นาฬิกา รูปภาพ ปฎิทิน


       เวลาประเทศไทย...  
 
 
 

       ปฏิทินวันนี้...  

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทนายอากงเปิดเอกสารสำคัญชี้อากงบริสุทธิ์

เปิดเอกสารความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากเยอรมันชี้การเก็บ ข้อมูลจากตัวเลขอีมี่เครื่องมีโอกาสคลาดเคลื่อนและสามารถปลอมแปลงได้ง่าย

24 สิงหาคม 2555 พูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายความของ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือเป็นที่รู้จักในสาธารณะในชื่อ"อากง SMS " วัย 61ปี ผู้ต้องหาคดีละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์ และ กม.อาญา ม.112 ซึ่งได้เสียชีวิตลงในเรือนจำเมือวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ด้วยโรคมะเร็งที่ตับ ได้นำเอกสารหลักฐานความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากประเทศเยอรมัน ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษจำนวน 4หน้าA4 และฉบับแปลโดยได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊คของเธอ

ในบันทึกดังกล่าวได้แสดงเอกสารที่เป็นความเห็นจาก Dr. Karsten Nohl ผู้เชี่ยวชาญเครือข่ายโทรคมนาคม จาก Security Research Labs องค์กรเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมตั้งอยู่ในประเทศเยอรมัน โดยได้ให้ความเห็นต่อการเก็บบันทึกหมายเลขอีมี่ หรือเลขรหัสประจำเครื่องของดีแทคไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะระบุ เครื่องที่ใช้ส่ง sms ได้ (ทำให้ไม่สามารถนำหมายเลขอีมี่เชื่อมโยงมาถึงเครื่องโทรศัพท์ของอากงได้)

เนื้อหาในรายงานเป็นการถามตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลขอีมีทั้งสิ้น6ข้อ (ดูรายละเอียดด้านล่าง) โดยบทสรุปของเอกสารได้ระบุว่า

"บันทึก การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอส เอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของ ผู้อื่น

- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์ "

โดย พูนสุขใด้เขียนข้อความไว้ในบันทึกว่า " เดิมเอกสารชิ้นนี้ได้เตรียมไว้เพื่อขอสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ และจะขอให้พยานผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมันมาเบิกความ เนื่องจากในศาลชั้นต้นคณะทำงานไม่สามารถหาพยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความได้ แต่ตามที่ทราบกันสุดท้ายได้ตัดสินใจถอนอุทธรณ์เนื่องจากอากงไม่ได้รับสิทธิ ในการปล่อยตัวชั่วคราว หากต่อสู้คดีต่อไปอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน "


********************************************************


SR Security Research Labs GmbH Veteranenstr 25 10119 Berlin


มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

111 ซอยสิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย

แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

ประเทศไทย



Dr. Karsten Nohl

หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ (Chief Scientist)

nohl@srlabs.de

+49-3089392996

เบอร์ลิน 30 มกราคม 2555



ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการะบุตัวบุคคลที่ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส


เรียน ท่านที่เกี่ยวข้อง:


Security Research Labs เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดสำหรับการจัดการความเสี่ยง (think tank) มีที่ตั้ง ณ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทั้งแก่ภาครัฐ และเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในภาคพื้นยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีโทรศัพท์พกพา เคลื่อนที่


องค์กรได้รับคำขอให้แสดงความคิด เห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในการรับรองความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อ ความสั้น (Short Message Service - SMS) จากโทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่


การ จัดเตรียมรายงานที่แนบมากับเอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยใช้ความรู้ความชำนาญอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมาตรฐานเครือข่ายจี เอสเอ็ม และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยทั่วไป รวมทั้งการวัดค่าและประมวลผลจากเครือข่ายจีเอสเอ็มใน กรุงเทพฯ เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงาน ภายใต้ความรู้ที่ดีที่สุดขององค์กร รายงานฉบับนี้สะท้อนถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของจีเอสเอ็มใน ปัจจุบัน



ขอแสดงความนับถือ

Dr. Karsten Nohl


ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อความสั้น


รายงาน ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์คำถามที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการใช้ข้อมูลที่ บันทึกในเครือข่ายโทรศัพท์ สำหรับการระบุตัวบุคคลที่ใช้โทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่ส่งข้อความสั้น โดยวิเคราะห์จากเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทคใน กรุงเทพฯประเทศไทย


คำถามที่ 1 บริการการส่งข้อความสั้น (SMS) สามารถใช้ระบุเครื่องโทรศัพท์ได้หรือไม่ (IMEI)?


ใน การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส จะมีการแลกเปลี่ยนกลุ่มข้อมูลขนาดเล็ก (small data packet) จำนวนมากกว่าหนึ่งกลุ่มข้อมูล ระหว่างเครื่องโทรศัพท์กับเครือข่ายด้วยสัญญาณแบบไร้สาย กลุ่มข้อมูลเหล่านี้ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูล กำหนดประเภทการส่งข้อมูล และรับ-ส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่ายดีแทคหนึ่งข้อความประกอบด้วย กลุ่มข้อมูลจำนวน 107 กลุ่ม


การระบุเครื่อง โทรศัพท์สามารถทำได้โดยใช้หมายเลข IMEI ซึ่งทำหน้าที่เหมือน serial number ของเครื่องโทรศัพท์ (เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะมี IMEI และ serial number ไม่ซ้ำกัน - ผู้แปล)


ในกลุ่มข้อมูลที่ ใช้ในการส่งข้อความแบบเอสเอ็มเอส จะมีกลุ่มข้อมูลหนึ่งที่มีชื่อว่า Cipher Mode Command ซึ่งใช้สำหรับสอบถามหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ โดยหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์จะถูกส่งมาในกลุ่มข้อมูลถัดไป หลังจากส่งกลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย เครือข่ายของดีแทคไม่ได้ใช้กลุ่มข้อมูลดังกล่าวในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบ เอสเอ็มเอส ตามที่แสดงในรูปที่ 1


นอกจากกลุ่มข้อมูลดังกล่าวแล้ว ไม่มีกลุ่มข้อมูลอื่นใดในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสที่มีข้อมูลหมายเลข IMEI รวมอยู่


คำ ตอบที่ 1 ในเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทค ไม่สามารถใช้การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในการระบุหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ได้


[รูปที่ 1 การติดตามข้อมูลบางส่วนจากรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสภายใต้เครือข่าย จีเอสเอ็มของดีแทค กทม. ประเทศไทย กลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command ไม่ได้กำหนดให้เครื่องโทรศัพท์ส่งหมายเลข IMEI]


คำถามที่ 2 เครือข่ายดีแทคบันทึกหมายเลข IMEI ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


ใน เครือข่ายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการรับส่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามในเครือข่ายดีแทค มีเพียงการรับส่งข้อมูลรูปแบบเดียวที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมกับการรับส่งข้อมูลด้วย นั่นคือ การรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ (Location Update) การรับส่งข้อมูลลักษณะนี้จะกระทำเมื่อมีการเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น ผู้ใช้เดินทางไปยังเขตอื่น ๆ ของเมือง หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่บ่อยครั้ง


คำ ตอบที่ 2 มีความเป็นไปได้สูงสุด ที่การบันทึกข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในเครือข่ายดีแทค เกิดจากการทำสำเนาหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น


คำถามที่ 3 เครือข่ายดีแทคกำหนดตำบลที่การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


คำ ตอบที่ 3 มีความเป็นไปได้ที่ตำบลที่ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่าย ดีแทค จะถูกทำสำเนามาจากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 4 การส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสโดยปราศจากเครื่องโทรศัพท์สามารถทำได้หรือไม่?


คำ ตอบที่ 4 ข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสสามารถส่งผ่านระบบอินเทอร์เนตได้ โดยผู้ส่งสามารถปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์ใด ๆ เพื่อใช้ในการส่งได้ ในกรณีที่ดีแทคมีการบันทึกการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในลักษณะดังกล่าว มีความเป็นไปได้ที่หมายเลข IMEI ที่ถูกบันทึกในระบบ จะเป็นหมายเลข IMEI ของเครื่องที่มีการเปลี่ยนตำบลที่ล่าสุด และใช้หมายเลขโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกปลอมแปลง เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 5 บุคคลทั่วไปสามารถจับตาดูหมายเลข IMEI ที่ใช้ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจีเอสเอ็มได้หรือไม่?


ใน การรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมด้วย จะมีการเข้ารหัสข้อมูล โดยใช้มาตรฐานกลางของจีเอสเอ็ม ทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ล้าสมัย การถอดรหัสข้อมูลสามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที


การ ถอดรหัสข้อมูลตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ สามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่แจกจ่ายผ่านระบบอินเทอร์เนตตั้งแต่ปี 2551 ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน


หลัง จากมีการแจกจ่ายซอฟท์แวร์ดังกล่าว มีการติดตั้งและใช้ง่ายตามที่ต่าง ๆ หลายร้อยแห่งทั่วโลก นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งอาทิตย์ในการสร้างระบบตัดการทำ งาน และติดตั้งระบบถอดรหัส


คำตอบที่ 5 บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี สามารถดักจับข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับส่งข้อมูลในระบบจีเอสเอ็มได้


คำถามที่ 6 สามารถส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสจากเครื่องโทรศัพท์ที่มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI ได้หรือไม่?


หมายเลข IMEI ในโทรศัพท์ส่วนมากสามารถปลอมแปลงได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่หาได้โดยทั่วไป


คำตอบที่ 6 บุคคลทั่วไปสามารถเปลี่ยนหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ของตนไปใช้หมายเลข IMEI โทรศัพท์ของเครื่องผู้อื่นได้โดยง่าย


สรุป


บันทึก การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอส เอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของ ผู้อื่น


- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์


*********************************************


ต้นฉบับภาษาอังกฤษ


ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อัพเดต "20คดีเสื้อแดง" ประชิด "ความจริง98 ศพ"



(ที่มา:มติชนรายวัน 24 สิงหาคม 2555)

ภาย หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงระหว่างสลายการชุมนุมเมื่อ ปี 2553 จำนวน 22 สำนวน มายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)

ก็เป็นหน้าที่ของ พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น. ดูแลงานกฎหมายและสอบสวน เป็นหัวหน้า ร่วมกับพนักงานอัยการ ทำการสอบสวนสำนวนชันสูตรพลิกศพดังกล่าว จนเสร็จสิ้นแล้ว 19 สำนวน

อยู่ระหว่างการสอบสวน 3 สำนวน ได้แก่ สำนวนชันสูตรพลิกศพ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก กับอีก 2 สำนวน คือ นายสยาม วัฒนนุกูล และ นายจรูญ ฉายแม้น พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1

ตำรวจยังได้ทำสำนวนของ "ลุงคิม" หรือ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง และส่งให้อัยการพิจารณา

สำหรับลุงคิมหรือนายฐานุทัศน์ เสียชีวิตในภายหลัง เหตุเกิดหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ กทม.

ซึ่งพนักงานสอบสวนพบว่า การเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจึงทำสำนวนเอง ขณะนี้ส่งให้อัยการพิจารณาแล้ว

สรุปล่าสุด มีสำนวนเสร็จแล้วจำนวน 19 สำนวน ตามที่ดีเอสไอส่งมาให้ และอีก 1 สำนวน เป็นคดีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการเอง

สำหรับรายละเอียดคดีชันสูตรพลิกศพแต่ละคดี มีดังนี้

1.นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ช่างภาพรอย เตอร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถนนดินสอ กทม. พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 4 กันยายน

2.นายชาติชาย ชาเหลา เสียชีวิตวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เวลา 22.50 น. หน้า อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 พื้นที่สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้องวันที่ 5 ตุลาคม

3.นายบุญมี เริ่มสุข เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.00 น. หน้าร้านอาหารระเบียงทอง บ่อนไก่ พื้นที่ สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 สิงหาคม

4.นายรพ สุขสถิต ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

5.นายมงคล เข็มทอง ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

6.นายสุวัน ศรีรักษา ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

7.นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

8.น.ส.กมนเกด อัคฮาด ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

9.นายอัครเดช ขันแก้ว ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

10.นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 12.20-13.06 น. หน้า ธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ พื้นที่ สน.บางรัก ส่งสำนวนให้อัยการแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณา

11.นายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 14.00 น. หน้าปั๊มเชลล์ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานวันที่ 24 กันยายน

12.พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิตวันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 15.00 น. หน้าอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต พื้นที่ สน.พญาไทศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไป วันที่ 14 กุุมภาพันธ์ 2556

13.ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.10-01.00 น. ซอยโรงหนังโอเอ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 ตุลาคม

14.นายพัน คำกอง เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.05-01.00 น. หน้าคอนโดไอดีโอ ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม และนัดฟังคำสั่งวันที่ 17 กันยายน

15.นายมานะ อาจราญ เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 23.30 น. ภายในสวนสัตว์ดุสิต เขตดุสิต พื้นที่ สน.ดุสิต สำนวนส่งให้อัยการแล้ว ขณะนี้รอศาลนัดไต่สวน

16.นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน เวลา 09.00 น.

17.นายประจวบ ประจวบสุข เสียชีวิตวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน

18.นายวสันต์ ภู่ทอง เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

19.นายทศชัย เมฆงามฟ้า เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

20.นายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพอิตาลี เสียชีวิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.45 น. ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนวันที่ 23 กันยายน เวลา 09.00 น.

การดำเนินการในคดีสลายม็อบ จะเป็น "มาตรฐาน" ต่อไปในอนาคต

ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก ภายใต้กระบวน การยุติธรรมปกติ ทุกฝ่ายมีสิทธิต่อสู้อย่าง เต็มที่ และเท่าเทียมกัน

"มาตรฐาน" ที่จะเกิดขึ้น จะป้องกันสังคมจากความรุนแรงในอนาคต
 

ที่มา matichon

"สุชาติ นาคบางไทร - สุริยันต์ กกเปื่อย" ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำแล้ว



เวลา 09.40 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  ปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2555 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม จำนวน 300 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ต้องขังตามมาตรา 112 จำนวน 2 รายคือ นายวราวุธ ฐานังกรณ์ หรือนายสุชาติ นาคบางไทร ต้องโทษจำคุก 6 ปี รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี และนายสุริยันต์ กกเปือย ต้องโทษจำคุก 6 ปี 1 เดือน รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี 15 วัน  โดยทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัวเรียบร้อยแล้ว

วินาทีรอคอย นายสุชาติ นาคบางไทร (วราวุธ ฐานังกรณ์) ได้รับอิสรภาพแล้ว 

นายสุริยันต์ กกเปื่อย หรือพี่หมี ช่างซ่อมรองเท้า (เสื้อสีแดงตรงกลาง)

ด้านหลังเสื้อ "สุริยันต์ กกเปลือย" มีลายเซ็นต์ "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์" และ "หนุ่มแดงนนท์"

 
บัญชีรายชื่อนักโทษที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ที่มา go6tv

ฟรีอีบุ๊ค "เชิงอรรถความตายฯ" รวมบทกวีรำลึก "อากง"


>>ดาวน์โหลดได้ที่นี่<<


เชิงอรรถ ณ เชิงตะกอน

อาจไม่ผิดจากความจริงนักหากจะบอกว่า กระบวนการและขบวนการอันอยุติธรรมได้จองจำและทำให้ช่วงเวลา 478 วัน กลายเป็นช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตของ “อากง” อำพล ตั้งนพกุล

ช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ หากเพียงแต่เขาจะได้ใช้ร่วมกับบุคคลที่เขาผูกพันกลับได้กลายเป็นช่วงเวลาที่ เลวร้ายและโดดเดี่ยวที่สุดสำหรับชายชราวัยหกสิบเอ็ด

สิ่งที่เป็นคำถามท้าทายต่อสิ่งมีชีวิตที่เรียกตนว่ามนุษย์ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะยุติโศกนาฏกรรมอันวนเวียนไม่รู้จบนี้ได้

23 บทกวีกับอีก 1บทเพลง ในบันทึกฉบับนี้เกิดจากหลากชีวิตทั้งคนใกล้ชิดและมิตรที่ไม่เคยได้พบหน้า ได้จารความรู้สึก ต่อข่าวร้ายของ “อากง” ที่ทยอยมาอย่างต่อเนื่อง มันเป็นความรู้สึกที่รุนแรงกระชั้น จนทำให้หลายท่านยังไม่ได้ตั้งชื่อ และอุกอั่งจนอีกหลายท่านไม่สามารถตั้งชื่อ

มิตรสหายหลายท่านได้กรุณารวบรวมให้ประชาไทเผยแพร่ ด้วยความหวังว่า การยืดระยะความรู้สึกและความทรงจำในช่วงนี้ออกไปสักระยะ อาจเป็นการให้เวลาแก่ผู้รักในเสรีภาพในการที่จะยุติวงวัฏที่ลดคุณค่าของเรา ลงเหลือเพียงคำว่า ”สัตว์” เสียที

23 สิงหาคม 2555
ประชาไท

หมายเหตุ:
ขอบคุณเพื่อนมิตรที่กรุณาให้เผยแพร่ผลงานของท่าน
ขอบคุณ วฒน และ รางชางฯ "เพื่อน" ที่ช่วยรวบรวมบทบันทึก

เกี่ยวกับอากง

อำพล ตั้งนพกุล วัย 61 ปี (ในวันที่ถูกจับ) อดีตพนักงานขับรถ ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีอำพลอาศัยอยู่กับ รสมาลิน ตั้งนพกุล (ภรรยา)ในห้องเช่าที่มีค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง สมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ เพียงเล็กน้อย โดยแต่ละวันอำพลและภรรยามีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลานจำนวน 3-4 คน อำพล เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงบ้างเป็นครั้งคราว
อำพล ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือส่งข้อความหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ไปยังโทรศัพท์มือถือ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

3 สิงหาคม 2553 อำพล ถูกจับกุมตัวเมื่อ เขาถูกคุมตัวในเรือนจำเป็นเวลา 63 วัน ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

18 มกราคม 2554 อัยการมีคำสั่งฟ้อง อำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ครั้งนี้ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

23 พฤศจิกายน 2554 ศาลชั้นต้นพิพากษา อำพล ฐานส่ง SMS หมิ่นฯ 4 ครั้ง ผิดตาม ปอ.มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) ลงโทษกรรมละ 5 ปีรวมจำคุก 20 ปี ชี้หลักฐานอิเล็กทรอนิคส์น่าเชื่อว่าส่งจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยใช้ และจากย่านที่พักของจำเลย

22 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายความจำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์เงินสด และตำแหน่งนักวิชาการ 7 คน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลย

8 พฤษภาคม 2555 เวลาประมาณ 9.10 น. อำพล ได้เสียชีวิต ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลังจากถูกส่งเข้ารักษาเนื่องจากมีอาการปวดท้องเมื่อช่วงก่อนเที่ยงของวัน ที่ 4 พฤษภาคม

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดีเอสไอเบิกความคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่มีการตรวจลายนิ้วมือแฝงของกลาง

21 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานในคดีเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4  เป็นโจทก์ฟ้อง นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปีอาชีพรับจ้าง และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง ในความผิดะร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจน เป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ บ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงที่มีการสลายการชุมนุของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในวันนี้(21 ส.ค.) มีการสืบพยานโจทก์คือ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว

ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เบิกความว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนมายัง DSI เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.53 ซึ่งขณะนั้น สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็น สน.ในท้องที่เกิดเหตุได้ฝากขังจำเลยไว้แล้ว ในชั้นพนักงานสอบสวนจำเลยทั้ง 2 ได้ให้การปฏิเสธ และจากนั้นดีเอสไอได้มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งจากห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างเซนและร้านค้าที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ประมาณ 300 คน ส่วนผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุคือนายกิติพงษ์ สมสุข ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ พบสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องมาจากการขาดอากาศหายใจ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุยังพบถังแก๊สและขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมัน เชื้อเพลิง และทางเจ้าหน้าที่ของ เซ็นทรัลเวิลด์  ได้มอบซีดี 3 แผ่นที่เป็นภาพถ่ายมาให้เป็นหลักฐานด้วย

อัยการได้สอบถามว่าทำไมดีเอสไอถึงไม่ทำคดีนี้แต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ตอบว่า โดยหลักการรับคดี เมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนในท้องที่จะรับเรื่องและหากพิจารณาแล้วว่าคดีดังกล่าวเป็นคดี พิเศษก็จะส่งสำนวนมาให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนคดีนี้เป็นคดีพิเศษตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในการประชุมที่ 3/2553 ลงวันที่ 16 เม.ย. 53 และตามคำสั่งนายกฯ ขณะนั้นได้ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ร่วมเป็นทีมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

จากการสอบสวนจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้มีการจับตัวมาดำเนินคดี โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้ตัวยืนยันว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ แต่ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน จึงทำให้มีความเห็นส่งฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ถูกจับกุมในคดีปล้นทรัพย์ ในวันและที่เกิดเหตุเดียวกัน โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้รูปถ่าย พนักงานสอบสนของ สน.ปทุมวัน จึงแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธ แต่ก็ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาเช่นกัน ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นส่งฟ้อง

พนักงานดีเอสไอเบิกความต่อว่า รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ให้การว่าจำเลยทั้ง 2 ได้บุกเข้ามาในห้างร่วมกับพวกในกลุ่มหลายๆ คนทุบกระจกและร่วมกันวางเพลิง นอกจากจำเลยทั้ง 2 แล้วยังมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนและได้ออกหมายจับ 9 คน รวมจำเลยทั้ง 2 คนนี้ด้วย แต่สามารถจับดำเนินคดีได้ 4 คน ซึ่งเป็นเยาวชน 2 คน และที่เหลืออีก 5 คน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจับกุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการได้นำภาพถ่ายกลุ่มบุคคลที่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นจำเลยทั้ง 2 รวมถึงอีก 5 คนที่ออกหมายจับไปแล้วแต่ยังจับไม่ได้ และยังมีบุคคลอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับคนอื่นๆในรูป ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ชี้แจงว่า เนื่องจากคนอื่นๆในภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัดเจนว่าเป็นใคร ดังนั้นแม้ส่งไปขอหมายจับต่อศาลก็มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะไม่อนุมัติ จึงไม่ได้มีการขอหมายจับ

นายบพิตร ชำนาญเอื้อ ทนายจำเลยที่ 1 ได้ซักค้านพยานโจทย์ต่อถึงเรื่องหลักเกณฑ์การรับคดีของดีเอสไอ ซึ่งพยานอ้างว่าคดีนี้รับเป็นคดีพิเศษเป็นผลสืบเนื่องจากมติการประชุมของคณะ กรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 แต่มติดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 16 เม.ย.53 ให้รับคดีอันเกิดจากการชุมนุมโดยมิชอบในช่วงปลายปี 2552 ขณะที่คดีนี้เกิดหลังจากมติแล้วคือ วันที่ 19 พ.ค.53 ทำไมจึงสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าถ้าดูในเนื้อหาของมติดังกล่าว ระบุให้รับเป็นคดีพิเศษในส่วนของคดีที่เป็นความต่อเนื่องจากการชุมนุมปลายปี 2552 เป็นต้นไป คำว่า “เป็นต้นไป” บ่งชี้ว่าให้มีผลหลังวัน 16 เม.ย.53 ได้


มติจากการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 ที่มา เว็บไซต์ดีเอสไอ


ทนายจำเลยที่ 1 ถามต่อว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ นปช.มีหลายคดีดีเอสไอ มีหลักการพิจารณาเป็นรายคดีใช่หรือไม่ พยานโจทย์ชี้แจงว่าเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติแล้ว โดยอ้างว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพัน ดังนั้นอธิบดีดีเอสไอมีอำนาจวินิจฉัยได้เลยในการส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ  นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถูกจับกุมในวันที่ 19 พ.ค.53 แต่มาถูกจับกุมภายหลังที่สนามหลวง ส่วนการชี้ตัวจำเลยในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ทางดีเอสไอไม่ได้เข้าร่วม และไม่ได้มีการนำตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ที่ชี้ตัวจำเลยในชั้นสอบสวนมาชี้ตัวจริงๆ ในชั้นการสอบสวนของ DSI

ทนายจำเลยที่ 1 ได้ถามว่าภาพถ่ายที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ส่งมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ได้สอบถามว่ามีรูปจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีนี้หรือไม่ พยานตอบว่าไม่ได้สอบถาม และไม่สามารถระบุได้ว่าขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันที่เป็นวัตถุพยาน นั้นเป็นของใคร


ภาพซ้าย : ภาพ1 ที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดัง กล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ

ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน


ทนายได้นำภาพที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งเห็นใบหน้าชายชุดดำขณะเกิดเหตุ เทียบกับภาพจำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพประกอบด้านบน) มาเปรียบเทียบถามว่าเป็นคนๆ เดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่า ภาพไม่ชัด จึงไม่สามารถยืนยันด้วยตาว่าใช่หรือไม่ใช่



ภาพ2 ที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐาน


ทนายจำเลยที่ 1 ได้ให้พยานดูภาพจังหวะที่มีชายถือวัตถุสีเขียว(ถังดับเพลิง)ซึ่งเป็นภาพต่อ เนื่องกับภาพก่อนหน้าว่า เห็นรอยสักหรือที่แขนขวาของชายคนดังกล่าวหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าไม่เห็น รวมถึงไม่มีรอยสักที่หลังมือบุคคลในรูปด้วย

จากนั้นทนายจำเลยที่ 1 จึงได้นำตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกควบคุมตัวและมาร่วมฟังการพิจารณาคดีนี้มาแสดงแขนขวาให้พยานได้ พิจารณาดูรอยสัก ซึ่งพยานได้เบิกความต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 มีรอยสักที่ไหล่  ท้องแขนด้านหน้า และหลังมือ ส่วนด้านหลังแขนไม่มี

ผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยว่า รอยสักดังกล่าวสักนานหรือยัง จำเลยที่1 ตอบว่า สักตั้งแต่เด็กๆ

ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความด้วยว่า ถังแก๊สหุงต้ม 7 ใบที่เป็นวัตถุพยานของกลางรวมถึงวัตถุพยานอื่นๆ ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นของจำเลยทั้ง 2 และไม่มีการตรวจลายมือแฝงของจำเลยกับวัตถุพยานของกลางดังกล่าว ขณะนี้เก็บไว้ที่ สน.ปทุมวัน

อย่างไรก็ตาม การสืบพยานในส่วนของทนายจำเลยที่ 1 เสร็จในเวลา 15.45 น. แล้ว ในส่วนของทนายจำเลยที่ 2 ได้มีการแจ้งต่อศาลว่าจะใช้เวลานานประกอบกับสุขภาพไม่ดี ศาลจึงได้มีการเลื่อนการพิจารณาไปนัดหน้าต่อในวันที่ 5 พ.ย.55 เวลา 9.30 น.

สำหรับอีก 2 ผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนในคดีที่เกี่ยวข้องกัน ได้มีการพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาหลายนัดแล้ว ในคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 1682/2553 ระหว่างพนักงานอัยการ กับนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 1 นายภาสกร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 2 ทั้งสองมีอายุ 16 ปีในวันเกิดเหตุ โดยนัดสืบพยานในครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.55

ทั้งนี้นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ตั้งแต่กลางปี 2553

ที่มา prachatai

เบิกความผู้เกี่ยวข้องคลิปสัมภาษณ์ลุงบุญมี เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53 ก่อนตาย


 22 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำนายพิชา วิจิตรศิลป์ อายุ 64 ปี อาชีพทนายความและประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย เข้าเบิกความในฐานะผู้นำวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)

นายพิชา เบิกความต่อศาลว่าหลังสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค.53 แล้วประมาณ 1 เดือนมีผู้นำแผ่นวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ดังกล่าวมาวางไว้หน้าสำนักงานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ตนได้เปิดดูพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ผู้ได้รับบาดเจ็บคนหนึ่งที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และทราบภายหลังว่าชายคนดังกล่าวในวีดีโอคลิปเสียชีวิต และทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องการพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 จึงได้มอบวีดีโอคลิปดังกล่าวให้

ทั้งนี้ ตามหมายเรียกพยานแล้วจะมีการเบิกพยานอีก 2 ปาก คือ ผู้สัมภาษณ์ในคลิปคือ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี และผู้ถ่ายวีดีโอคลิป แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการไต่สวนนายวสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง อายุ 28 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาพยาบาลฯ ผู้ที่ร่วมสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิปดังกล่าวไปก่อนหน้าแล้ว ผู้พิพากษา อัยการและทนายญาติผู้เสียชีวิต จึงตกลงไม่เบิกตัวทั้ง 2 คนมาไต่สวนเพิ่ม

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าในนัดหน้าวันพุธ ที่ 29 ส.ค.53 จะมี 4 ปากเบิกความ ซึ่งเป็นทหารที่เกี่ยวข้อง ส่วนในวันพรุ่งนี้(23 ส.ค.)การไต่สวนการตายกรณี 6 ศพวัดปทุมฯ จะมีการไต่สวนที่ศาลอาญากรุงเทพใต้เช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุมฯ และถ่ายวีดีโอคลิปมาเบิกความจำนวน 3 ปาก


วีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คลิปจาก กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี

โดยในวีดีโอคลิป น.ส.กาญจน์ชนิษฐา และนายวสันต์ ได้มีสอบถามถึงอาการบาดเจ็บและการรักษาพยาบาลกับนายบุญมี และนายบุญมียังได้กล่าวถึงกระสุนที่ยังฝังอยู่บริเวณสะโพกของตนและเล่าเหตุการณ์ที่ตนถูกยิงด้วยว่ากระสุนยิงมาจากฝั่งทหารและขณะนั้นตนอยู่ไกลฝั่งทหาร โดนยิงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ซึ่งปรกติเวลานั้นบริเวณดังกล่าวจะเป็นตลาดนัดจึงได้ออกมาหาของกินตามปรกติ

นอกจากนี้ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา ยังได้มีการโพสต์ข้อความกำกับไว้ใต้วีดีโอคลิปด้วยว่า ลุงบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ยืนยันว่าถูกทหารยิง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยโดนยิงเข้าบริเวณช่องท้อง ลุงเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ว่า "ผมคิดว่าที่ทหารเขายิงชาวบ้าน เพราะถูกนักรบโบราณยิงหนังสติ๊กใส่ ผมมองเห็นว่าทหารหลายนายหลบกลัวกระสุนหนังสติ๊ก ทหารจึงใช้ทั้งกระสุนจริง กระสุนยาง แก๊สน้ำตายิงใส่ประชาชน สังเกตว่ากระสุนยางจะยิงทีละนัด หากเป็นเอ็ม 16 จะยิงเป็นชุด"

ที่มา prachatai

อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี



เมื่อวันที่ 20 ส.ค.55 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พบผู้แทนตำรวจเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถิติคดี มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาและสั่งคดี รวมถึงความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ หนึ่งในอนุกรรมการ เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลด้านการดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 นั้น นับแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา มีคดีที่เกิดขึ้น และตำรวจรับคำร้องทุกข์ เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุด ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง โดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบ กลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 URLs ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ จริง ๆ เพียงไม่ถึง 20 คดี นอกจากนั้นจะเป็นการ เชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทั้งนั้น

ศิริพล ระบุด้วยว่า สำหรับการพิจารณาคดีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายอาญา และแนวคำพิพากษาฎีกา เป็นหลัก

“ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าประเทศไทย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรามักจะไม่กล้าใช้หลักกฎหมายอาญาเคร่งครัด ตามหลักการตีความกฎหมายอาญา ตีความเคร่งครัด และห้ามใช้กฎหมายประเพณีมาขยายความ ตลอดจนการตีความกฎหมายอาญาที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หลักการที่ว่า บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ทุกตำแหน่งต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบได้เสมอ”

“แนวคำพิพากษาฎีกา ยังมีปัญหาอีกมาก เพราะเขียนว่า สถาบันฯ ซึ่งเป็น Public Figure ไม่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย ซึ่งหากนำหลักการของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย มาพิจารณา จะเห็นว่า เป็นคำพิพากษาที่ขัดต่ออุดมการณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ดังนั้น ตามแนวคำพิพากษาฎีกา การวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ตั้งคำถามต่อสถาบันฯ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม แม้จะเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือ เป็นความจริง ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ ให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้”ศิริพลระบุ

เขาเปิดเผยด้วยว่าคณะอนุกรรมการฯ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถามประเด็นสำคัญ คือ 1) หากเปลี่ยนวิธีการร้องทุกข์ให้มีคณะทำงานกลั่นกรอง หรือมีองค์กรพิจารณากลั่นกรองการรับคำร้องทุกข์ ตั้งแต่ขั้นต้น จะเกิดผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือไม่ 2) การแก้ไขปัญหาการพิจารณาคดี ทำอย่างไร คณะหารือให้คำตอบว่า จะมีผลดีต่อสถาบันหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่า จะให้บุคคลใด หรือองค์กรใด ร้องทุกข์ บุคคลดังกล่าว มีอุดมการณ์ และความเข้าใจหลักกฎหมายอาญา และหลักการพื้นฐานของหลักเสรีภาพมากน้อยเพียงใด สำหรับหลักการที่คณะอนุกรรมการเสนอฯ มาก็สดคล้องกับหลักพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2548 ที่ไม่ต้องการให้มีคดีเช่นนี้

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่างภาพทีวีเบิกความคดี ‘ลุงบุญมี’ เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53

แสดงหลักฐานภาพถ่ายขณะ ‘ลุงบุญมี’ ถูกยิงโดยทหาร แจงเพื่อนนักข่าวเตือนทหารใช้กระสุนจริง ทนายญาติผู้ตายเผย คดีนี้ไต่สวนทุกพุธถึงต้นปีหน้า

15 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำช่างภาพสถานีโทรทัศน์หลักแห่งหนึ่ง มาเบิกความในฐานะพยานที่ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ช่วงเวลาขณะเกิดเหตุได้

ช่างภาพที่เดินทางมาเป็นพยานได้เบิกความต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุ 14 พ.ค.53 ได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่เกิดเหตุบริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี ถนนพระราม 4 เพื่อเก็บภาพ ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. ได้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั๊มน้ำมันปตท. และพยานได้ถ่ายภาพผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ทราบว่าผู้ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณดังกล่าวคือใคร จนกระทั่งพนักงานสอบสวนในคดีนี้ได้นำภาพถ่ายที่พยานได้ถ่ายไว้ให้ดู และไม่ทราบว่า หลังจากนั้น ผู้ตายไปรักษาพยาบาลใดและเสียชีวิตเมื่อใด

พยานเบิกความต่ออีกว่า ในวันเกิดเหตุต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ นักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพยานได้เตือนให้ระวังตัวด้วยเนื่องจากเจ้า หน้าที่ทหารจะมีการใช้กระสุนจริง ขณะที่ถ่ายภาพยังมีเสียงระเบิดดังขึ้นมาจากฝั่งผู้ชุมนุมด้วย ส่วนพลุที่กลุ่มผู้ชุมนุมยิงมาใส่ฝั่งทหารนั้นไม่เป็นเหตุให้ทหารได้รับบาด เจ็บ ขณะบันทึกภาพมีกลุ่มผู้ชุมนุมถือไม้กระบองและขว้างก้อนหิน

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิตสอบถามพยานถึงสาเหตุที่ทหารปฏิบัติการในบริเวณ นั้นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตว่าเป็นไปเพื่ออะไร พยานตอบว่าเพื่อที่จะสลายการชุมนุม ตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) และขณะที่ถ่ายภาพในวันเกิดเหตุมีรถพยาบาลมารับผู้บาดเจ็บตลอดทั้งวันอีกด้วย


ภาพนายบุญมี เริ่มสุข ขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ 
 
หลังจากไต่สวนเสร็จ นายณัฐพล เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นายบุญมี เป็นผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม วันที่ 14 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี แถวบ่อนไก่ ซึ่งในวันนี้ ช่างภาพคนดังกล่าวที่เป็นพยาน ซึ่งปฏิบัติงานในบริเวณที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 11 - 19 พ.ค.53 ได้นำหลักฐานมาเสนอต่อศาลเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น โดยได้นำภาพถ่ายของตนเองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นที่แสดงถึงการปฏิบัติการ ของทหารที่ใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และแผ่น VCD ที่ถ่ายขณะเกิดเหตุว่ามีทหารเริ่มปฏิบัติการเพื่อสลายการชุมนุม รวมถึงภาพถ่ายเห็นผู้ชุมนุมถูกฝ่ายทหารยิงบริเวณบ่อนไก่ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นลุงบุญมี (ผู้เสียชีวิตในคดีนี้) มาเสนอต่อศาลด้วย
 
นายณัฐพล กล่าวว่า ลุงบุญมีไม่ได้เป็นผู้ชุมนุมแต่เป็นประชาชนที่อยู่ในที่เกิดเหตุมานั่งรอรับหลานและถูกยิง
 
ทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 15 ส.ค. 55) เดิมอัยการจะเรียกทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นมาไต่สวน อย่างไรก็ตาม ทางทหารได้ขอเลื่อนจึงได้นำพยานปากนี้มาแทน ซึ่งคาดว่าทหารจะเข้าเบิกความในวันพุธหน้า โดยคดีนี้จะมีการไต่สวนทุกวันพุธ ไปจนจบประมาณต้นปีหน้า
 
ที่มา prachatai