อัยการอุทธรณ์ขอไม่ให้รอลงอาญา ศาลสั่งสืบพยานเพิ่ม นิกร ศรีคำมา จำเลยเสื้อแดงเชียงใหม่รับสารภาพซ้ำ ศาลกำหนดโทษใหม่จาก 1 ปี เหลือ 3 เดือน ถูกขังมาแล้ว 4 เดือนครึ่งจึงปล่อยทันที เช้าวันนี้ (13 มีนาคม 2555) ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 1484/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 26/2555 ของศาลอุทธรณ์ภาค 5
ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องนายนิกร ศรีคำมา ในฐานความผิดร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 และ 358 กรณีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเชียงใหม่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายหลายคนใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในอาคารและวางเพลิง ทำให้ป้อมยามบริเวณทางเข้าสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่เสียหาย
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ให้นายนิกรมีความผิดต้องรับโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 6,000 บาท แต่จำเลยรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ศาลชั้นต้นจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี ปรับ 3,000 บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี รวมทั้งให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ 20 ชั่วโมง ต่อมาพนักงานอัยการได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ
โดยอ้างเหตุว่า ในรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จำเลยอ้างว่ารับสารภาพเนื่องจากทนายความแนะนำ ประกอบกับข้อเท็จจริงตามรายงานนี้ยังไม่แน่ชัดว่า จำเลยทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานเพิ่มเติม ในชั้นนี้จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมชุมนุมทางการเมืองตามวันเวลาสถานที่ที่เกิดเหตุจริง แต่เบิกความว่ามิได้เป็นผู้วางเพลิง ทั้งที่ปรากฏภาพถ่ายของจำเลยและพวกขว้างก้อนหินและจุดไฟเผาป้อมยามประกอบกับคำสารภาพของจำเลย รับฟังได้ว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามโจทก์ฟ้องจริง เป็นการกระทำเกินกว่าขอบเขตแห่งเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จำเลยมิได้สำนึกในความผิดของตน ไม่สมควรรอการลงโทษ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
แต่เนื่องจากความเสียหายในคดีมีเพียง 6,400 บาท และมิได้เกิดขึ้นจากจำเลยเพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงกำหนดโทษเสียใหม่ โดยพิพากษาแก้เป็นให้จำคุก 6 เดือน แต่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษจำคุก และไม่คุมความประพฤติ แต่เนื่องจากนายนิกรถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 จนกระทั่งได้รับปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักประกันของกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 รวมระยะเวลาคุมขัง 4 เดือน 14 วัน เกินว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
นายนิกรจึงได้รับการปล่อยตัวทันที อนึ่ง ทนายความจำเลยคดีนี้ในศาลชั้นต้นเป็นทนายขอแรงที่ศาลแต่งตั้ง แต่นายนิกรได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มยุติธรรมล้านนาซึ่งมอบหมายให้ นายชูชาติ สามสาย ช่วยว่าความในชั้นอุทธรณ์ นายนิกรเล่าบรรยากาศในการฟังคำพิพากษาในวันนี้ว่า รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา เนื่องจากผู้พิพากษาอ่านด้วยความรวดเร็ว และหลายประโยคทำให้ตนกลัวว่าจะต้องรับโทษหนักกว่าเดิม เช่น “จำเลยมีลักษณะเป็นนักเลงอันธพาลไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย พฤติการณ์คดีร้ายแรง” หรือ “จำเลยมิได้สำนึกผิด” เป็นต้น
แต่ท้ายสุดก็โล่งใจที่ศาลลดโทษให้ ก่อนหน้านี้ตนได้เตรียมจดหมายสั่งเสียครอบครัวไว้แล้วหากต้องกลับไปรับโทษอีก ขอขอบคุณทุกๆ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือทั้งทางคดีและชีวิตครอบครัว จากนี้คงปรึกษากลุ่มยุติธรรมล้านนาว่าคดีของตนเข้าหลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยาหรือไม่ ตลอดเวลาที่ต้องติดคุกและขึ้นโรงขึ้นศาลตนมีทั้งความกลัวและความเครียดมากจนไม่สามารถทำงานปกติอย่างคนอื่นได้ (อ่านเพิ่มเติม “นิกร ศรีคำมา: กี่ฤดูเปลี่ยน คดีเสื้อแดงเชียงใหม่(ยัง)ไม่เปลี่ยน” http://prachatai3.info/journal/2011/05/34525)
ในการฟังคำพิพากษาวันนี้นอกจากสมาชิกครอบครัวนายนิกรแล้ว ยังมีกลุ่มครอบครัวคดีเสื้อแดงเชียงใหม่พร้อมจำเลยคดีเสื้อแดงกรณีเหตุปะทะเมื่อปี 2551 ที่เพิ่งได้ประกันตัวเมื่อเดือนที่ผ่านมา (อ่าน : ศาลฎีกาสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยคดีเสื้อแดงเชียงใหม่ 5 ราย http://prachatai3.info/journal/2012/02/39272) และคนเสื้อแดงจากอำเภอดอยสะเก็ดจำนวนหนึ่งมาร่วมให้กำลังใจด้วยรวมทั้งหมดประมาณ 15 คน
ที่มา prachatai
ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องนายนิกร ศรีคำมา ในฐานความผิดร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 และ 358 กรณีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเชียงใหม่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายหลายคนใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในอาคารและวางเพลิง ทำให้ป้อมยามบริเวณทางเข้าสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่เสียหาย
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ให้นายนิกรมีความผิดต้องรับโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 6,000 บาท แต่จำเลยรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ศาลชั้นต้นจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี ปรับ 3,000 บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี รวมทั้งให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ 20 ชั่วโมง ต่อมาพนักงานอัยการได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ
โดยอ้างเหตุว่า ในรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จำเลยอ้างว่ารับสารภาพเนื่องจากทนายความแนะนำ ประกอบกับข้อเท็จจริงตามรายงานนี้ยังไม่แน่ชัดว่า จำเลยทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานเพิ่มเติม ในชั้นนี้จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมชุมนุมทางการเมืองตามวันเวลาสถานที่ที่เกิดเหตุจริง แต่เบิกความว่ามิได้เป็นผู้วางเพลิง ทั้งที่ปรากฏภาพถ่ายของจำเลยและพวกขว้างก้อนหินและจุดไฟเผาป้อมยามประกอบกับคำสารภาพของจำเลย รับฟังได้ว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามโจทก์ฟ้องจริง เป็นการกระทำเกินกว่าขอบเขตแห่งเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จำเลยมิได้สำนึกในความผิดของตน ไม่สมควรรอการลงโทษ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
แต่เนื่องจากความเสียหายในคดีมีเพียง 6,400 บาท และมิได้เกิดขึ้นจากจำเลยเพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงกำหนดโทษเสียใหม่ โดยพิพากษาแก้เป็นให้จำคุก 6 เดือน แต่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษจำคุก และไม่คุมความประพฤติ แต่เนื่องจากนายนิกรถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 จนกระทั่งได้รับปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักประกันของกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 รวมระยะเวลาคุมขัง 4 เดือน 14 วัน เกินว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
นายนิกรจึงได้รับการปล่อยตัวทันที อนึ่ง ทนายความจำเลยคดีนี้ในศาลชั้นต้นเป็นทนายขอแรงที่ศาลแต่งตั้ง แต่นายนิกรได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มยุติธรรมล้านนาซึ่งมอบหมายให้ นายชูชาติ สามสาย ช่วยว่าความในชั้นอุทธรณ์ นายนิกรเล่าบรรยากาศในการฟังคำพิพากษาในวันนี้ว่า รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา เนื่องจากผู้พิพากษาอ่านด้วยความรวดเร็ว และหลายประโยคทำให้ตนกลัวว่าจะต้องรับโทษหนักกว่าเดิม เช่น “จำเลยมีลักษณะเป็นนักเลงอันธพาลไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย พฤติการณ์คดีร้ายแรง” หรือ “จำเลยมิได้สำนึกผิด” เป็นต้น
แต่ท้ายสุดก็โล่งใจที่ศาลลดโทษให้ ก่อนหน้านี้ตนได้เตรียมจดหมายสั่งเสียครอบครัวไว้แล้วหากต้องกลับไปรับโทษอีก ขอขอบคุณทุกๆ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือทั้งทางคดีและชีวิตครอบครัว จากนี้คงปรึกษากลุ่มยุติธรรมล้านนาว่าคดีของตนเข้าหลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยาหรือไม่ ตลอดเวลาที่ต้องติดคุกและขึ้นโรงขึ้นศาลตนมีทั้งความกลัวและความเครียดมากจนไม่สามารถทำงานปกติอย่างคนอื่นได้ (อ่านเพิ่มเติม “นิกร ศรีคำมา: กี่ฤดูเปลี่ยน คดีเสื้อแดงเชียงใหม่(ยัง)ไม่เปลี่ยน” http://prachatai3.info/journal/2011/05/34525)
ในการฟังคำพิพากษาวันนี้นอกจากสมาชิกครอบครัวนายนิกรแล้ว ยังมีกลุ่มครอบครัวคดีเสื้อแดงเชียงใหม่พร้อมจำเลยคดีเสื้อแดงกรณีเหตุปะทะเมื่อปี 2551 ที่เพิ่งได้ประกันตัวเมื่อเดือนที่ผ่านมา (อ่าน : ศาลฎีกาสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยคดีเสื้อแดงเชียงใหม่ 5 ราย http://prachatai3.info/journal/2012/02/39272) และคนเสื้อแดงจากอำเภอดอยสะเก็ดจำนวนหนึ่งมาร่วมให้กำลังใจด้วยรวมทั้งหมดประมาณ 15 คน
ที่มา prachatai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น