เท่านั้น โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้เช่นนั้น ซึ่งจากการตรวจแฟ้มข้อมูลบันทึกประวัติการเข้าใช้งานไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ InboxLight[2].htm ระบุถึงชื่อ dorkao@hotmail.com และประวัติการเข้าใช้เว็บไซด์เฟซบุ๊ก home[1].htm ซึ่งระบุถึงชื่อโปรไฟล์ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” พบว่ามีบันทึกอยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยที่ยึดเป็นของกลางอย่างละ ๑ รายการ โดยพบประวัติการใช้อีเมล์และเฟซบุ๊กในวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๔ และ ๘ มกราคม ๒๕๕๔ ตามลำดับ ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันเวลาที่มีการเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องนานหลาย เดือน หากมีการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของกลางเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องจริงก็ น่าจะตรวจพบประวัติการใช้ในช่วงวันเวลาดังกล่าวบ้าง แต่กลับตรวจไม่พบประวัติการใช้แต่อย่างใด และไม่พบความเชื่อมโยงระหว่าง อีเมล์แอดเดรส dorkao@hotmail.com กับเจ้าของเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร”

             นอกจากนี้ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดหัสต้นฉบับยังสามารถคัดลอกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นได้โดยใช้เวลาไม่ถึง ๑ วินาที ซึ่งประการนี้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ว่าแฟ้มข้อมูลและรหัสต้นฉบับตาม ที่ตรวจพบนั้นเป็นแฟ้มที่ไม่อาจพบอยู่ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลปกติ และไม่ได้เกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต แต่ถูกทำขึ้นแล้วนำไปวางไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง และคุณสมบัติด้านเวลาของแฟ้มมีความผิดปกติ โดยระหว่างสืบพยานจำเลยได้แสดงวิธีคัดลองแฟ้มให้ดู ผลปรากฏว่าสามารถกระทำได้จริง เมื่อพิจารณารายงานการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์ของกลางโดยละเอียดแล้ว พบว่า มีความผิดปกติหลายประการดังที่จำเลยนำสืบจริง

               และเนื่องจากข้อมูลลักษณะดังกล่าวอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ดังนั้นในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์จึง ต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ซึ่งต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้อง พยายามรักษาข้อมูลต้นฉบับไว้ เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลยไว้แล้ว กลับมีผู้เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางใน วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๐.๑๓.๔๔ นาฬิกา และวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๑๒.๐๗ นาฬิกา ซึ่งเป็นวันก่อนที่จะถูกส่งไปให้ว่าที่พันตำรวจตรีนิติทำการตรวจพิสูจน์ อันอาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คของกลางได้ง่าย จึงทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางมีข้อบกพร่องกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ยังไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่า ข้อมูลการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com และเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” เกิดขึ้นจากการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลย

              พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง

              พิพากษายกฟ้อง

ที่มา prachatai

รายงาน : สรุปข้อต่อสู้คดี 112 บนเฟซบุ๊ค ‘เราจะครองxxxx’ ก่อนพิพากษาพรุ่งนี้



โดย ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม


พรุ่งนี้ (31 ต.ค.55)  เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา จะมีการพิพากษา คดีของนายสุรภักดิ์ จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3)

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา


สุรภักดิ์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.54 ไม่ได้ประกันตัวและอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน

สุรภักดิ์ อายุ 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งจัดตั้งบริษัทของตนเอง รับจ้างออกแบบระบบให้บริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย

เขาถูกกล่าวหาว่า เป็น “เจ้าของ” บัญชีเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า “เราจะครองxxxx”  โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดทั้งสิ้น 6 ข้อความ แต่เมื่ออัยการทำคำฟ้องปรากฏเพียง 5 ข้อความ (4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 23 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54) ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้เขามีความผิดจริง เขาจะมีความผิด 5 กรรม

สุรภักดิ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งใน ชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน โดยระบุด้วยว่า ไม่ใช่เจ้าของอีเมล์และเฟซบุ๊คดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังสุรภักดิ์ถูกจับกุม เฟซบุ๊คบัญชีนี้ยังเปิดใช้งานและมีความเคลื่อนไหวอยู่

ความเป็นมาของ คดีนี้เริ่มต้นจาก มีประชาชนทั่วไปชื่อ มานะชัย แจ้งเบาะแสไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี หรือ ปอท. โดยแจ้งว่ามีเฟซบุ๊คที่กระทำความผิดดังกล่าว มีเจ้าของเป็นนายสุรภักดิ์ พร้อมให้ชื่อ-นามสกุล-ที่อยู่ แก่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยในการสืบพยานในศาล เจ้าหน้าที่เบิกความว่าไม่รู้และไม่ได้ตรวจสอบว่าบุคคลผู้ให้เบาะแสนี้คือ ใคร และไม่สามารถนำตัวผู้แจ้งเบาะแสมาเบิกความได้

จากนั้นไม่นานจึง มีนักศึกษาราชภัฏคนหนึ่งไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ทำให้เรื่องนี้เป็นคดีขึ้นมาอย่างเป็นทางการ พยานปากนี้ขึ้นเบิกความในชั้นศาลด้วย ซึ่งทั้งพยานและจำเลยไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม พยานปากนี้ระบุว่าได้ปลอมตัวเป็นคนเสื้อแดงเข้าไปเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คที่ ถูกกล่าวหาดังกล่าว จึงสามารถเห็นข้อความหมิ่นที่ถูกโพสต์ได้ และทำการ capture หน้าจอ ปริ๊นท์ออกมาเป็นหลักฐานให้ตำรวจ

นักศึกษาราชภัฏยัง ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างอีเมล์และเฟซบุ๊คที่กระทำผิดไว้ว่า พยานเป็นสมาชิกในอีเมล์กรุ๊ปหนึ่งของกูเกิลกรุ๊ป และได้นำอีเมล์สมาชิกคนหนึ่ง คือ dorkao@hotmail.com (ดอกอ้อ) ไปค้นหาใน google ผลการค้นหาพบหน้าเฟซบุ๊คบัญชี เราจครองxxxx จึงสันนิษฐานว่าเจ้าของอีเมล์นี้เป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊คดังกล่าวด้วย ต่อมาจึงได้ทราบในภายหลังจากตำรวจว่า อีเมล์ดังกล่าวนั้นคือนายสุรภักดิ์

สิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ คือ การต่อสู้กันระหว่างพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยและตัวจำเลยเอง กับ พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นกองพิสูจน์หลักฐาน , เนคเทค (ไอซีที)

กองพิสูจน์หลักฐานซึ่งตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของกลางระบุว่า ไม่พบถ้อยคำหมิ่นสถาบันตามที่พนักงานสอบสวนให้ตรวจเช็คหลายรายการ แต่พบร่องรอยการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com  และการใช้เฟซบุ๊คเจ้าปัญหาในฐานะเจ้าของเพจ โดยทำการกู้จาก temporary file  ขึ้นมาได้อย่างละ 1 ไฟล์

อย่างไรก็ตาม ข้อต่อสู้ที่สำคัญของฝ่ายจำเลยคือ คอมพิวเตอร์ของกลางดังกล่าวมีการเปิดใช้เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์ในวันที่ 2 ก.ย.เวลากลางคืน และ 7 ก.ย.54 (อ้างอิงตามเอกสารที่อยู่ในสำนวนคดี) ทั้งที่จำเลยถูกจับกุมและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.54 ช่วงบ่ายแล้ว ซึ่งเมื่อพยานจากกองพิสูจน์หลักฐานดูเอกสารก็รับว่าเป็นเช่นนั้น

ประเด็น นี้เป็นประเด็นสำคัญที่ใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลักการที่ต้องไม่เปิดคอมของกลางอีกเลย ดังที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ก็ได้เบิกความไว้ว่าการส่งคอมพิวเตอร์ จากพนักงานสอบสวนไปให้กองพิสูจน์หลักฐานต้องผนึกหีบห่ออย่างดี จะเปิดได้ต่อเมื่อส่งถึงผู้ชำนาญการแล้วและมีการทำสำเนาข้อมูลออกมาโดยไม่ เปิดเครื่อง ที่ทำเช่นนี้เพราะถ้าเปิดดูก่อนเครื่องจะบันทึกการเปิดเครื่องไว้ทำให้เกิด ความเสียหายต่อหลักฐานที่ได้มา

นอกจากนี้ยังมีการต่อสู้กันว่า temporary file หรือ cache ที่เจ้าหน้าที่กู้ได้และใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้ เป็นเอกสารจริงหรือไม่

เนื่องจากฝ่ายจำเลยชี้ว่าฮอตเมล์และโดยเฉพาะเฟซบุ๊ค จะมีระบบที่กำหนดไม่ให้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเก็บ temporary file ใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งาน อีกทั้งตามหลักฐานในสำนวนยังพบว่ามีการเก็บไฟล์ดังกล่าวใน partition ที่สองของเครื่อง ไม่ใช่ partition หลัก ซึ่งเชื่อว่าผิดปกติ

ที่สำคัญฝ่ายจำเลยระบุว่า ไฟล์ที่เกิดจาก cache file จะไม่มี source code ในภาษา html ส่วน source code ที่เจ้าหน้าที่ได้มาและใช้เป็นหลักฐานในคดีนั้นเป็นการ copy มาจากหน้าเว็บโดยการเข้าไปในเว็บไซต์เฟซบุ๊คแล้วคลิ๊กขวาคัดลอก source code โดยเปลี่ยนข้อความให้เป็นอีเมล์ที่ต้องการ (dorkao@hotmail.com เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ-ประชาไท) แล้วนำมาลงไว้ใน partition 2 เสมือนว่าเจ้าของเครื่องได้เข้าไปใช้เว็บไซต์นั้นจริงๆ อีกทั้งในเอกสาร source code ที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นหลักฐานการเข้าใช้เฟซบุ๊คเพจ ก็เป็นภาษา htm ขณะที่ source code ของเฟซบุ๊คใช้ภาษา php 

ดัง นั้นจำเลยจึงสันนิษฐานว่า ไฟล์ที่เอามาใช้ฟ้องคดีนี้เป็นการคัดลอก source code จากเว็บมาวางใน note pad แล้วแก้ไขสาระสำคัญที่ต้องการ จากนั้นก็ทำการบันทึกซึ่งจะบันทึกเป็นนามสกุลใดก็ได้ ในกรณีนี้บันทึกเป็นนามสกุล html แล้วนำไปเก็บไว้ในเครื่อง จากนั้นใช้โปรแกรม internet explorer อ่าน โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ เพราะไฟล์ลักษณะนี้เป็นชิ้นส่วนของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำได้ จากชื่อเพจดังกล่าวจะเปลี่ยนให้เป็นเพจเรารักในหลวงก็สามารถทำได้

คำเบิกความของทั้งสองฝ่ายก็ต่างสนับสนุนข้อสันนิษฐานของตนเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคดีนี้คือ การที่ศาลอนุญาตให้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมประกอบการอธิบาย โดยให้ฉายผ่านโปรเจ๊กเตอร์ไปยังผนังห้องเพื่อให้เห็นกันได้อย่างสะดวก ขณะในคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับคอมพิวเตอร์ก่อนหน้านี้ ศาลมักไม่อนุญาตให้เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ประกอบ ด้วยเหตุผลว่าไม่ว่าเรื่องจะซับซ้อนเพียงใดก็สามารถใช้การอธิบายผ่านปากผู้ เชี่ยวชาญของสองฝ่ายได้ และเปิดไปศาลก็ไม่เข้าใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีนี้อนุญาตให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการอธิบาย ทำให้ฝ่าย จำเลยสามารถเรียกร้องให้พยานฝ่ายโจทก์สาธิตให้ดูว่า การเปิดใช้เฟซบุ๊คจะมีการเก็บ temporary file หรือไม่  ซึ่งปรากฏว่าไม่มี แต่พยานโจทก์ระบุว่าอาจเป็นเพราะ browser ของคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เก็บหรือไม่เก็บก็ได้ นอกจากนี้ฝ่ายจำเลยยังมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตให้ดูได้ว่า ไฟล์ html ไม่สามารถใช้กับเฟซบุ๊คได้ การปรับแต่งหลักฐาน หากจะมีเกิดขึ้นนั้นกระทำได้ง่ายเพียงใด และสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าวันเวลาให้เป็นตามต้องการได้ด้วย ส่วนผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่า source code ของเฟซบุ๊คในส่วน header จะมีคำสั่งไม่ให้เครื่องผู้ใช้มีการเก็บ cache file จริง

หากจะดูรายละเอียดของคดีไล่ตั้งแต่การจับกุมจนถึงการเบิกความของพยานปากต่างๆ ทั้งของโจกท์และจำเลย แหล่งข้อมูลที่ละเอียดที่สุดในเวลานี้ก็คือ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw  (คดีสุรภักดิ์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/176#detail ) ก่อนจะรับฟังคำพิพากษาร่วมกันในวันที่ 31 ต.ค.นี้

ที่มา prachatai

สืบทอดเจตนารมณ์ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ และภารกิจต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังไม่สิ้นสุด



โดย เปลวเทียน  ส่องทาง


31 ตุลาคม 2549 นวมทอง ไพรวัลย์  ผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก่อร่างประวัติศาสตร์ของสามัญชน ผู้คัดค้านอำนาจเผด็จการรัฐประหาร พิทักษ์ประชาธิปไตย




สำหรับ คนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตย คงไม่มีใครลืมประวัติศาสตร์ของสามัญชนที่ชื่อ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ ผู้คัดค้านอำนาจเผด็จการรัฐประหาร พิทักษ์ประชาธิปไตย

คืนวันที่ 31 ตุลาคม 2549 นายนวมทองผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้

ในคืน ที่นายนวมทองแขวนคอตาย เขาตั้งใจสวมเสื้อยืดสีดำ สกรีข้อความเป็นบทกวี ที่เคยใช้ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยด้านหน้าเป็นบทกวีของรวี โดมพระจันทร์ ที่ว่า

ตื่นเถิดเสรีชน
อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน
หรือทนคลื่นกระแสเรา

แผ่นดินมีหินชาติ
ที่ดาดาษความโฉดเขลา
ปลิ้นปล้อนตะลอนเอา
ประโยชน์เข้าเฉพาะตน

ก่อน หน้านั้น  เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนวมทอง ซึ่งเป็นอดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย ได้ขับรถยนต์แท็กซี่ พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ป้ายทะเบียนตรากงจักร 71116 ของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และได้รับบาดเจ็บสาหัส




นวม ทอง ไพรวัลย์ ได้สละชีพกระทำอัตวินิบาตรกรรม เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความหมายสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ความอัปยศอัปลักษณ์ของอำนาจรัฐประหาร

นวม ทอง ไพรวัลย์ จึงเป็นสัญญลักษ์แห่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย ที่ปรารถนาถึงสังคมไทยเป็นสังคมที่มี ‘เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ’ ไม่ต่างไปจากความใฝ่ฝันของคณะราษฎร เมื่อปี 2475 แต่อย่างใดเลย

อย่าง ไรก็ตาม สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความขัดแย้ง ระหว่าง ‘ฝ่ายอำนาจอำมาตยาธิปไตย’ กับ ‘ฝ่ายพลังประชาธิปไตย’ ก็ยังไม่จบสิ้น นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก ‘ระบอบอำมาตยาธิปไตย’ โดย ‘อำมาตยาธิปไตย’ และเพื่อ ‘อำมาตยาธิปไตย’


แม้ ว่า ภายหลังจากการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลตามหลักการประชาธิปไตยรัฐสภา แต่ความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่จบสิ้น เนื่องด้วยมีการเคลื่อนไหวของ ‘ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย’ เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน รวมทั้งรัฐบาลพลเรือนก็ยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้โดยตรงเนื่องจากมีพร บ.กลาโหมเป็นอุปสรรคขัดขวาง

ขณะเดียวกัน ‘คณะนิติราษฎร์’ ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร ปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ต้องแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ ซึ่งรวมทั้งพรบ.คอมพิวเตอร์ ที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย เพื่อมิให้เกิดกรณีเช่น ‘อากง’  ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ ‘สุรชัย แซ่ด่าน’ และอีกหลายคน  จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับนิติธรรม มิใช่ปล่อยให้บุคคลใดฟ้องร้องกล่าวโทษก็ได้ ควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์มิใช่ ยุคป่าเถื่อนอีกแล้ว  รวมทั้งเพื่อมิให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายผู้รักชาติรัก ประชาธิปไตยเหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา    ตลอดทั้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป

ดังนั้น ภารกิจในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เสร็จสิ้น   ผู้เขียนมีข้อเสนอดังนี้

1.ปล่อย ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกจับกุมคุมขังทางการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องให้สิทธิประกันผู้ต้องขัง ตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่กระบวนการยุติธรรมพึงมีดั่งอารยะประเทศ   เช่น  กรณี ‘สมยศ พฤกษาเกษมสุข’ ‘สุรชัย แซ่ด่าน’ และอีกหลายคนทั้งหมด เพราะพวกเขามิใช่อาชญากร เพียงแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และพวกเขาถูกใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง

2.นำคนสั่งฆ่าสังหารประชาชนใน เหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 53 มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคมและเพื่อมิให้ ‘ฆาตรกรลอยนวล’ เหมือนเช่นที่ผ่านมาตลอดอีกทั้งเพื่อทำ ‘ความจริง’ให้ปรากฎ มิใช่ ‘ปรองดอง’ อย่างไร้ความยุติธรรม

3.รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องแก้ไข พรบ.กลาโหม และดำเนินการปฏิรูปกองทัพให้เป็นประชาธิปไตยสอดรับกับยุคสมัยสันติภาพเพื่อน ไร้พรมแดน พร้อมกับลดงบประมาณให้เหมาะสม

4.ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะ นิติราษฎร์ แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหารากเหง้าทั้งมวลของปัญหาการเมืองไทยที่ไม่ เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นภาระกิจที่รัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องดำเนินกระบวนการต่างๆตามกลไกรัฐสภา ให้บรรลุเป็นรูปธรรม

5.ขอ สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550  โดยมีหลักการสำคัญของ ‘ระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา’ ‘อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน’ ‘เคารพสิทธิเสรีภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ คือรูปธรรมต้องลดอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยเฉพาะอำนาจขององคมนตรี กองทัพและกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขให้สถาบันพรรคการเมืองพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งส่งเสริมสิทธิพื้นฐานของสถาบันต่างๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรเกษตรกรและอื่นๆด้วยเช่นกัน

6. ขอเรียกร้องให้ฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ยอมรับกติกาประชาธิปไตย ตามหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง คนเท่ากัน เสียงส่วนน้อยต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่ โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อยตามหลักอารยะประเทศประชาธิปไตย ก่อนที่ความขัดแย้ง ความเกลียดชังจะนำไปสู่ความล่มสลายของสังคมไทยอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 1 ปี "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" หมิ่น "สพรั่ง" กล่าวหาเซ็นเงินปฏิวัติ 1.2 พันล้านให้ญาติ



เมื่อ เวลา 09.30 น. วันที่ 5 กันยายน ที่ห้องพิจารณาคดี 915 ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เป็นเวลา 1 ปี ปรับ 100,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติปีละ 4 ครั้ง และทำงานบริการสังคม 20 ชั่วโมง


โดยศาล อุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการใช้สิทธิปราศรัยตามรัฐธรรมนูญนั้น แม้จำเลยจะมีสิทธิแต่จำเลยต้องคำนึงและเคารพสิทธิของผู้อื่นเช่นกัน การกล่าวหาดังกล่าวตามฟ้อง เป็นการด่าทอโจทก์ ซึ่งจำเลยยอมรับกับศาลว่าเป็นการด่าทอจริง การกระทำของจำเลยทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม การแสดงความคิดเห็นต้องไม่ล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้นศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืนดังกล่าว


สำหรับคดีนี้พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสรุปว่า เมื่อ 19 พ.ค.2550 จำเลยกล่าวปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กล่าวหา พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร อดีต ผช.ผบ.ทบ. และเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ว่าใช้เงินในการปฏิวัติรัฐประหาร จำนวน 1,200 ล้านบาท และมีการเซ็นเบิกจ่ายเงินจำนวน 12 ล้านบาท ให้นายเชียรช่วง กัลยาณมิตร เป็นญาติของ พล.อ.สพรั่ง ให้ใช้ในการประชาสัมพันธ์เชิงลึก ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

ที่มา matichon

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทนายอากงเปิดเอกสารสำคัญชี้อากงบริสุทธิ์

เปิดเอกสารความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากเยอรมันชี้การเก็บ ข้อมูลจากตัวเลขอีมี่เครื่องมีโอกาสคลาดเคลื่อนและสามารถปลอมแปลงได้ง่าย

24 สิงหาคม 2555 พูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายความของ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือเป็นที่รู้จักในสาธารณะในชื่อ"อากง SMS " วัย 61ปี ผู้ต้องหาคดีละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์ และ กม.อาญา ม.112 ซึ่งได้เสียชีวิตลงในเรือนจำเมือวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ด้วยโรคมะเร็งที่ตับ ได้นำเอกสารหลักฐานความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากประเทศเยอรมัน ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษจำนวน 4หน้าA4 และฉบับแปลโดยได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊คของเธอ

ในบันทึกดังกล่าวได้แสดงเอกสารที่เป็นความเห็นจาก Dr. Karsten Nohl ผู้เชี่ยวชาญเครือข่ายโทรคมนาคม จาก Security Research Labs องค์กรเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมตั้งอยู่ในประเทศเยอรมัน โดยได้ให้ความเห็นต่อการเก็บบันทึกหมายเลขอีมี่ หรือเลขรหัสประจำเครื่องของดีแทคไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะระบุ เครื่องที่ใช้ส่ง sms ได้ (ทำให้ไม่สามารถนำหมายเลขอีมี่เชื่อมโยงมาถึงเครื่องโทรศัพท์ของอากงได้)

เนื้อหาในรายงานเป็นการถามตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลขอีมีทั้งสิ้น6ข้อ (ดูรายละเอียดด้านล่าง) โดยบทสรุปของเอกสารได้ระบุว่า

"บันทึก การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอส เอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของ ผู้อื่น

- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์ "

โดย พูนสุขใด้เขียนข้อความไว้ในบันทึกว่า " เดิมเอกสารชิ้นนี้ได้เตรียมไว้เพื่อขอสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ และจะขอให้พยานผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมันมาเบิกความ เนื่องจากในศาลชั้นต้นคณะทำงานไม่สามารถหาพยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความได้ แต่ตามที่ทราบกันสุดท้ายได้ตัดสินใจถอนอุทธรณ์เนื่องจากอากงไม่ได้รับสิทธิ ในการปล่อยตัวชั่วคราว หากต่อสู้คดีต่อไปอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน "


********************************************************


SR Security Research Labs GmbH Veteranenstr 25 10119 Berlin


มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

111 ซอยสิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย

แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

ประเทศไทย



Dr. Karsten Nohl

หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ (Chief Scientist)

nohl@srlabs.de

+49-3089392996

เบอร์ลิน 30 มกราคม 2555



ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการะบุตัวบุคคลที่ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส


เรียน ท่านที่เกี่ยวข้อง:


Security Research Labs เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดสำหรับการจัดการความเสี่ยง (think tank) มีที่ตั้ง ณ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทั้งแก่ภาครัฐ และเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในภาคพื้นยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีโทรศัพท์พกพา เคลื่อนที่


องค์กรได้รับคำขอให้แสดงความคิด เห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในการรับรองความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อ ความสั้น (Short Message Service - SMS) จากโทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่


การ จัดเตรียมรายงานที่แนบมากับเอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยใช้ความรู้ความชำนาญอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมาตรฐานเครือข่ายจี เอสเอ็ม และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยทั่วไป รวมทั้งการวัดค่าและประมวลผลจากเครือข่ายจีเอสเอ็มใน กรุงเทพฯ เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงาน ภายใต้ความรู้ที่ดีที่สุดขององค์กร รายงานฉบับนี้สะท้อนถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของจีเอสเอ็มใน ปัจจุบัน



ขอแสดงความนับถือ

Dr. Karsten Nohl


ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อความสั้น


รายงาน ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์คำถามที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการใช้ข้อมูลที่ บันทึกในเครือข่ายโทรศัพท์ สำหรับการระบุตัวบุคคลที่ใช้โทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่ส่งข้อความสั้น โดยวิเคราะห์จากเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทคใน กรุงเทพฯประเทศไทย


คำถามที่ 1 บริการการส่งข้อความสั้น (SMS) สามารถใช้ระบุเครื่องโทรศัพท์ได้หรือไม่ (IMEI)?


ใน การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส จะมีการแลกเปลี่ยนกลุ่มข้อมูลขนาดเล็ก (small data packet) จำนวนมากกว่าหนึ่งกลุ่มข้อมูล ระหว่างเครื่องโทรศัพท์กับเครือข่ายด้วยสัญญาณแบบไร้สาย กลุ่มข้อมูลเหล่านี้ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูล กำหนดประเภทการส่งข้อมูล และรับ-ส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่ายดีแทคหนึ่งข้อความประกอบด้วย กลุ่มข้อมูลจำนวน 107 กลุ่ม


การระบุเครื่อง โทรศัพท์สามารถทำได้โดยใช้หมายเลข IMEI ซึ่งทำหน้าที่เหมือน serial number ของเครื่องโทรศัพท์ (เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะมี IMEI และ serial number ไม่ซ้ำกัน - ผู้แปล)


ในกลุ่มข้อมูลที่ ใช้ในการส่งข้อความแบบเอสเอ็มเอส จะมีกลุ่มข้อมูลหนึ่งที่มีชื่อว่า Cipher Mode Command ซึ่งใช้สำหรับสอบถามหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ โดยหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์จะถูกส่งมาในกลุ่มข้อมูลถัดไป หลังจากส่งกลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย เครือข่ายของดีแทคไม่ได้ใช้กลุ่มข้อมูลดังกล่าวในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบ เอสเอ็มเอส ตามที่แสดงในรูปที่ 1


นอกจากกลุ่มข้อมูลดังกล่าวแล้ว ไม่มีกลุ่มข้อมูลอื่นใดในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสที่มีข้อมูลหมายเลข IMEI รวมอยู่


คำ ตอบที่ 1 ในเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทค ไม่สามารถใช้การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในการระบุหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ได้


[รูปที่ 1 การติดตามข้อมูลบางส่วนจากรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสภายใต้เครือข่าย จีเอสเอ็มของดีแทค กทม. ประเทศไทย กลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command ไม่ได้กำหนดให้เครื่องโทรศัพท์ส่งหมายเลข IMEI]


คำถามที่ 2 เครือข่ายดีแทคบันทึกหมายเลข IMEI ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


ใน เครือข่ายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการรับส่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามในเครือข่ายดีแทค มีเพียงการรับส่งข้อมูลรูปแบบเดียวที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมกับการรับส่งข้อมูลด้วย นั่นคือ การรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ (Location Update) การรับส่งข้อมูลลักษณะนี้จะกระทำเมื่อมีการเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น ผู้ใช้เดินทางไปยังเขตอื่น ๆ ของเมือง หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่บ่อยครั้ง


คำ ตอบที่ 2 มีความเป็นไปได้สูงสุด ที่การบันทึกข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในเครือข่ายดีแทค เกิดจากการทำสำเนาหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น


คำถามที่ 3 เครือข่ายดีแทคกำหนดตำบลที่การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


คำ ตอบที่ 3 มีความเป็นไปได้ที่ตำบลที่ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่าย ดีแทค จะถูกทำสำเนามาจากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 4 การส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสโดยปราศจากเครื่องโทรศัพท์สามารถทำได้หรือไม่?


คำ ตอบที่ 4 ข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสสามารถส่งผ่านระบบอินเทอร์เนตได้ โดยผู้ส่งสามารถปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์ใด ๆ เพื่อใช้ในการส่งได้ ในกรณีที่ดีแทคมีการบันทึกการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในลักษณะดังกล่าว มีความเป็นไปได้ที่หมายเลข IMEI ที่ถูกบันทึกในระบบ จะเป็นหมายเลข IMEI ของเครื่องที่มีการเปลี่ยนตำบลที่ล่าสุด และใช้หมายเลขโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกปลอมแปลง เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 5 บุคคลทั่วไปสามารถจับตาดูหมายเลข IMEI ที่ใช้ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจีเอสเอ็มได้หรือไม่?


ใน การรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมด้วย จะมีการเข้ารหัสข้อมูล โดยใช้มาตรฐานกลางของจีเอสเอ็ม ทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ล้าสมัย การถอดรหัสข้อมูลสามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที


การ ถอดรหัสข้อมูลตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ สามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่แจกจ่ายผ่านระบบอินเทอร์เนตตั้งแต่ปี 2551 ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน


หลัง จากมีการแจกจ่ายซอฟท์แวร์ดังกล่าว มีการติดตั้งและใช้ง่ายตามที่ต่าง ๆ หลายร้อยแห่งทั่วโลก นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งอาทิตย์ในการสร้างระบบตัดการทำ งาน และติดตั้งระบบถอดรหัส


คำตอบที่ 5 บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี สามารถดักจับข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับส่งข้อมูลในระบบจีเอสเอ็มได้


คำถามที่ 6 สามารถส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสจากเครื่องโทรศัพท์ที่มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI ได้หรือไม่?


หมายเลข IMEI ในโทรศัพท์ส่วนมากสามารถปลอมแปลงได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่หาได้โดยทั่วไป


คำตอบที่ 6 บุคคลทั่วไปสามารถเปลี่ยนหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ของตนไปใช้หมายเลข IMEI โทรศัพท์ของเครื่องผู้อื่นได้โดยง่าย


สรุป


บันทึก การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอส เอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของ ผู้อื่น


- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์


*********************************************


ต้นฉบับภาษาอังกฤษ


ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อัพเดต "20คดีเสื้อแดง" ประชิด "ความจริง98 ศพ"



(ที่มา:มติชนรายวัน 24 สิงหาคม 2555)

ภาย หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงระหว่างสลายการชุมนุมเมื่อ ปี 2553 จำนวน 22 สำนวน มายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)

ก็เป็นหน้าที่ของ พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น. ดูแลงานกฎหมายและสอบสวน เป็นหัวหน้า ร่วมกับพนักงานอัยการ ทำการสอบสวนสำนวนชันสูตรพลิกศพดังกล่าว จนเสร็จสิ้นแล้ว 19 สำนวน

อยู่ระหว่างการสอบสวน 3 สำนวน ได้แก่ สำนวนชันสูตรพลิกศพ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก กับอีก 2 สำนวน คือ นายสยาม วัฒนนุกูล และ นายจรูญ ฉายแม้น พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1

ตำรวจยังได้ทำสำนวนของ "ลุงคิม" หรือ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง และส่งให้อัยการพิจารณา

สำหรับลุงคิมหรือนายฐานุทัศน์ เสียชีวิตในภายหลัง เหตุเกิดหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ กทม.

ซึ่งพนักงานสอบสวนพบว่า การเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจึงทำสำนวนเอง ขณะนี้ส่งให้อัยการพิจารณาแล้ว

สรุปล่าสุด มีสำนวนเสร็จแล้วจำนวน 19 สำนวน ตามที่ดีเอสไอส่งมาให้ และอีก 1 สำนวน เป็นคดีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการเอง

สำหรับรายละเอียดคดีชันสูตรพลิกศพแต่ละคดี มีดังนี้

1.นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ช่างภาพรอย เตอร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถนนดินสอ กทม. พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 4 กันยายน

2.นายชาติชาย ชาเหลา เสียชีวิตวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เวลา 22.50 น. หน้า อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 พื้นที่สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้องวันที่ 5 ตุลาคม

3.นายบุญมี เริ่มสุข เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.00 น. หน้าร้านอาหารระเบียงทอง บ่อนไก่ พื้นที่ สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 สิงหาคม

4.นายรพ สุขสถิต ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

5.นายมงคล เข็มทอง ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

6.นายสุวัน ศรีรักษา ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

7.นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

8.น.ส.กมนเกด อัคฮาด ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

9.นายอัครเดช ขันแก้ว ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

10.นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 12.20-13.06 น. หน้า ธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ พื้นที่ สน.บางรัก ส่งสำนวนให้อัยการแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณา

11.นายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 14.00 น. หน้าปั๊มเชลล์ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานวันที่ 24 กันยายน

12.พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิตวันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 15.00 น. หน้าอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต พื้นที่ สน.พญาไทศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไป วันที่ 14 กุุมภาพันธ์ 2556

13.ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.10-01.00 น. ซอยโรงหนังโอเอ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 ตุลาคม

14.นายพัน คำกอง เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.05-01.00 น. หน้าคอนโดไอดีโอ ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม และนัดฟังคำสั่งวันที่ 17 กันยายน

15.นายมานะ อาจราญ เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 23.30 น. ภายในสวนสัตว์ดุสิต เขตดุสิต พื้นที่ สน.ดุสิต สำนวนส่งให้อัยการแล้ว ขณะนี้รอศาลนัดไต่สวน

16.นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน เวลา 09.00 น.

17.นายประจวบ ประจวบสุข เสียชีวิตวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน

18.นายวสันต์ ภู่ทอง เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

19.นายทศชัย เมฆงามฟ้า เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

20.นายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพอิตาลี เสียชีวิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.45 น. ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนวันที่ 23 กันยายน เวลา 09.00 น.

การดำเนินการในคดีสลายม็อบ จะเป็น "มาตรฐาน" ต่อไปในอนาคต

ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก ภายใต้กระบวน การยุติธรรมปกติ ทุกฝ่ายมีสิทธิต่อสู้อย่าง เต็มที่ และเท่าเทียมกัน

"มาตรฐาน" ที่จะเกิดขึ้น จะป้องกันสังคมจากความรุนแรงในอนาคต
 

ที่มา matichon

"สุชาติ นาคบางไทร - สุริยันต์ กกเปื่อย" ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำแล้ว



เวลา 09.40 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  ปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2555 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม จำนวน 300 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ต้องขังตามมาตรา 112 จำนวน 2 รายคือ นายวราวุธ ฐานังกรณ์ หรือนายสุชาติ นาคบางไทร ต้องโทษจำคุก 6 ปี รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี และนายสุริยันต์ กกเปือย ต้องโทษจำคุก 6 ปี 1 เดือน รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี 15 วัน  โดยทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัวเรียบร้อยแล้ว

วินาทีรอคอย นายสุชาติ นาคบางไทร (วราวุธ ฐานังกรณ์) ได้รับอิสรภาพแล้ว 

นายสุริยันต์ กกเปื่อย หรือพี่หมี ช่างซ่อมรองเท้า (เสื้อสีแดงตรงกลาง)

ด้านหลังเสื้อ "สุริยันต์ กกเปลือย" มีลายเซ็นต์ "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์" และ "หนุ่มแดงนนท์"

 
บัญชีรายชื่อนักโทษที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ที่มา go6tv

ฟรีอีบุ๊ค "เชิงอรรถความตายฯ" รวมบทกวีรำลึก "อากง"


>>ดาวน์โหลดได้ที่นี่<<


เชิงอรรถ ณ เชิงตะกอน

อาจไม่ผิดจากความจริงนักหากจะบอกว่า กระบวนการและขบวนการอันอยุติธรรมได้จองจำและทำให้ช่วงเวลา 478 วัน กลายเป็นช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตของ “อากง” อำพล ตั้งนพกุล

ช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ หากเพียงแต่เขาจะได้ใช้ร่วมกับบุคคลที่เขาผูกพันกลับได้กลายเป็นช่วงเวลาที่ เลวร้ายและโดดเดี่ยวที่สุดสำหรับชายชราวัยหกสิบเอ็ด

สิ่งที่เป็นคำถามท้าทายต่อสิ่งมีชีวิตที่เรียกตนว่ามนุษย์ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะยุติโศกนาฏกรรมอันวนเวียนไม่รู้จบนี้ได้

23 บทกวีกับอีก 1บทเพลง ในบันทึกฉบับนี้เกิดจากหลากชีวิตทั้งคนใกล้ชิดและมิตรที่ไม่เคยได้พบหน้า ได้จารความรู้สึก ต่อข่าวร้ายของ “อากง” ที่ทยอยมาอย่างต่อเนื่อง มันเป็นความรู้สึกที่รุนแรงกระชั้น จนทำให้หลายท่านยังไม่ได้ตั้งชื่อ และอุกอั่งจนอีกหลายท่านไม่สามารถตั้งชื่อ

มิตรสหายหลายท่านได้กรุณารวบรวมให้ประชาไทเผยแพร่ ด้วยความหวังว่า การยืดระยะความรู้สึกและความทรงจำในช่วงนี้ออกไปสักระยะ อาจเป็นการให้เวลาแก่ผู้รักในเสรีภาพในการที่จะยุติวงวัฏที่ลดคุณค่าของเรา ลงเหลือเพียงคำว่า ”สัตว์” เสียที

23 สิงหาคม 2555
ประชาไท

หมายเหตุ:
ขอบคุณเพื่อนมิตรที่กรุณาให้เผยแพร่ผลงานของท่าน
ขอบคุณ วฒน และ รางชางฯ "เพื่อน" ที่ช่วยรวบรวมบทบันทึก

เกี่ยวกับอากง

อำพล ตั้งนพกุล วัย 61 ปี (ในวันที่ถูกจับ) อดีตพนักงานขับรถ ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีอำพลอาศัยอยู่กับ รสมาลิน ตั้งนพกุล (ภรรยา)ในห้องเช่าที่มีค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง สมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ เพียงเล็กน้อย โดยแต่ละวันอำพลและภรรยามีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลานจำนวน 3-4 คน อำพล เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงบ้างเป็นครั้งคราว
อำพล ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือส่งข้อความหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ไปยังโทรศัพท์มือถือ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

3 สิงหาคม 2553 อำพล ถูกจับกุมตัวเมื่อ เขาถูกคุมตัวในเรือนจำเป็นเวลา 63 วัน ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

18 มกราคม 2554 อัยการมีคำสั่งฟ้อง อำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ครั้งนี้ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

23 พฤศจิกายน 2554 ศาลชั้นต้นพิพากษา อำพล ฐานส่ง SMS หมิ่นฯ 4 ครั้ง ผิดตาม ปอ.มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) ลงโทษกรรมละ 5 ปีรวมจำคุก 20 ปี ชี้หลักฐานอิเล็กทรอนิคส์น่าเชื่อว่าส่งจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยใช้ และจากย่านที่พักของจำเลย

22 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายความจำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์เงินสด และตำแหน่งนักวิชาการ 7 คน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลย

8 พฤษภาคม 2555 เวลาประมาณ 9.10 น. อำพล ได้เสียชีวิต ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลังจากถูกส่งเข้ารักษาเนื่องจากมีอาการปวดท้องเมื่อช่วงก่อนเที่ยงของวัน ที่ 4 พฤษภาคม

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดีเอสไอเบิกความคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่มีการตรวจลายนิ้วมือแฝงของกลาง

21 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานในคดีเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4  เป็นโจทก์ฟ้อง นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปีอาชีพรับจ้าง และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง ในความผิดะร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจน เป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ บ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงที่มีการสลายการชุมนุของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในวันนี้(21 ส.ค.) มีการสืบพยานโจทก์คือ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว

ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เบิกความว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนมายัง DSI เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.53 ซึ่งขณะนั้น สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็น สน.ในท้องที่เกิดเหตุได้ฝากขังจำเลยไว้แล้ว ในชั้นพนักงานสอบสวนจำเลยทั้ง 2 ได้ให้การปฏิเสธ และจากนั้นดีเอสไอได้มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งจากห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างเซนและร้านค้าที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ประมาณ 300 คน ส่วนผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุคือนายกิติพงษ์ สมสุข ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ พบสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องมาจากการขาดอากาศหายใจ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุยังพบถังแก๊สและขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมัน เชื้อเพลิง และทางเจ้าหน้าที่ของ เซ็นทรัลเวิลด์  ได้มอบซีดี 3 แผ่นที่เป็นภาพถ่ายมาให้เป็นหลักฐานด้วย

อัยการได้สอบถามว่าทำไมดีเอสไอถึงไม่ทำคดีนี้แต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ตอบว่า โดยหลักการรับคดี เมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนในท้องที่จะรับเรื่องและหากพิจารณาแล้วว่าคดีดังกล่าวเป็นคดี พิเศษก็จะส่งสำนวนมาให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนคดีนี้เป็นคดีพิเศษตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในการประชุมที่ 3/2553 ลงวันที่ 16 เม.ย. 53 และตามคำสั่งนายกฯ ขณะนั้นได้ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ร่วมเป็นทีมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

จากการสอบสวนจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้มีการจับตัวมาดำเนินคดี โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้ตัวยืนยันว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ แต่ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน จึงทำให้มีความเห็นส่งฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ถูกจับกุมในคดีปล้นทรัพย์ ในวันและที่เกิดเหตุเดียวกัน โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้รูปถ่าย พนักงานสอบสนของ สน.ปทุมวัน จึงแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธ แต่ก็ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาเช่นกัน ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นส่งฟ้อง

พนักงานดีเอสไอเบิกความต่อว่า รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ให้การว่าจำเลยทั้ง 2 ได้บุกเข้ามาในห้างร่วมกับพวกในกลุ่มหลายๆ คนทุบกระจกและร่วมกันวางเพลิง นอกจากจำเลยทั้ง 2 แล้วยังมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนและได้ออกหมายจับ 9 คน รวมจำเลยทั้ง 2 คนนี้ด้วย แต่สามารถจับดำเนินคดีได้ 4 คน ซึ่งเป็นเยาวชน 2 คน และที่เหลืออีก 5 คน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจับกุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการได้นำภาพถ่ายกลุ่มบุคคลที่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นจำเลยทั้ง 2 รวมถึงอีก 5 คนที่ออกหมายจับไปแล้วแต่ยังจับไม่ได้ และยังมีบุคคลอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับคนอื่นๆในรูป ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ชี้แจงว่า เนื่องจากคนอื่นๆในภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัดเจนว่าเป็นใคร ดังนั้นแม้ส่งไปขอหมายจับต่อศาลก็มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะไม่อนุมัติ จึงไม่ได้มีการขอหมายจับ

นายบพิตร ชำนาญเอื้อ ทนายจำเลยที่ 1 ได้ซักค้านพยานโจทย์ต่อถึงเรื่องหลักเกณฑ์การรับคดีของดีเอสไอ ซึ่งพยานอ้างว่าคดีนี้รับเป็นคดีพิเศษเป็นผลสืบเนื่องจากมติการประชุมของคณะ กรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 แต่มติดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 16 เม.ย.53 ให้รับคดีอันเกิดจากการชุมนุมโดยมิชอบในช่วงปลายปี 2552 ขณะที่คดีนี้เกิดหลังจากมติแล้วคือ วันที่ 19 พ.ค.53 ทำไมจึงสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าถ้าดูในเนื้อหาของมติดังกล่าว ระบุให้รับเป็นคดีพิเศษในส่วนของคดีที่เป็นความต่อเนื่องจากการชุมนุมปลายปี 2552 เป็นต้นไป คำว่า “เป็นต้นไป” บ่งชี้ว่าให้มีผลหลังวัน 16 เม.ย.53 ได้


มติจากการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 ที่มา เว็บไซต์ดีเอสไอ


ทนายจำเลยที่ 1 ถามต่อว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ นปช.มีหลายคดีดีเอสไอ มีหลักการพิจารณาเป็นรายคดีใช่หรือไม่ พยานโจทย์ชี้แจงว่าเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติแล้ว โดยอ้างว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพัน ดังนั้นอธิบดีดีเอสไอมีอำนาจวินิจฉัยได้เลยในการส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ  นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถูกจับกุมในวันที่ 19 พ.ค.53 แต่มาถูกจับกุมภายหลังที่สนามหลวง ส่วนการชี้ตัวจำเลยในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ทางดีเอสไอไม่ได้เข้าร่วม และไม่ได้มีการนำตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ที่ชี้ตัวจำเลยในชั้นสอบสวนมาชี้ตัวจริงๆ ในชั้นการสอบสวนของ DSI

ทนายจำเลยที่ 1 ได้ถามว่าภาพถ่ายที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ส่งมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ได้สอบถามว่ามีรูปจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีนี้หรือไม่ พยานตอบว่าไม่ได้สอบถาม และไม่สามารถระบุได้ว่าขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันที่เป็นวัตถุพยาน นั้นเป็นของใคร


ภาพซ้าย : ภาพ1 ที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดัง กล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ

ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน


ทนายได้นำภาพที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งเห็นใบหน้าชายชุดดำขณะเกิดเหตุ เทียบกับภาพจำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพประกอบด้านบน) มาเปรียบเทียบถามว่าเป็นคนๆ เดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่า ภาพไม่ชัด จึงไม่สามารถยืนยันด้วยตาว่าใช่หรือไม่ใช่



ภาพ2 ที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐาน


ทนายจำเลยที่ 1 ได้ให้พยานดูภาพจังหวะที่มีชายถือวัตถุสีเขียว(ถังดับเพลิง)ซึ่งเป็นภาพต่อ เนื่องกับภาพก่อนหน้าว่า เห็นรอยสักหรือที่แขนขวาของชายคนดังกล่าวหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าไม่เห็น รวมถึงไม่มีรอยสักที่หลังมือบุคคลในรูปด้วย

จากนั้นทนายจำเลยที่ 1 จึงได้นำตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกควบคุมตัวและมาร่วมฟังการพิจารณาคดีนี้มาแสดงแขนขวาให้พยานได้ พิจารณาดูรอยสัก ซึ่งพยานได้เบิกความต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 มีรอยสักที่ไหล่  ท้องแขนด้านหน้า และหลังมือ ส่วนด้านหลังแขนไม่มี

ผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยว่า รอยสักดังกล่าวสักนานหรือยัง จำเลยที่1 ตอบว่า สักตั้งแต่เด็กๆ

ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความด้วยว่า ถังแก๊สหุงต้ม 7 ใบที่เป็นวัตถุพยานของกลางรวมถึงวัตถุพยานอื่นๆ ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นของจำเลยทั้ง 2 และไม่มีการตรวจลายมือแฝงของจำเลยกับวัตถุพยานของกลางดังกล่าว ขณะนี้เก็บไว้ที่ สน.ปทุมวัน

อย่างไรก็ตาม การสืบพยานในส่วนของทนายจำเลยที่ 1 เสร็จในเวลา 15.45 น. แล้ว ในส่วนของทนายจำเลยที่ 2 ได้มีการแจ้งต่อศาลว่าจะใช้เวลานานประกอบกับสุขภาพไม่ดี ศาลจึงได้มีการเลื่อนการพิจารณาไปนัดหน้าต่อในวันที่ 5 พ.ย.55 เวลา 9.30 น.

สำหรับอีก 2 ผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนในคดีที่เกี่ยวข้องกัน ได้มีการพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาหลายนัดแล้ว ในคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 1682/2553 ระหว่างพนักงานอัยการ กับนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 1 นายภาสกร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 2 ทั้งสองมีอายุ 16 ปีในวันเกิดเหตุ โดยนัดสืบพยานในครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.55

ทั้งนี้นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ตั้งแต่กลางปี 2553

ที่มา prachatai

เบิกความผู้เกี่ยวข้องคลิปสัมภาษณ์ลุงบุญมี เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53 ก่อนตาย


 22 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำนายพิชา วิจิตรศิลป์ อายุ 64 ปี อาชีพทนายความและประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย เข้าเบิกความในฐานะผู้นำวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)

นายพิชา เบิกความต่อศาลว่าหลังสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค.53 แล้วประมาณ 1 เดือนมีผู้นำแผ่นวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ดังกล่าวมาวางไว้หน้าสำนักงานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ตนได้เปิดดูพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ผู้ได้รับบาดเจ็บคนหนึ่งที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และทราบภายหลังว่าชายคนดังกล่าวในวีดีโอคลิปเสียชีวิต และทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องการพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 จึงได้มอบวีดีโอคลิปดังกล่าวให้

ทั้งนี้ ตามหมายเรียกพยานแล้วจะมีการเบิกพยานอีก 2 ปาก คือ ผู้สัมภาษณ์ในคลิปคือ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี และผู้ถ่ายวีดีโอคลิป แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการไต่สวนนายวสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง อายุ 28 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาพยาบาลฯ ผู้ที่ร่วมสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิปดังกล่าวไปก่อนหน้าแล้ว ผู้พิพากษา อัยการและทนายญาติผู้เสียชีวิต จึงตกลงไม่เบิกตัวทั้ง 2 คนมาไต่สวนเพิ่ม

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าในนัดหน้าวันพุธ ที่ 29 ส.ค.53 จะมี 4 ปากเบิกความ ซึ่งเป็นทหารที่เกี่ยวข้อง ส่วนในวันพรุ่งนี้(23 ส.ค.)การไต่สวนการตายกรณี 6 ศพวัดปทุมฯ จะมีการไต่สวนที่ศาลอาญากรุงเทพใต้เช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุมฯ และถ่ายวีดีโอคลิปมาเบิกความจำนวน 3 ปาก


วีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คลิปจาก กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี

โดยในวีดีโอคลิป น.ส.กาญจน์ชนิษฐา และนายวสันต์ ได้มีสอบถามถึงอาการบาดเจ็บและการรักษาพยาบาลกับนายบุญมี และนายบุญมียังได้กล่าวถึงกระสุนที่ยังฝังอยู่บริเวณสะโพกของตนและเล่าเหตุการณ์ที่ตนถูกยิงด้วยว่ากระสุนยิงมาจากฝั่งทหารและขณะนั้นตนอยู่ไกลฝั่งทหาร โดนยิงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ซึ่งปรกติเวลานั้นบริเวณดังกล่าวจะเป็นตลาดนัดจึงได้ออกมาหาของกินตามปรกติ

นอกจากนี้ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา ยังได้มีการโพสต์ข้อความกำกับไว้ใต้วีดีโอคลิปด้วยว่า ลุงบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ยืนยันว่าถูกทหารยิง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยโดนยิงเข้าบริเวณช่องท้อง ลุงเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ว่า "ผมคิดว่าที่ทหารเขายิงชาวบ้าน เพราะถูกนักรบโบราณยิงหนังสติ๊กใส่ ผมมองเห็นว่าทหารหลายนายหลบกลัวกระสุนหนังสติ๊ก ทหารจึงใช้ทั้งกระสุนจริง กระสุนยาง แก๊สน้ำตายิงใส่ประชาชน สังเกตว่ากระสุนยางจะยิงทีละนัด หากเป็นเอ็ม 16 จะยิงเป็นชุด"

ที่มา prachatai

อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี



เมื่อวันที่ 20 ส.ค.55 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พบผู้แทนตำรวจเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถิติคดี มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาและสั่งคดี รวมถึงความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ หนึ่งในอนุกรรมการ เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลด้านการดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 นั้น นับแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา มีคดีที่เกิดขึ้น และตำรวจรับคำร้องทุกข์ เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุด ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง โดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบ กลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 URLs ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ จริง ๆ เพียงไม่ถึง 20 คดี นอกจากนั้นจะเป็นการ เชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทั้งนั้น

ศิริพล ระบุด้วยว่า สำหรับการพิจารณาคดีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายอาญา และแนวคำพิพากษาฎีกา เป็นหลัก

“ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าประเทศไทย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรามักจะไม่กล้าใช้หลักกฎหมายอาญาเคร่งครัด ตามหลักการตีความกฎหมายอาญา ตีความเคร่งครัด และห้ามใช้กฎหมายประเพณีมาขยายความ ตลอดจนการตีความกฎหมายอาญาที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หลักการที่ว่า บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ทุกตำแหน่งต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบได้เสมอ”

“แนวคำพิพากษาฎีกา ยังมีปัญหาอีกมาก เพราะเขียนว่า สถาบันฯ ซึ่งเป็น Public Figure ไม่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย ซึ่งหากนำหลักการของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย มาพิจารณา จะเห็นว่า เป็นคำพิพากษาที่ขัดต่ออุดมการณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ดังนั้น ตามแนวคำพิพากษาฎีกา การวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ตั้งคำถามต่อสถาบันฯ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม แม้จะเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือ เป็นความจริง ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ ให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้”ศิริพลระบุ

เขาเปิดเผยด้วยว่าคณะอนุกรรมการฯ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถามประเด็นสำคัญ คือ 1) หากเปลี่ยนวิธีการร้องทุกข์ให้มีคณะทำงานกลั่นกรอง หรือมีองค์กรพิจารณากลั่นกรองการรับคำร้องทุกข์ ตั้งแต่ขั้นต้น จะเกิดผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือไม่ 2) การแก้ไขปัญหาการพิจารณาคดี ทำอย่างไร คณะหารือให้คำตอบว่า จะมีผลดีต่อสถาบันหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่า จะให้บุคคลใด หรือองค์กรใด ร้องทุกข์ บุคคลดังกล่าว มีอุดมการณ์ และความเข้าใจหลักกฎหมายอาญา และหลักการพื้นฐานของหลักเสรีภาพมากน้อยเพียงใด สำหรับหลักการที่คณะอนุกรรมการเสนอฯ มาก็สดคล้องกับหลักพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2548 ที่ไม่ต้องการให้มีคดีเช่นนี้

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่างภาพทีวีเบิกความคดี ‘ลุงบุญมี’ เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53

แสดงหลักฐานภาพถ่ายขณะ ‘ลุงบุญมี’ ถูกยิงโดยทหาร แจงเพื่อนนักข่าวเตือนทหารใช้กระสุนจริง ทนายญาติผู้ตายเผย คดีนี้ไต่สวนทุกพุธถึงต้นปีหน้า

15 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำช่างภาพสถานีโทรทัศน์หลักแห่งหนึ่ง มาเบิกความในฐานะพยานที่ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ช่วงเวลาขณะเกิดเหตุได้

ช่างภาพที่เดินทางมาเป็นพยานได้เบิกความต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุ 14 พ.ค.53 ได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่เกิดเหตุบริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี ถนนพระราม 4 เพื่อเก็บภาพ ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. ได้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั๊มน้ำมันปตท. และพยานได้ถ่ายภาพผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ทราบว่าผู้ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณดังกล่าวคือใคร จนกระทั่งพนักงานสอบสวนในคดีนี้ได้นำภาพถ่ายที่พยานได้ถ่ายไว้ให้ดู และไม่ทราบว่า หลังจากนั้น ผู้ตายไปรักษาพยาบาลใดและเสียชีวิตเมื่อใด

พยานเบิกความต่ออีกว่า ในวันเกิดเหตุต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ นักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพยานได้เตือนให้ระวังตัวด้วยเนื่องจากเจ้า หน้าที่ทหารจะมีการใช้กระสุนจริง ขณะที่ถ่ายภาพยังมีเสียงระเบิดดังขึ้นมาจากฝั่งผู้ชุมนุมด้วย ส่วนพลุที่กลุ่มผู้ชุมนุมยิงมาใส่ฝั่งทหารนั้นไม่เป็นเหตุให้ทหารได้รับบาด เจ็บ ขณะบันทึกภาพมีกลุ่มผู้ชุมนุมถือไม้กระบองและขว้างก้อนหิน

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิตสอบถามพยานถึงสาเหตุที่ทหารปฏิบัติการในบริเวณ นั้นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตว่าเป็นไปเพื่ออะไร พยานตอบว่าเพื่อที่จะสลายการชุมนุม ตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) และขณะที่ถ่ายภาพในวันเกิดเหตุมีรถพยาบาลมารับผู้บาดเจ็บตลอดทั้งวันอีกด้วย


ภาพนายบุญมี เริ่มสุข ขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ 
 
หลังจากไต่สวนเสร็จ นายณัฐพล เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นายบุญมี เป็นผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม วันที่ 14 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี แถวบ่อนไก่ ซึ่งในวันนี้ ช่างภาพคนดังกล่าวที่เป็นพยาน ซึ่งปฏิบัติงานในบริเวณที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 11 - 19 พ.ค.53 ได้นำหลักฐานมาเสนอต่อศาลเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น โดยได้นำภาพถ่ายของตนเองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นที่แสดงถึงการปฏิบัติการ ของทหารที่ใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และแผ่น VCD ที่ถ่ายขณะเกิดเหตุว่ามีทหารเริ่มปฏิบัติการเพื่อสลายการชุมนุม รวมถึงภาพถ่ายเห็นผู้ชุมนุมถูกฝ่ายทหารยิงบริเวณบ่อนไก่ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นลุงบุญมี (ผู้เสียชีวิตในคดีนี้) มาเสนอต่อศาลด้วย
 
นายณัฐพล กล่าวว่า ลุงบุญมีไม่ได้เป็นผู้ชุมนุมแต่เป็นประชาชนที่อยู่ในที่เกิดเหตุมานั่งรอรับหลานและถูกยิง
 
ทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 15 ส.ค. 55) เดิมอัยการจะเรียกทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นมาไต่สวน อย่างไรก็ตาม ทางทหารได้ขอเลื่อนจึงได้นำพยานปากนี้มาแทน ซึ่งคาดว่าทหารจะเข้าเบิกความในวันพุธหน้า โดยคดีนี้จะมีการไต่สวนทุกวันพุธ ไปจนจบประมาณต้นปีหน้า
 
ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สุชาติ นาคบางไซ กับ 3 ปีในกรงขังเผด็จการ


สมยศ พฤกษาเกษมสุข เล่าถึงชีวิตในเรือนจำของเพื่อนร่วมชะตากรรม สุชาติ นาคบางไซ แกนนำ นปช.รุ่น 2 นักโทษการเมืองคดี ม.112 กำลังรออิสรภาพที่ดูเหมือนว่ามันกำลังใกล้ที่จะมาถึง

สุชาติ นาคบางไซ เป็นนามแฝงของวราวุธ ฐานังกร ประธานกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ เป็นผู้สร้างตำนานของการต่อต้านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อันโด่งดัง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคนเสื้อแดงในรุ่นบุกเบิก เขาเป็นนักปราศรัย และนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว จนถูกตำรวจออกหมายจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระราชินี เขาหายตัวไปราวปีเศษจึงถูกจับกุม เขารับสารภาพในทันที เพราะรู้อยู่แล้วว่าการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมในคดีหมิ่นเบื้องสูง ผู้ถูกกล่าวหาทุกคนตกอยู่ในสภาพถูกมัดมือชก เพราะไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และถูกจองจำด้วยความทุกข์ทรมานเป็นเวลายาวนาน เขาถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี กลายมาเป็นนักโทษเต็มขั้นตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553

วราวุธ ฐานังกร อายุ 54 ปี แต่งงานแล้วมีบุตร 3 คน จบการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่กลับหันมาประกอบอาชีพด้านไอทีในยุคโลกาภิวัตน์ จนเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เขาเป็นผู้ก่อตั้งเว็บบอร์ด Weekend Corner เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการสื่อสารบนอินเตอร์ชื่อดังหลายแห่ง ดังนั้นเมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการต่อต้านเผด็จการทหาร เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนในที่สุดนำมาสู่การพบปะพูดคุยกันอย่างเป็นทางการ เป็นที่มาของการก่อตั้งกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการในเดือนพฤศจิกายน 2549

บทบาทของเขาถูกจับตามองเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นแกนนำต่อต้านการรัฐประหารอย่างห้าวหาญ ดุเดือด อันเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของเขา “สุชาติ นาคบางไซ” กลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ยังมีส่วนสร้างกระแสคลื่นความคิดต่อต้านการรัฐประหารในเว็บบอร์ดการเมืองซื่อดังหลายแห่ง มีการแสดงความคิดเห็นต่อกระแสการเมืองกันอย่างคึกคัก มีชีวิตชีวา มีการตอบโต้วาทะทางความคิดอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเป็นเสมือนภูมิปัญญาของคนรุ่นใหม่ในโลกอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า “นักรบไซเบอร์” หลายคนรับรู้ความจริงด้วยข้อมูลมากมายที่ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระ จนสามารถทะลุทะลวงผ่านมายาทางความคิดซึ่งถูกมอมเมา และครอบงำจากกรอบประเพณี จารีตนิยมเก่าแก่คร่ำครึมายาวนาน

กลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการมีส่วนร่วมแข็งขันในการก่อตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเมื่อแกนนำ นปช.รุ่นแรกจำนวน 9 คนถูกจับกุมคุมขัง หลังจากนำประชาชนบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์จนเกิดเหตุการณ์จลาจลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 สุชาติ นาคบางไซ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแกนนำ นปช.รุ่น 2 ที่มีบทบาทสูงเด่นบนเวทีปราศรัยในเวลานั้น

หลังจากก่อตั้ง นปช. ขึ้นมาแล้วบรรดาสมาชิกกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการกระจายตัวไปตามจุดต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขยายแนวรบทางด้านสื่อสารมวลชนในรูปแบบของวิทยุอินเตอร์เน็ต วิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม แต่สำหรับสุชาติ นาคบางไซ ยังคงยืนหยัดในนามของกลุ่มวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการด้วยการจัดเวทีขนาดเล็กทุกวันเสาร์ที่สนามหลวงเป็นการให้ความรู้ในระดับที่ลึกซึ้งกว่าการปราศรัยบนเวทีใหญ่ของ นปช.

ความคิดที่แหลมคม ก้าวหน้าและการเคลื่อนไหวที่ท้าทาย ดุเดือดของเขาทำให้แกนนำ นปช. ส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นการนำที่สุ่มเสี่ยงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดการชุมนุมยืดเยื้อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 เขานำมวลชนออกไปต่อต้าน จึงถูกกลุ่มพันธมิตรฯ เล่นงานจันหัวร้างข้างแตกไปหลายคน แต่สำหรับสุชาติ นาคบางไซ อัตราเสี่ยงของเขาคือความกล้าหาญ มุ่งมั่น และจริงใจในการเคลื่อนไหวต่อสู้

วันที่ 14 ตุลาคม 2552 เขาขึ้นเวทีปราศรัยซึ่ง นปช. จัดชุมนุมรำลึก 36 ปี 14 ตุลาคม การปราศรัยด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เขาจึงถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดูหมิ่นพระราชินี ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา

ชีวิตการเป็นนักโทษการเมืองตามมาตรา 112 ไม่ต่างจากการเป็นเชลยศึก เพราะไม่มีสิทธิจะโต้แย้ง หรือต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เขาจึงตัดสินใจไม่ต่อสู้ในคดีนี้ และใช้ชีวิตการเป็นนักโทษอย่างเงียบ ๆ ในคุกตะราง เขาถูกขังอยู่ห้องหมายเลข 3 แดน 7 ในสภาพที่แออัดแน่นขนัด เขาอดทนกัดฟันอยู่กับความยากลำบากโดยไม่ได้ปริปากบ่น บุคลิกภาพความห้าวหาญจนดูเหมือนจะบ้าบิ่น กลายมาเป็นคนธรรมดา เงียบขรึม เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร

หลังการตายของอากง นักโทษ 112 สุชาติ นาคบางไซ ถูกย้ายมารวมกันที่แดน 1 ทั้งหมดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 สุชาติ จึงได้ย้ายมาอยู่ห้องขังเดียวกับสมยศ พฤกษาเกษมสุข, เลอพงษ์ (โจ กอร์ดอน), ธันย์ฐวุฒิ เขาจึงมีมีโอกาสพูดคุยกับนักโทษ 112 คนอื่น ๆ อยู่เสมอ

เขาได้ทำงานในฝ่ายควบคุมกลางเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในหน้าที่พิมพ์เอกสาร และงานธุรการ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เขากลายเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม จนได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นเวลา 9 เดือน ทำให้เหลือเวลาถูกจองจำจนถึงเดือนมกราคม 2556 แต่ถ้าในปี 2555 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 80 ปีพระราชินี หากรัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ เขาจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 12 สิงหาคม 2555

สุชาติ นาคบางไซ ได้ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 โดยหวังว่าจะได้รับเมตตาให้เขาพ้นโทษได้ แต่เรื่องก็เงียบหายไปอีก แต่พอมาถึงเดือนมิถุนายน 2555 เมื่อเลอพงษ์ ได้รับแจ้งจากสถานทูตอเมริกาว่าการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคลได้ผ่านพ้นขั้นตอนของกระทรวงยุติธรรมไปยังสำนักพระราชวังแล้ว ทำให้สุชาติ และเลอพงษ์ มีความมั่นใจว่าจะได้รับอิสรภาพก่อนกำหนด เขาดีใจและตื่นเต้นกับวันเวลาแห่งอิสรภาพ

ทั้งสุชาติ และเลอพงษ์ เก็บของใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าพร้อมที่จะได้รับการปล่อยตัว เขาบอกลากับเพื่อนนักโทษ 112 ทุกวัน แต่เวลาผ่านมาหลายสัปดาห์ ไม่มีหมายปล่อยตัวจากสำนักพระราชวังที่ทั้งสองคนเฝ้ารอคอยอยู่ทุกนาทีที่ผ่านไปในแต่ละวัน

เขารอคอยอิสรภาพ เพื่อคืนสู่อ้อมกอดของครอบครัว ญาติ มิตร และแน่นอน กลุ่มคนเสื้อแดงที่ยังไม่ลืมเขาประธานกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ เขาปรารถนาจะคืนสังเวียนการต่อสู้อีกครั้งทุกเวที


ที่มา blogazine

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯเผย"โจ กอร์ดอน"ได้รับการอภัยโทษแล้ว ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำคืนวานนี้


สำนักข่าวเอพีรายงานโดยอ้างคำพูดของโฆษกของสถานทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทยว่านายโจ กอร์ดอน ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 สัญชาติไทย-อเมริกัน ได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว และได้รับการปล่อยตัวเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา (10 ก.ค.) แต่ไม่มีเหตุผลชัดเจนสำหรับการอภัยโทษครั้งนี้


นายกอร์ดอนถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ปีที่แล้ว ที่จ.นครราชสีมา ตามหมายจับเลขที่ 318/2554 ออกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 54 ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ฯ และกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


นายวอลเตอร์ บราวน์โนเลอร์ โฆษกสถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า สหรัฐฯยินดีมากที่นายโจ กอร์ดอน ได้รับพระราชทานอภัยโทษและปล่อยตัวออกจากเรือนจำ


เว็บไซต์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษ ระบุว่านายโจ กอร์ดอนได้รับพระราชทานอภัยโทษในช่วงนี้ อาจเป็นเพราะนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยจะพบกับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาสัปดาห์นี้ และต้องการหลีกเลี่ยงความสนใจที่อาจพุ่งเป้ามาที่กรณีของนายโจ กอร์ดอน รวมถึงกรณีผู้ต้องโทษประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายอื่นๆ

ที่มา matichon

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดจดหมายนักโทษผู้ใกล้ชิด “อากง” ลำดับการจากไป ในวาระครบ 1 เดือน โดย หนุ่ม แดงนนท์


ผู้เขียน: ธันย์ฐวุฒิ หรือหนุ่ม ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ชื่อเรื่องเดิม: “จากเพื่อนร่วมชะตากรรมต่างวัย ถึงเพื่อนที่ล่วงลับจากไปชื่ออำพล”

เผยแพร่ครั้งแรก: เว็บไซต์สำนักราษฎรประสงค์


ใน วาระครบรอบ 1 เดือน (8 พ.ค.) การเสียชีวิตของนายอำพล หรือ อากง ‘ประชาไท’ ขอนำเสนอจดหมาย 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นของนักโทษคดีเดียวกันผู้คอยดูแลอากงมาแต่วันแรกของการอยู่ใน เรือนจำ เขาเขียนเพื่อไว้อาลัยและต้องการให้โลกภายนอกได้รับรู้ลำดับอาการของชายชรา ผู้นี้ รวมทั้งนิสัยใจคอและความเป็นอยู่ที่ผ่านมา แม้จะสุ่มเสี่ยงและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะส่งเรื่องราวเหล่านี้ออกมา

อีก ฉบับหนึ่งเป็นของอดีตผู้ต้องขังคดีการเมือง ซึ่งพ้นโทษออกมาแล้วและเคยอยู่แดนเดียวกับอากง เขาสะท้อนถึงความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในเรือนจำของผู้ต้องขัง


 ---------------------------------

 หนุ่มแดงนนท์                          

8 พฤษภาคม 2555


“อำ พล ตั้งนพกุล, อำพล ตั้งนพกุล ติดต่อที่ทำการแดนครับ ปล่อยตัว!!” เสียงประกาศผ่านไมค์ดังก้องไปทั่วแดน 8 ผมร้องขอให้เพื่อนช่วยประกาศให้เพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณของอากงให้เป็นอิสระ ท่ามกลางความแปลกใจ ตกใจ กับการจากไปอย่างกะทันหันของชายชราคนหนึ่ง ที่พวกเขาเห็นอยู่ทุกวัน ผม หมี สุริยันต์ ไมตี้ วุฒิชัย สายชล ทองสุข รวมถึงเพื่อนๆ ของอากง เดินเกาะกลุ่มกันไปยังประตูทางออกแดน 8 ที่เป็นประตูลูกกรงหนาแน่นบานใหญ่สูงตระหง่าน เราเปิดประตูทางออกแดนอย่างช้าๆ และต่างคนต่างกล่าวคำล่ำลากันให้กับอากง “บ๊ายบายนะอาเจ็ก ค่อยๆ เดินนะ เขาให้เจ็กกลับบ้านแล้ว ป้าอุ๊คอยอยู่ตรงโน้น เจ็กไปหาเขานะ !!” ผมกล่าวออกมาเหมือนเป็นการลาครั้งสุดท้ายในความว่างเปล่า และจินตนาการไปว่า เห็นอากงค่อยๆ เดินอย่างช้าๆ ไปทางประตู 4 ที่เป็นทางออกเรือนจำ

อะไร คือสาเหตุที่ทำให้อากงจากพวกเราไปเร็วขนาดนี้นะ เมื่ออาทิตย์ก่อนพวกเรายังใช้ชีวิตด้วยกันอยู่เลย นี่คือคำถามที่ผมอยากรู้มากๆ ในตอนนั้น มันไม่น่าเกิดขึ้นได้เลย มันไม่ควรเกิดขึ้นเลยจริงๆ


ลำดับเหตุการณ์ อาการป่วย ก่อนถึงวันจากไป

ผม กับอากงและเพื่อนๆ มักจะชวนกันออกกำลังกายด้วยกันทุกเช้า ผมกับอากงเราจะแกว่งมือด้วยกัน วันละประมาณ 15-30 นาที ก่อนกินข้าวเช้า ราวๆ ต้นเดือนเมษายน อากงมาบ่นให้ผมฟังว่าแกปวดท้องน้อยบริเวณเหนือสะดือ ค่อนไปทางซ้ายหรือขวาผมจำไม่ได้ ผมเลยคิดว่าอาการน่าจะปวดกล้ามเนื้อท้องเนื่องมาจากการออกกำลังกาย ผมจึงบอกให้อากงหยุดแกว่งแขวนไปก่อนจนกว่าจะหายปวด เพราะก่อนหน้านี้ราวๆ เดือนมกราคม ก็เคยมีอาการแบบนี้ หยุดแกว่งแขนก็หาย ครั้งนี้ก็คงเหมือนกับครั้งก่อนละมั้ง อากงจึงหยุดแกว่งแขนเพื่อรอดูอาการตั้งแต่วันนั้น

1 สัปดาห์ผ่านไป อากงยังคงมีอาการเจ็บอยู่ ผมจึงให้แกทำเรื่องออกสถานพยาบาลภายในเรือนจำ (พบ.) ในวันจันทร์, 23 เมษายน แต่วันนี้อากงไม่ได้รับการตรวจ เพราะช่วงเช้าทางสมาคมทนายความมาขอพบ และป้าอุ๊มาเยี่ยมพอดี จึงทำให้ต้องเลื่อนไปในวันถัดไป

อังคาร, 24 เมษายน อากงออก พบ.แต่เช้า แต่ไม่ได้รับการตรวจใดๆ อากงบอกว่า เขาถามว่าเป็นอะไร อากงก็ตอบว่าปวดท้อง พวกเขาก็บอกกลับได้ แล้วจะจัดยาไปให้ วันนั้นอากงก็กลับมาที่แดนและได้รับยา 1 ชุดในตอนเย็น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร แต่บอกว่าให้ลองกินดู ไม่หายค่อยทำเรื่องออกไปใหม่ ระยะนี้อากงก็มีลักษณะภายนอกเหมือนปกติทุกวัน กินข้าวได้ เดินเหินได้ปกติ

หลัง จากกินยาชุดนี้ได้ 3-4 วัน อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ยังคงเจ็บท้องอยู่ และมีอาการท้องใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย และกดดูแล้วก็แข็ง เนื่องจากอากงเป็นคนมีพุงอยู่แล้ว เลยไม่มีใครคิดว่าเป็นอาการผิดปกติ ผมจึงทำเรื่องให้อากงออกไป พบ.อีกครั้ง ในวัน จันทร์,30 เมษายน อากงเล่าให้ฟังหลังจากกลับมาจาก พบ.ว่า วันนี้พวกเขาก็ทำเหมือนเดิม คือ ถามว่าเป็นอะไร แล้วก็ไล่กลับ แต่ครั้งนี้อากงทนไม่ไหวจึงโวยวายออกไปว่า “ตรวจอั๊วด้วยสิ อั๊วเจ็บท้องหลายวันแล้ว กินยาก็ไม่หาย ไม่ตรวจดูจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นอะไร !!” จึงทำให้อากงได้รับการตรวจ และเย็นนั้นจึงได้ยามาอีก 1 ชุด

หลังจากกินยาชุดที่สองนี้ แล้ว อาการเจ็บท้องก็ยังไม่หาย และท้องก็ใหญ่ขึ้น ตึงขึ้น และแข็งมาก จนพี่สมยศทักอากงว่าเป็นอาการเกี่ยวกับตับหรือเปล่า? เพราะพี่สมยศเคยมีประสบการณ์กับโรคตับมาก่อน เมื่อได้ฟังเช่นนี้แล้ว อากงจึงเกิดอาการวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด จนอากงร้องไห้กับผมแล้วบอกว่า “ทำไมไม่หายซักที ผมแย่แล้ว ให้ผมตายเหอะ !!” พูดอยู่หลายครั้ง ผมจึงได้ปลอบใจว่าอากงไม่เป็นไรหรอกน่า เดี๋ยวอาทิตย์นี้ก็ไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว อดทนอีกหน่อยเถอะนะ พร้อมทั้งให้กำลังใจแกเหมือนทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการช่วยแร่งรัดขออภัยโทษให้แก และเพื่อนๆ คดี 112 ทั้งหมดที่ทางคุณอานนท์มาแจ้งให้เราทราบในวัน พุธ, 2 พฤษภาคม ในวันนี้คุณอานนท์ยังทักว่าอากงดูไม่ค่อยดี ผมจึงขอให้คุณอานนท์ช่วยแจ้งอาจารย์หวาน ช่วยประสานให้อากงออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์ (รพ.รท) โดยด่วน คุณอานนท์รับปากและได้ช่วยประสานงานให้ โดยเราเชื่อว่าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์จะมีหมอเก่งๆ ช่วยรักษาให้อากงหายเจ็บได้

พฤหัส, 3 พฤษภาคม อากงเริ่มมีอาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และปฏิเสธโจ๊กที่พวกราสั่งซื้อให้แกกินอยู่ทุกวัน ผมจึงให้แกกินนมไวตามิลค์ เพื่อให้แกกินยา จากนั้นแกก็นอน อากาศเวลานั้นร้อนมากๆ ผมทายาหม่องให้แกที่หน้าอก หลัง คอ เพื่อให้หายใจสะดวก และคอยพัดให้แกอยู่เรื่อยๆ แกนอนรอป้าอุ๊มาเยี่ยมอย่างเช่นทุกวัน แต่วันนี้แปลกตรงที่ว่า พอมีเสียงประกาศเยี่ยมญาติของอากง ทุกทีแกจะรีบกุลีกุจอแทบจะวิ่งไปรับใบเยี่ยมญาติ แต่ครั้งนี้เราต้องพยุงแกขึ้นมา อากงหันมามองหน้าผม ทำเหมือนจะร้องไห้แล้วพูดว่า “หนุ่มไปด้วยนะ ไปกับผมด้วย ผมเดินไม่ไหว” ผมไม่เคยได้ยินคำพูดและน้ำเสียงแบบนี้ของแกมาก่อนตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันมา เกือบ 2 ปี ผมจึงขออนุญาตเจ้าหน้าที่ออกไปส่งแกที่จุดเยี่ยมญาติเพื่อพาแกมาหาป้าอุ๊ และผมได้กำชับแกโดยเขียนลงกระดาษให้แกบอกป้าอุ๊ว่าให้โทรบอกอาจารย์หวาน เรื่องการส่งอากงไปโรงพยาบาลอีกครั้ง รวมถึงให้ป้าอุ๊ซื้อนมเปรี้ยวและผลไม้ที่ย่อยง่ายๆ ให้ด้วย เพราะอากงจะได้กินในช่วงที่ป่วยอยู่นี้

เยี่ยมเสร็จผมกับ อากงได้เจอป้าอุ๊ไกลๆ ที่ช่องรับของฝาก ผมทำสัญลักษณ์มือที่กางนิ้วก้อยกับนิ้วโป้งและยกขึ้นข้างหู ให้ป้าอุ๊กับป้าน้อย (ภรรยาอาจารย์สุรชัย) เพื่อส่งภาษาใบ้ว่าอย่าลืมโทร (หาอาจารย์หวาน) ด้วยนะ ป้าอุ๊ก็พยักหน้าเข้าใจ แล้วผมก็ชี้นิ้วไปที่อากง แล้วโบกมือไปมาแทนความหมายว่า ไม่ต้องเป็นห่วง (อากง) นะ จากนั้นเราก็เดินกลับแดน

ใครจะรู้ว่าการพบกันในวันนั้นของ อากงกับป้าอุ๊ จะเป็นการพบกันเป็นครั้งสุดท้ายของสามีภรรยาคู่นี้ที่ต่างเฝ้าประคับประคอง จิตใจกันมาอย่างยาวนาน

เช้าวันศุกร์, 4 พฤษภาคม หลังจากอาบน้ำตอนเช้าด้วยกันแล้ว อากงก็หลบไปนอนในโรงอาหารอีก และไม่ยอมกินโจ๊กเหมือนเมื่อวาน ผมจึงปล่อยแกนอน โดยเตรียมนมไวตามิลค์ไวให้ วันนี้มีประกาศชื่ออากงให้ออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์แต่เช้า ผมจึงดีใจเพราะวันนี้อากงจะได้ออกไปหาหมอเสียที เสียงประกาศชื่ออากงอีกครั้งเวลา 9.00 น. ผมปลุกแกให้ตื่นเพื่อให้แกกินนม และใส่เสื้อเพื่อเตรียมตัวไปโรงพยาบาล อากงกินได้ไม่ถึงครึ่งกล่องก็บอกว่ากินไม่ลงแล้ว ผมจึงพยุงแกลงมาจากโรงอาหาร ตอนนี้ผมสังเกตเห็นดวงตาของแกค่อนข้างเหลืองมาก ท้องก็ยังโตและแข็งอยู่เหมือนเดิม ผมขอให้อากงนั่งรถเข็นออกไปเพราะแกเดินไม่ไหวแล้ว อากงถูกเข็นออกไปอย่างช้าๆ และนี่เป็นภาพสุดท้ายที่ผมได้เห็นอากง โดยไม่เคยคิดว่าการจากกันครั้งนี้จะเป็นการจากกันตลอดไปโดยไม่ได้พบกันอีก เลย

ชายชราผู้ไม่จงรักภักดี ?

จาก การพูดคุยกันตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมยืนยันได้เลยว่าอากงไม่ใช่ทั้งเหลืองทั้งแดง ไม่สลิ่มด้วย แกเล่าให้ผมฟังว่าแกชอบไปตามงานชุมนุมต่างๆ เพราะสนุกดี และบางครั้งก็มีของให้กินฟรีๆ ด้วย แกเริ่มไปงานชุมนุมครั้งแรกก็คือชุมนุมพันธมิตร ที่แกยังได้รับแจกเสื้อเหลืองพร้อมลายเซ็นจำลอง ศรีเมือง ติดไม้ติดมืดกลับบ้านด้วย หลังจากนั้นก็ไปงานชุมนุมของเสื้อแดงที่แกก็ได้เสื้อแดง ผ้าโพกหัวกลับบ้านมา โดยไม่ต้องเสียเงินเช่นกัน อากงมักจะใช้เวลาหลังจากรับหลานๆ กลับจากโรงเรียน แล้วช่วยงานบ้านป้าอุ๊เสร็จแล้วค่อยไปงานชุมนุม เมื่อหายเบื่อแล้ว 2-3 ชั่วโมงก็นั่งรถกลับบ้าน

อากงไม่มีพื้นฐานความรู้ทางการ เมืองใดๆ เลย อยู่บ้านทีวีเสื้อแดงก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเปิดดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่อ่าน เพราะสายตาไม่ดี ลำพังแค่เลี้ยงหลานอย่างเดียวก็หมดเวลาแล้ว ดังนั้น เวลาพวกผมคุยกันเรื่องการเมืองแกจะตั้งใจฟัง แล้วมีคำถามมาถามเราอยู่บ่อยๆ

ที่ น่าสนใจคือ กับข้อหาที่แกโดนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กับการกระทำโดยธรรมชาติของแกมันขัดแย้งกันมาก เช่น แกจะยกมือไหว้พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงที่ตั้งอยู่ที่แดน 8 ทุกครั้งที่เดินผ่าน ผมแน่ใจว่าแกทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อีกทั้งเรื่องที่อากงเล่าให้ฟังว่า แกพาหลานๆ ของแกไปลงนามถวายพระพรในหลวงที่ศิริราชอยู่หลายครั้ง เวลาไปช็อปปิ้งกับหลานๆ แล้วเห็นโต๊ะที่เปิดให้มีการลงนามถวายพระพร ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ อากงจะชวนหลานๆ ร่วมลงนามถวายพระพรทุกครั้ง ผมจึงแทบไม่เชื่อว่าชราคนนี้จะถูกกล่าวหาไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน

บุคลิก ลักษณะภายนอกของอากง ใครเห็นก็จะรู้ว่าเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มเก่งไหว้เก่ง และที่ชัดที่สุดคือ ร้องไห้เก่ง โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าอากงเป็นคนอ่อนแอทางจิตใจมากคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่แกถูกจับเข้ามาอยู่ในคุก แกยิ่งแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน ช่วงแรกที่อากงถูกจับเข้ามาและได้รับการประกันตัวออกไป แตกต่างจากครั้งที่แกถูกจับเข้ามาอีกครั้งมากในเรื่องกำลังใจ ผมว่าแกโชคดีที่มีพวกเราหลายคนคอยให้กำลังใจแกอยู่ตลอดเวลา นอกจากคนที่โดนคดีเสื้อแดงแล้วอากงยังได้รับความรักและเขาใจจากผู้ต้องขัง อื่นๆ ด้วย เป็นเรื่องจริงที่ผมมักจะบอกกับอากงว่า แกเหมือนเป็นพวกแบตเตอรี่เสื่อม เวลาห่อเหี่ยว ท้อแท้ เราคุยให้กำลังใจแก แกก็จะกลับมายิ้ม และชูกำปั้น “สู้” ได้อีกครั้ง แต่พอผ่านไปไม่ถึงชั่วโมงแกก็จะนั่งหน้าเศร้าอีก เราเลยต้องชาร์จกันใหม่ๆ เรื่อยๆ ผลัดกัน ช่วยกันไป พวกเราต่างคิดว่าอากงเป็นญาติพี่น้องของเราจริงๆ ดังนั้น เราจึงดูแลกันด้วยดีตลอดมา

อากงจึงอยู่ในคุกได้ ด้วยกำลังใจล้วนๆ กำลังใจหลักคือมาจากป้าอุ๊ รองลงมาคือจากพวกเรา เพื่อนๆ ที่อยู่ร่วมแดนกันและกำลังใจจากมวลชนที่แวะเวียนมาให้กำลังใจ นึกไม่ออกเลยว่า 4 วัน 4 คืนในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่ขาดซึ่งกำลังใจใดๆ เลย อากงจะทนทุกข์ทรมานมากเพียงใด และเป็นไปได้หรือเปล่าที่สาเหตุของการจากไปอย่างกะทันหันของแก ส่วนหนึ่งมาจากการขาดกำลังใจ......

ความอยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บางคนที่มอบให้กับอากง
โดยอ้างว่าตัวเอง “รักเจ้า”


ผมคิดอยู่หลายรอบว่าจะ เขียนเรื่องนี้ดีหรือเปล่า ท้ายสุดก็คิดว่าควรต้องเขียน เพราะมันคือความจริงที่เกิดขึ้นกับอากง จากการตั้งใจกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บางคนในช่วงที่ข้อหาล้มเจ้า ของคนเสื้อแดงกำลังถูกโหมโรงจากสื่อกระแสนหลักอย่างกว้างขวาง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ หลายคนจึงตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน คือการโดนข่มขู่ ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ และถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา ไม่ยกเว้นชายชราหรือ “อากง” คนนั้น ซึ่งผมและสุริยันต์ คือหนึ่งในนั้นตามข่าวที่ปรากฏไปบ้างแล้วจากสื่อทางเลือก เรื่องนี้ผมจึงคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คนภายนอกจะได้รู้ว่าอากงโดนปฏิบัติ อย่างไรบ้าง (ผมขอรับผิดชอบในสิ่งที่ผมเขียนทุกคำ พร้อมให้ตรวจสอบ)

แต่ ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ปัจจุบันแดน 8 เป็นแดนที่ดีที่สุด แตกต่างจากแต่ก่อนฟ้ากับเหว เพราะได้มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าฝ่ายคนใหม่ที่เป็นนักพัฒนาที่มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรมกว่าคนเดิมที่ผมจะเล่าถึงการกระทำของเขาที่กระทำต่ออากง ซึ่งมีเรื่องราวดังนี้

อากงถูกจำแนกเข้ามาที่แดน 8 ภายหลังที่ผมและสุริยันต์โดนทำร้ายร่างกายด้วยความตั้งใจของหัวหน้าฝ่ายคน เก่าไปแล้ว และนอกจากผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ จะโดนทำร้ายแล้ว ผู้ต้องหาคดีเสื้อแดงที่ตอนนั้นถูกจับเข้ามา ถ้าถูกจำแนกมาแดน 8 ก็จะโดนเก็บยอดทุกคนโดยการตบต่อยที่ใบหน้า ร่างกาย จากนักโทษที่ได้รับสัญญาณมา และถูกด่าอย่างหยาบคายว่าเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง แต่อากงโชคดีที่เป็นคนแก่จึงได้รับการยกเว้น ไม่ถูกประทุษร้ายทางร่างกาย แต่ถูกกลั่นแกล้งให้ทำงานอย่างหนักแทน

ด้วยภาพของอากงและ วัยที่มากแล้ว โดยมนุษยธรรมและความเมตตา ควรได้รับการยกเว้นให้ทำงานอย่างคนหนุ่มเขาทำกัน แต่อากงคือผู้ที่ถูกเลือกด้วยความตั้งใจให้มาอยู่แดน 8 ของหัวหน้าฝ่ายคนก่อน (ที่ปัจจุบันย้ายไปประจำอยู่ใต้ถุนศาลรัชดา) เพื่อสะดวกในการทำอะไรบางอย่าง

วันแรกที่เข้ามาอากงถูก สั่งให้เข้าไปอยู่ในกองงานปั่นถ้วย และรับยอดเติมในทันที คือวันละ 5 กิโล หรือ 2,500 ใบ อากงทำไม่ได้แน่นอน แต่ก็ถูกบังคับให้ทำ จนผู้ต้องขังด้วยกันทนไม่ได้ต่างเข้ามาช่วยแบ่งงานอากงไปทำ คนละนิดคนละหน่อยจนเสร็จ อากงต้องทำงานอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งประกันตัวออกไปในครั้งแรก

อา กงกลับเข้ามาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้หัวหน้าฝ่ายคนนี้คงเข็ดที่จะเอาคดี 112 มาไว้อีก อากงจึงถูกจำแนกไปแดน 3 โดยหวังว่าจะแยกผมออกจากอากง ปรากฏว่าด้วยความเหลือจากผู้ใหญ่ข้างนอกโดยผ่านคุณอานนท์ จึงทำให้อากงถูกย้ายมาอยู่แดน  8 กับผมอีกครั้ง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับหัวหน้าฝ่ายคนนี้อย่างมาก อากงจึงถูกคำสั่งให้ไปปั่นถ้วยอีก แล้วครั้งนี้ก็เหมือนเดิม ผู้ต้องขังก็ช่วยเหลืออากงเหมือนเดิม เพราะทนเห็นการถูกกลั่นแกล้งของหัวหน้าฝ่ายไม่ได้ ท้ายสุดแล้ว ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่โดยผ่านคุณอานนท์เช่นเดิม จึงมีคำสั่งสายฟ้าแลบให้ย้ายอากงมาอยู่กองงานห้องสมุด โดยไม่ต้องให้แกทำอะไรเลย งานนี้ทำให้หัวหน้าฝ่ายคนนี้เสียหน้าอย่างมากทีเดียว เพราะไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจอีกแล้วกับคนเสื้อแดง

หาก การเสียชีวิตของอากง เลขาอภิสิทธิ์ ผู้พิพากษา ตำรวจผู้จับกุม ควรต้องรับผิดชอบแล้ว หัวหน้าฝ่ายควบคุมแดน 8 คนนี้ (ที่ไม่ใช่คนปัจจุบัน) ก็ควรต้องถูกประณามด้วยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ผมขอไว้อาลัยกับการจากไปของเพื่อนต่างวันของผมคนนี้ที่ผมรักและห่วงใยเสมือน ญาติแท้ๆ ของผมคนหนึ่ง แน่นอนการจากไปของเขาจะต้องไม่เสียเปล่า ขอให้อากงหรืออาเจ็กที่ผมเรียก อย่าได้เป็นห่วงผมและเพื่อนๆ ทุกคนจะทำหน้าที่แทนอาเจ็กเองในการดูแลป้าอุ๊และหลานๆ ที่น่ารักของอาเจ็กให้มีความสุขตลอดไป และหากชาติหน้ามีจริงขอให้เราได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง...ผมรักเจ็กนะครับ!! ขอให้เจ็กหลับให้สบายและอย่าได้กังวลอะไรอีกเลย.








ที่มา prachatai