กรณีแฮรี่ นิโคไลดส์ (Harry Nicolaides)
ข้อมูลด้านคดีและความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้อง:
แฮรี่ นิโคไลดส์ ถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551
หนังสือที่เป็นปัญหาในคดีนี้และเป็นเหตุให้ผู้เขียนถูกจับกุมคือนิยายชื่อ "verisimilitude" (2549?) ที่เขาเขียนขึ้นเมื่อปี 2548 ซึ่งตีพิมพ์ออกมาประมาณไม่เกิน 50 เล่ม และขายออกไปเพียง 10 เล่ม อย่างไรก็ตาม ในหนังสือดังกล่าว มีเนื้อความที่กล่าวถึง ‘ข่าวลือ' เรื่อง ‘โรแมนติก' ของเชื้อพระวงศ์โดยไม่ได้ระบุชื่อ อยู่ประมาณ 1 ย่อหน้า
ก่อนตีพิมพ์นิยายเล่มดังกล่าว แฮรี่ได้ส่งเนื้อหาให้สำนักพระราชวังพิจารณาพร้อมกับสอบถามว่าว่าข้อความเช่นนี้หมิ่นเหม่หรือไม่ แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ จนกระทั่งเขาถูกจับกุมที่สนามบิน ในความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
19 มกราคม 2552 แฮรี่ นิโคไลดส์ ถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี ซึ่งลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง (3 ปี) เนื่องรับสารภาพ หลังจากนั้นเขาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ
ในระหว่างนั้น ข่าวคดีของแฮรี่ นิโคไลดส์ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสื่อต่างประเทศ และได้มีผู้เปิดเว็บไซต์รณรงค์ให้ผู้ใช้อินเตอร์เนตร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา
แฮรี่ นิโคไลดส์รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ก่อนถูกเร่งส่งตัวกลับประเทศออสเตรเลียเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
ทนายความของแฮรี่ นิโคไลดส์ ได้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียและรัฐบาลไทยได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหากรณีลูกความของเขา ซึ่งรวมถึงการกระตุ้นขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้นด้วย
รายละเอียด
31 สิงหาคม 2551
แฮรี่ระบุว่า ได้ทราบในภายหลังว่ามีการออกหมายจับตนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 แต่ระหว่างนั้น จนถึงวันที่ถูกจับ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน เขายังคงเดินทางเข้าออกประเทศไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองหลายครั้งโดยไม่มีปัญหาใดๆ จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม 2551 เมื่อเขาจะเดินทางกลับไปยังออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปดักจับกุมเขาที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งกรณีนี้ไม่ปรากฏเป็นข่าวในประเทศไทยแต่อย่างใด
3 กันยายน 2551
ภายหลังการจับกุม 3 วัน ปรากฏรายงานข่าวชิ้นแรกของสื่อออสเตรเลีย โดยสำนักข่าว เอบีซีนิวส์ทางเว็บไซต์ ระบุว่าแฮรี่ นิโคไลดส์ถูกปฏิเสธการประกันตัวและถูกส่งกลับไปยังเรือนจำกลางกรุงเทพฯ พร้อมให้ข้อมูลไว้ท้ายข่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก
16 กันยายน 2551
รายงานข่าวในสื่อของออสเตรเลียระบุว่า ครอบครัวของแฮรี่ นิโคไลดส์ได้ยื่นหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางสถานทูตออสเตรเลีย หลังจากที่คำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งทางการไทยให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการหลบหนีและก่อเหตุซ้ำอีก
พฤศจิกายน 2551
หลังผ่านความ.เงียบของของข่าวสาร เอบีซี ได้นำเสนอคดีของแฮรี่ นิโคไลดส์เป็นสารคดีทางโทรทัศน์ โดยสัมภาษณ์แหล่งข่าวหลายราย พี่ชายและทนายความของแฮรี่ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลียขอให้พวกเขาอยู่เงียบๆ ไม่เปิดเผยข้อมูลของคดี ทว่ากระทรวงการต่างประเทศเองก็ล้มเหลวในการให้ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวแฮรี่ สิ่งที่ครอบครัวของแฮรี่เรียกร้องต่อรัฐบาลออสเตรเลียคือ การให้ข้อมูลว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่สถานทูตจะระบุว่าได้พบกับแฮรี่แล้วไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง และกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยื่นเรื่องต่อรัฐบาลไทยแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง แต่คำถามคือ "ทางการออสเตรเลียได้ยื่นเรื่องอะไรต่อรัฐบาลไทย และเจราจาเรื่องนี้กับใครในรัฐบาลไทย" ฟอร์ด นิโคไลดส์ พี่ชายของเขาตั้งคำถาม
ต่อมา พ่อแม่ของแฮรี่ นิโคไลดส์ ได้รวบรวมรายชื่อชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีกจากชุมชนกรีกในเมลเบิร์นจำนวนหลายพันรายชื่อยื่นต่อสถานทูตไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวลูกชาย ขณะเดียวกันก็ปรากฏการรณรงค์ออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ http://www.bringharryhome.com ซึ่งเรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี่ และดำเนินการต่อคดีของเขาอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีสื่อต่างๆ รวมทั้งบล็อกเกอร์จำนวนมากที่เขียนถึงกรณีของเขา และวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันอ่อนเปลี้ยของรัฐบาลออสเตรเลียต่อเรื่องดังกล่าว
19 มกราคม 2552
ที่ศาลอาญา ห้องพิจารณาคดีเลขที่ 811 ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาคดี หมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ และนายแฮรี่ นิโคไลดส์ โดยจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน
ทั้งนี้ มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความสนใจติดตามคดีนี้เป็นจำนวนมาก อาทิ รอยเตอร์ เอพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งรายงานแบบ real time และนำเสนอวีดีโอ สารคดีสั้นๆ ของคดีดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ www.abc.net.au/news/
เวลา 14.15 น. ศาลพิพากษาว่า จำเลยเขียนหนังสือชื่อ Verisimilitude ซึ่งมีข้อความเป็นการหมิ่นประมาทและหมิ่นพระเกียรติพระมหากษัตริย์และพระบรมราชกุมาร จึงตัดสินจำคุกจำเลยเป็นเวลา 6 ปี จำเลยสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง (3 ปี) ทั้งนี้ จำเลยเป็นผู้แต่งหนังสือซึ่งเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป พฤติการณ์เป็นความผิดร้ายแรงไม่สมควรรอลงอาญา
หลังการพิพากษา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามทนายความของแฮรี่ นิโคไลดส์ ว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ แต่ทนายปฏิเสธที่จะให้คำตอบ โดยระบุว่า เป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาและครอบครัวต้องตัดสินใจ
9 กุมภาพันธ์ 2552
ฌอง ฟรองซัวส์ จูลิอาร์ด เลขานุการขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเตรียมยื่นฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ไทย โดยหวังจะได้กราบบังคมทูลถึงการเซ็นเซอร์และการจับกุมที่เกิดขึ้นในนามของพระองค์ พร้อมกันนี้ได้เปิดเว็บไซต์เพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแฮรี่ นิโคไลดส์ ส่วนหนังสือฎีกาดังกล่าวได้เปิดให้ลงชื่อออนไลน์ ที่ http://www.rsf.org/freeharry/
"แฮรี่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และการพิพากษาโทษก็ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด" "เราเรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี่ และเรียกร้องต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตให้ร่วมกันต่อสู้" ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุ
............................................................
ข้อมูลส่วนตัว:
อายุ 41 ปี อาชีพ นักเขียน ครูสอนภาษาอังกฤษ
แฮรี่ นิโคไลดส์ เป็นชาวเมลเบอร์น ออสเตรเลีย มีเชื้อสายกรีก จบการศึกษาจาก La Trobe University ในปี 2531
แฮรี่เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยทำงานเขียนหนังสือและเป็นบล็อกเกอร์ เขาเคยเขียนคอลัมน์เล่าถึงผู้หญิงทำงานบาร์ และเขียนบทความเกี่ยวกับภาพโป๊เด็ก เขาบรรยายตัวเองว่าเป็น "คนๆ หนึ่งที่ประสบความสำเร็จโดยอาศัยพรสวรรค์ล้วนๆ และความมั่นคงพากเพียร"
นอกจากงานเขียนหนังสือ เขาเคยสอนภาษาอังกฤษระยะสั้นๆ รวมทั้งยังเคยช่วยแปลซับไตเติลสารคดีเฉลิมพระเกียรติของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง จ.เชียงราย
ที่มา LM watch
ข้อมูลด้านคดีและความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้อง:
แฮรี่ นิโคไลดส์ ถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551
หนังสือที่เป็นปัญหาในคดีนี้และเป็นเหตุให้ผู้เขียนถูกจับกุมคือนิยายชื่อ "verisimilitude" (2549?) ที่เขาเขียนขึ้นเมื่อปี 2548 ซึ่งตีพิมพ์ออกมาประมาณไม่เกิน 50 เล่ม และขายออกไปเพียง 10 เล่ม อย่างไรก็ตาม ในหนังสือดังกล่าว มีเนื้อความที่กล่าวถึง ‘ข่าวลือ' เรื่อง ‘โรแมนติก' ของเชื้อพระวงศ์โดยไม่ได้ระบุชื่อ อยู่ประมาณ 1 ย่อหน้า
ก่อนตีพิมพ์นิยายเล่มดังกล่าว แฮรี่ได้ส่งเนื้อหาให้สำนักพระราชวังพิจารณาพร้อมกับสอบถามว่าว่าข้อความเช่นนี้หมิ่นเหม่หรือไม่ แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ จนกระทั่งเขาถูกจับกุมที่สนามบิน ในความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
19 มกราคม 2552 แฮรี่ นิโคไลดส์ ถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี ซึ่งลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง (3 ปี) เนื่องรับสารภาพ หลังจากนั้นเขาได้ขอพระราชทานอภัยโทษ
ในระหว่างนั้น ข่าวคดีของแฮรี่ นิโคไลดส์ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสื่อต่างประเทศ และได้มีผู้เปิดเว็บไซต์รณรงค์ให้ผู้ใช้อินเตอร์เนตร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา
แฮรี่ นิโคไลดส์รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ก่อนถูกเร่งส่งตัวกลับประเทศออสเตรเลียเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
ทนายความของแฮรี่ นิโคไลดส์ ได้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียและรัฐบาลไทยได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหากรณีลูกความของเขา ซึ่งรวมถึงการกระตุ้นขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้นด้วย
รายละเอียด
31 สิงหาคม 2551
แฮรี่ระบุว่า ได้ทราบในภายหลังว่ามีการออกหมายจับตนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 แต่ระหว่างนั้น จนถึงวันที่ถูกจับ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน เขายังคงเดินทางเข้าออกประเทศไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองหลายครั้งโดยไม่มีปัญหาใดๆ จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม 2551 เมื่อเขาจะเดินทางกลับไปยังออสเตรเลีย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปดักจับกุมเขาที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งกรณีนี้ไม่ปรากฏเป็นข่าวในประเทศไทยแต่อย่างใด
3 กันยายน 2551
ภายหลังการจับกุม 3 วัน ปรากฏรายงานข่าวชิ้นแรกของสื่อออสเตรเลีย โดยสำนักข่าว เอบีซีนิวส์ทางเว็บไซต์ ระบุว่าแฮรี่ นิโคไลดส์ถูกปฏิเสธการประกันตัวและถูกส่งกลับไปยังเรือนจำกลางกรุงเทพฯ พร้อมให้ข้อมูลไว้ท้ายข่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก
16 กันยายน 2551
รายงานข่าวในสื่อของออสเตรเลียระบุว่า ครอบครัวของแฮรี่ นิโคไลดส์ได้ยื่นหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางสถานทูตออสเตรเลีย หลังจากที่คำร้องขอประกันตัวถูกปฏิเสธไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งทางการไทยให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการหลบหนีและก่อเหตุซ้ำอีก
พฤศจิกายน 2551
หลังผ่านความ.เงียบของของข่าวสาร เอบีซี ได้นำเสนอคดีของแฮรี่ นิโคไลดส์เป็นสารคดีทางโทรทัศน์ โดยสัมภาษณ์แหล่งข่าวหลายราย พี่ชายและทนายความของแฮรี่ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลียขอให้พวกเขาอยู่เงียบๆ ไม่เปิดเผยข้อมูลของคดี ทว่ากระทรวงการต่างประเทศเองก็ล้มเหลวในการให้ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวแฮรี่ สิ่งที่ครอบครัวของแฮรี่เรียกร้องต่อรัฐบาลออสเตรเลียคือ การให้ข้อมูลว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่สถานทูตจะระบุว่าได้พบกับแฮรี่แล้วไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง และกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยื่นเรื่องต่อรัฐบาลไทยแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง แต่คำถามคือ "ทางการออสเตรเลียได้ยื่นเรื่องอะไรต่อรัฐบาลไทย และเจราจาเรื่องนี้กับใครในรัฐบาลไทย" ฟอร์ด นิโคไลดส์ พี่ชายของเขาตั้งคำถาม
ต่อมา พ่อแม่ของแฮรี่ นิโคไลดส์ ได้รวบรวมรายชื่อชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีกจากชุมชนกรีกในเมลเบิร์นจำนวนหลายพันรายชื่อยื่นต่อสถานทูตไทยและรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวลูกชาย ขณะเดียวกันก็ปรากฏการรณรงค์ออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ http://www.bringharryhome.com ซึ่งเรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี่ และดำเนินการต่อคดีของเขาอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีสื่อต่างๆ รวมทั้งบล็อกเกอร์จำนวนมากที่เขียนถึงกรณีของเขา และวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันอ่อนเปลี้ยของรัฐบาลออสเตรเลียต่อเรื่องดังกล่าว
19 มกราคม 2552
ที่ศาลอาญา ห้องพิจารณาคดีเลขที่ 811 ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาคดี หมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ และนายแฮรี่ นิโคไลดส์ โดยจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน
ทั้งนี้ มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความสนใจติดตามคดีนี้เป็นจำนวนมาก อาทิ รอยเตอร์ เอพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งรายงานแบบ real time และนำเสนอวีดีโอ สารคดีสั้นๆ ของคดีดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ www.abc.net.au/news/
เวลา 14.15 น. ศาลพิพากษาว่า จำเลยเขียนหนังสือชื่อ Verisimilitude ซึ่งมีข้อความเป็นการหมิ่นประมาทและหมิ่นพระเกียรติพระมหากษัตริย์และพระบรมราชกุมาร จึงตัดสินจำคุกจำเลยเป็นเวลา 6 ปี จำเลยสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง (3 ปี) ทั้งนี้ จำเลยเป็นผู้แต่งหนังสือซึ่งเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป พฤติการณ์เป็นความผิดร้ายแรงไม่สมควรรอลงอาญา
หลังการพิพากษา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามทนายความของแฮรี่ นิโคไลดส์ ว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ แต่ทนายปฏิเสธที่จะให้คำตอบ โดยระบุว่า เป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาและครอบครัวต้องตัดสินใจ
9 กุมภาพันธ์ 2552
ฌอง ฟรองซัวส์ จูลิอาร์ด เลขานุการขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเตรียมยื่นฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ไทย โดยหวังจะได้กราบบังคมทูลถึงการเซ็นเซอร์และการจับกุมที่เกิดขึ้นในนามของพระองค์ พร้อมกันนี้ได้เปิดเว็บไซต์เพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแฮรี่ นิโคไลดส์ ส่วนหนังสือฎีกาดังกล่าวได้เปิดให้ลงชื่อออนไลน์ ที่ http://www.rsf.org/freeharry/
"แฮรี่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และการพิพากษาโทษก็ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด" "เราเรียกร้องให้ปล่อยตัวแฮรี่ และเรียกร้องต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตให้ร่วมกันต่อสู้" ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุ
............................................................
ข้อมูลส่วนตัว:
อายุ 41 ปี อาชีพ นักเขียน ครูสอนภาษาอังกฤษ
แฮรี่ นิโคไลดส์ เป็นชาวเมลเบอร์น ออสเตรเลีย มีเชื้อสายกรีก จบการศึกษาจาก La Trobe University ในปี 2531
แฮรี่เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยทำงานเขียนหนังสือและเป็นบล็อกเกอร์ เขาเคยเขียนคอลัมน์เล่าถึงผู้หญิงทำงานบาร์ และเขียนบทความเกี่ยวกับภาพโป๊เด็ก เขาบรรยายตัวเองว่าเป็น "คนๆ หนึ่งที่ประสบความสำเร็จโดยอาศัยพรสวรรค์ล้วนๆ และความมั่นคงพากเพียร"
นอกจากงานเขียนหนังสือ เขาเคยสอนภาษาอังกฤษระยะสั้นๆ รวมทั้งยังเคยช่วยแปลซับไตเติลสารคดีเฉลิมพระเกียรติของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง จ.เชียงราย
ที่มา LM watch
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น