นาฬิกา รูปภาพ ปฎิทิน


       เวลาประเทศไทย...  
 
 
 

       ปฏิทินวันนี้...  

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ศาลอาญายกฟ้องคดีเสื้อแดงหมิ่นเบื้องสูงผ่านเฟซบุ๊ก ชี้พยานโจทก์มีข้อสงสัย



เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 31 ต.ค. ที่ห้องพิจารณา 804 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง หมายเลขดำ อ.4857/2554 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุรศักดิ์ หรือสุรภักดิ์ ภูไชยแสง หรือภูไชยแสน หรือภูไชแสง อายุ 41 ปี โปรแกรมเมอร์อิสระ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ,14,17
 
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อวันที่ 25 พ.ย.54 บรรยายพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 4 -16 พ.ค.54 จำเลยได้เขียนข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เหตุเกิดที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี , แขวง-เขตวังทองหลาง กทม.,ทั่วราชอาณาจักรไทย และท้องที่ใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้คดี

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย นำสืบหักล้างแล้ว เห็นว่า การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ที่ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงตัวผู้ส่ง ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องพยายามเก็บ รักษาข้อมูลต้นฉบับไว้ เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ซึ่งปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของ จำเลยแล้ว กลับมีผู้เปิดใช้ในวันที่ 2 ก.ย.2554 เวลา 20.13.44 น. และวันที่ 7 ก.ย. 2554 เวลา 21.12.07 น. ซึ่งเป็นวันก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกส่งไปตรวจพิสูจน์ อาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์มีข้อบกพร่อง จึงยังไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่าข้อมูลการใช้อีเมล์ และเฟซบุ๊ก  จะเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 พิพากษาให้ยกฟ้อง
ทั้งนี้ภายหลังคำพิพากษา นายสุรศักดิ์ จำเลย มีอาการดีใจหันมายิ้มและจับมือกับกลุ่มญาติและเพื่อนที่มาร่วมให้กำลังใจใน วันนี้ โดยระหว่างการพิจารณาคดีที่ผ่านมานายสุรศักดิ์ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ.

 ที่มา dailynews 


****************************

คำพิพากษาย่อ

(จัดย่อหน้าและทำตัวเน้นโดยประชาไท)

คดีหมายเลขดำที่ อ.๔๘๕๗/๒๕๕๔
  คดีหมายเลขแดงที่
ศาลอาญา
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด                      โจทก์
            ระหว่าง
                        นายสุรศักดิ์หรือสุรภักดิ์ ภูไชยแสงหรือภูไชยแสนหรือภูไชแสง จำเลย

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างอีเมล์ส่วนตัวชื่อ dorkao@hotmail.com และใช้งานในลักษณะเป็นเจ้าของแล้วใช้อีเมล์ดังกล่าวสร้างบัญชีผู้ใช้ (โปรไฟล์) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ชื่อ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ขึ้น และจำเลยได้เขียนข้อความอันเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แล้วนำข้อความดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น เท็จ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๙๑, ๑๑๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓, ๑๔, ๑๗ ริบของกลาง

            จำเลยให้การปฏิเสธ
            พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าจำเลยมีที่อยู่อีเมล์ของ dorkao@hotmail.com และรหัสผ่านเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ที่ลงทะเบียนไว้ในระบบแต่อย่างใด ทั้งได้ความว่ารหัสผ่านที่จำเลยเขียนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นรหัสผ่านสำหรับ ใช้เปิดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยเท่านั้น และเป็นรหัสผ่านเดียวกันกับที่อยู่อีเมล์และเฟซบุ๊กในชื่อ surapach_phuchaisang@hotmail.com ของจำเลยเอง ซึ่งตามปกติแล้วผู้เป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้ย่อมต้องปกปิดรหัสสำหรับผ่านเข้า สู่ระบบอีเมล์หรือเฟซบุ๊กเป็นความลับเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงข้อมูลของตน ได้ แต่ปรากฏว่าหลังจับกุมจำเลยและควบคุมตัวไว้นั้น ยังมีบุคคลอื่นเข้าใช้งานอีเมล์ dorkao@hotmail.comอยู่อีก

             ที่โจทก์นำสืบว่ารหัสอีเมล์แอดเดรสอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดและอี เมล์แอดเดรสนั้นมีการใช้เฟซบุ๊กจะสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของ เฟซบุ๊กก็เพียงเป็นความเข้าใจของพยานโจทก์เท่านั้น โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้เช่นนั้น ซึ่งจากการตรวจแฟ้มข้อมูลบันทึกประวัติการเข้าใช้งานไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ InboxLight[2].htm ระบุถึงชื่อ dorkao@hotmail.com และประวัติการเข้าใช้เว็บไซด์เฟซบุ๊ก home[1].htm ซึ่งระบุถึงชื่อโปรไฟล์ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” พบว่ามีบันทึกอยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยที่ยึดเป็นของกลางอย่างละ ๑ รายการ โดยพบประวัติการใช้อีเมล์และเฟซบุ๊กในวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๔ และ ๘ มกราคม ๒๕๕๔ ตามลำดับ ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันเวลาที่มีการเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องนานหลาย เดือน หากมีการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของกลางเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องจริงก็ น่าจะตรวจพบประวัติการใช้ในช่วงวันเวลาดังกล่าวบ้าง แต่กลับตรวจไม่พบประวัติการใช้แต่อย่างใด และไม่พบความเชื่อมโยงระหว่าง อีเมล์แอดเดรส dorkao@hotmail.com กับเจ้าของเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร”

             นอกจากนี้ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดหัสต้นฉบับยังสามารถคัดลอกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นได้โดยใช้เวลาไม่ถึง ๑ วินาที ซึ่งประการนี้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ว่าแฟ้มข้อมูลและรหัสต้นฉบับตาม ที่ตรวจพบนั้นเป็นแฟ้มที่ไม่อาจพบอยู่ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลปกติ และไม่ได้เกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต แต่ถูกทำขึ้นแล้วนำไปวางไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง และคุณสมบัติด้านเวลาของแฟ้มมีความผิดปกติ โดยระหว่างสืบพยานจำเลยได้แสดงวิธีคัดลองแฟ้มให้ดู ผลปรากฏว่าสามารถกระทำได้จริง เมื่อพิจารณารายงานการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์ของกลางโดยละเอียดแล้ว พบว่า มีความผิดปกติหลายประการดังที่จำเลยนำสืบจริง

               และเนื่องจากข้อมูลลักษณะดังกล่าวอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ดังนั้นในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์จึง ต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ซึ่งต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้อง พยายามรักษาข้อมูลต้นฉบับไว้ เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลยไว้แล้ว กลับมีผู้เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางใน วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๐.๑๓.๔๔ นาฬิกา และวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๑๒.๐๗ นาฬิกา ซึ่งเป็นวันก่อนที่จะถูกส่งไปให้ว่าที่พันตำรวจตรีนิติทำการตรวจพิสูจน์ อันอาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คของกลางได้ง่าย จึงทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางมีข้อบกพร่องกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ยังไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่า ข้อมูลการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com และเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” เกิดขึ้นจากการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลย

              พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง

              พิพากษายกฟ้อง

ที่มา prachatai

รายงาน : สรุปข้อต่อสู้คดี 112 บนเฟซบุ๊ค ‘เราจะครองxxxx’ ก่อนพิพากษาพรุ่งนี้



โดย ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม


พรุ่งนี้ (31 ต.ค.55)  เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา จะมีการพิพากษา คดีของนายสุรภักดิ์ จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3)

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา


สุรภักดิ์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.54 ไม่ได้ประกันตัวและอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน

สุรภักดิ์ อายุ 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งจัดตั้งบริษัทของตนเอง รับจ้างออกแบบระบบให้บริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย

เขาถูกกล่าวหาว่า เป็น “เจ้าของ” บัญชีเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า “เราจะครองxxxx”  โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดทั้งสิ้น 6 ข้อความ แต่เมื่ออัยการทำคำฟ้องปรากฏเพียง 5 ข้อความ (4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 23 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54) ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้เขามีความผิดจริง เขาจะมีความผิด 5 กรรม

สุรภักดิ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งใน ชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน โดยระบุด้วยว่า ไม่ใช่เจ้าของอีเมล์และเฟซบุ๊คดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังสุรภักดิ์ถูกจับกุม เฟซบุ๊คบัญชีนี้ยังเปิดใช้งานและมีความเคลื่อนไหวอยู่

ความเป็นมาของ คดีนี้เริ่มต้นจาก มีประชาชนทั่วไปชื่อ มานะชัย แจ้งเบาะแสไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี หรือ ปอท. โดยแจ้งว่ามีเฟซบุ๊คที่กระทำความผิดดังกล่าว มีเจ้าของเป็นนายสุรภักดิ์ พร้อมให้ชื่อ-นามสกุล-ที่อยู่ แก่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยในการสืบพยานในศาล เจ้าหน้าที่เบิกความว่าไม่รู้และไม่ได้ตรวจสอบว่าบุคคลผู้ให้เบาะแสนี้คือ ใคร และไม่สามารถนำตัวผู้แจ้งเบาะแสมาเบิกความได้

จากนั้นไม่นานจึง มีนักศึกษาราชภัฏคนหนึ่งไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ทำให้เรื่องนี้เป็นคดีขึ้นมาอย่างเป็นทางการ พยานปากนี้ขึ้นเบิกความในชั้นศาลด้วย ซึ่งทั้งพยานและจำเลยไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม พยานปากนี้ระบุว่าได้ปลอมตัวเป็นคนเสื้อแดงเข้าไปเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คที่ ถูกกล่าวหาดังกล่าว จึงสามารถเห็นข้อความหมิ่นที่ถูกโพสต์ได้ และทำการ capture หน้าจอ ปริ๊นท์ออกมาเป็นหลักฐานให้ตำรวจ

นักศึกษาราชภัฏยัง ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างอีเมล์และเฟซบุ๊คที่กระทำผิดไว้ว่า พยานเป็นสมาชิกในอีเมล์กรุ๊ปหนึ่งของกูเกิลกรุ๊ป และได้นำอีเมล์สมาชิกคนหนึ่ง คือ dorkao@hotmail.com (ดอกอ้อ) ไปค้นหาใน google ผลการค้นหาพบหน้าเฟซบุ๊คบัญชี เราจครองxxxx จึงสันนิษฐานว่าเจ้าของอีเมล์นี้เป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊คดังกล่าวด้วย ต่อมาจึงได้ทราบในภายหลังจากตำรวจว่า อีเมล์ดังกล่าวนั้นคือนายสุรภักดิ์

สิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ คือ การต่อสู้กันระหว่างพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยและตัวจำเลยเอง กับ พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นกองพิสูจน์หลักฐาน , เนคเทค (ไอซีที)

กองพิสูจน์หลักฐานซึ่งตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของกลางระบุว่า ไม่พบถ้อยคำหมิ่นสถาบันตามที่พนักงานสอบสวนให้ตรวจเช็คหลายรายการ แต่พบร่องรอยการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com  และการใช้เฟซบุ๊คเจ้าปัญหาในฐานะเจ้าของเพจ โดยทำการกู้จาก temporary file  ขึ้นมาได้อย่างละ 1 ไฟล์

อย่างไรก็ตาม ข้อต่อสู้ที่สำคัญของฝ่ายจำเลยคือ คอมพิวเตอร์ของกลางดังกล่าวมีการเปิดใช้เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์ในวันที่ 2 ก.ย.เวลากลางคืน และ 7 ก.ย.54 (อ้างอิงตามเอกสารที่อยู่ในสำนวนคดี) ทั้งที่จำเลยถูกจับกุมและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.54 ช่วงบ่ายแล้ว ซึ่งเมื่อพยานจากกองพิสูจน์หลักฐานดูเอกสารก็รับว่าเป็นเช่นนั้น

ประเด็น นี้เป็นประเด็นสำคัญที่ใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลักการที่ต้องไม่เปิดคอมของกลางอีกเลย ดังที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ก็ได้เบิกความไว้ว่าการส่งคอมพิวเตอร์ จากพนักงานสอบสวนไปให้กองพิสูจน์หลักฐานต้องผนึกหีบห่ออย่างดี จะเปิดได้ต่อเมื่อส่งถึงผู้ชำนาญการแล้วและมีการทำสำเนาข้อมูลออกมาโดยไม่ เปิดเครื่อง ที่ทำเช่นนี้เพราะถ้าเปิดดูก่อนเครื่องจะบันทึกการเปิดเครื่องไว้ทำให้เกิด ความเสียหายต่อหลักฐานที่ได้มา

นอกจากนี้ยังมีการต่อสู้กันว่า temporary file หรือ cache ที่เจ้าหน้าที่กู้ได้และใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้ เป็นเอกสารจริงหรือไม่

เนื่องจากฝ่ายจำเลยชี้ว่าฮอตเมล์และโดยเฉพาะเฟซบุ๊ค จะมีระบบที่กำหนดไม่ให้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเก็บ temporary file ใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งาน อีกทั้งตามหลักฐานในสำนวนยังพบว่ามีการเก็บไฟล์ดังกล่าวใน partition ที่สองของเครื่อง ไม่ใช่ partition หลัก ซึ่งเชื่อว่าผิดปกติ

ที่สำคัญฝ่ายจำเลยระบุว่า ไฟล์ที่เกิดจาก cache file จะไม่มี source code ในภาษา html ส่วน source code ที่เจ้าหน้าที่ได้มาและใช้เป็นหลักฐานในคดีนั้นเป็นการ copy มาจากหน้าเว็บโดยการเข้าไปในเว็บไซต์เฟซบุ๊คแล้วคลิ๊กขวาคัดลอก source code โดยเปลี่ยนข้อความให้เป็นอีเมล์ที่ต้องการ (dorkao@hotmail.com เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ-ประชาไท) แล้วนำมาลงไว้ใน partition 2 เสมือนว่าเจ้าของเครื่องได้เข้าไปใช้เว็บไซต์นั้นจริงๆ อีกทั้งในเอกสาร source code ที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นหลักฐานการเข้าใช้เฟซบุ๊คเพจ ก็เป็นภาษา htm ขณะที่ source code ของเฟซบุ๊คใช้ภาษา php 

ดัง นั้นจำเลยจึงสันนิษฐานว่า ไฟล์ที่เอามาใช้ฟ้องคดีนี้เป็นการคัดลอก source code จากเว็บมาวางใน note pad แล้วแก้ไขสาระสำคัญที่ต้องการ จากนั้นก็ทำการบันทึกซึ่งจะบันทึกเป็นนามสกุลใดก็ได้ ในกรณีนี้บันทึกเป็นนามสกุล html แล้วนำไปเก็บไว้ในเครื่อง จากนั้นใช้โปรแกรม internet explorer อ่าน โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ เพราะไฟล์ลักษณะนี้เป็นชิ้นส่วนของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำได้ จากชื่อเพจดังกล่าวจะเปลี่ยนให้เป็นเพจเรารักในหลวงก็สามารถทำได้

คำเบิกความของทั้งสองฝ่ายก็ต่างสนับสนุนข้อสันนิษฐานของตนเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคดีนี้คือ การที่ศาลอนุญาตให้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมประกอบการอธิบาย โดยให้ฉายผ่านโปรเจ๊กเตอร์ไปยังผนังห้องเพื่อให้เห็นกันได้อย่างสะดวก ขณะในคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับคอมพิวเตอร์ก่อนหน้านี้ ศาลมักไม่อนุญาตให้เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ประกอบ ด้วยเหตุผลว่าไม่ว่าเรื่องจะซับซ้อนเพียงใดก็สามารถใช้การอธิบายผ่านปากผู้ เชี่ยวชาญของสองฝ่ายได้ และเปิดไปศาลก็ไม่เข้าใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีนี้อนุญาตให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการอธิบาย ทำให้ฝ่าย จำเลยสามารถเรียกร้องให้พยานฝ่ายโจทก์สาธิตให้ดูว่า การเปิดใช้เฟซบุ๊คจะมีการเก็บ temporary file หรือไม่  ซึ่งปรากฏว่าไม่มี แต่พยานโจทก์ระบุว่าอาจเป็นเพราะ browser ของคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เก็บหรือไม่เก็บก็ได้ นอกจากนี้ฝ่ายจำเลยยังมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตให้ดูได้ว่า ไฟล์ html ไม่สามารถใช้กับเฟซบุ๊คได้ การปรับแต่งหลักฐาน หากจะมีเกิดขึ้นนั้นกระทำได้ง่ายเพียงใด และสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าวันเวลาให้เป็นตามต้องการได้ด้วย ส่วนผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่า source code ของเฟซบุ๊คในส่วน header จะมีคำสั่งไม่ให้เครื่องผู้ใช้มีการเก็บ cache file จริง

หากจะดูรายละเอียดของคดีไล่ตั้งแต่การจับกุมจนถึงการเบิกความของพยานปากต่างๆ ทั้งของโจกท์และจำเลย แหล่งข้อมูลที่ละเอียดที่สุดในเวลานี้ก็คือ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw  (คดีสุรภักดิ์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/176#detail ) ก่อนจะรับฟังคำพิพากษาร่วมกันในวันที่ 31 ต.ค.นี้

ที่มา prachatai