นาฬิกา รูปภาพ ปฎิทิน


       เวลาประเทศไทย...  
 
 
 

       ปฏิทินวันนี้...  

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คดี 112 : กรณีโจ กอร์ดอน (เลอพงษ์ วิชัยคำมาส)

ศาลตัดสินจำคุก "โจ กอร์ดอน" 2 ปีครึ่ง


"I am an American citizen, and what happened was in America."-ผมเป็นพลเมืองอเมริกัน,แล้วนี่มันเกิดอะไรกับอเมริกา?-โจ กอร์ด้อน กล่้าวหลังทราบคำตัดสิน(AP)


"I would like to stay and see some positive Thailand. I want to see the real, amazing Thailand, not the messy Thailand."-เมื่อพ้นโทษผมจะอยู่ในประเทศไทย ผมอยากดูว่าจะมีอะไรในทางบวกสำหรับไทย ผมต้องการอย่างนั้นจริงๆ มหัศจรรย์เมืองไทย ผมไม่หวังจะได้เห็นความยุ่งยากสำหรับประเทศนี้-โจ กอร์ด้อนกล่าวกับAP

Thu, 2011-12-08 10:30

คดีแปลหนังสือ TKNS ศาลตัดสินจำคุก "โจ กอร์ดอน" 5 ปี แต่สารภาพจึงลดโทษเหลือ 2 ปีครึ่ง ทนายเล็งขออภัยโทษ ด้านกงสุลสหรัฐแถลงผิดหวังต่อผลการตัดสิน

เวลา 9.00 น. วันนี้ที่ห้องพิจารณาคดี 812 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีการอ่านคำพิพากษาคดี โจ กอร์ดอน หรือ เลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เนื่องจากแปลและเผยแพร่ หนังสือ "The King never smiles" (TKNS) โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 10 ต.ค. จำเลยตัดสินใจรับสารภาพ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยศาลตัดสินให้ลงโทษจำคุกนายโจ กอร์ดอน เป็นเวลา 5 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษ 2 ปี 6 เดือน โดยทนายความจำเลยเตรียมยื่นขออภัยโทษ หากอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์

ด้านสถานกงสุลสหรัฐในประเทศไทย กล่าวว่าการตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นเรื่อง "รุนแรง" (severe) ถึงแม้ว่าจะนับว่าน้อยแล้วสำหรับนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

อลิซาเบ็ธ แพร็ต ตัวแทนสถานทูตสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า โจ กอร์ดอน ถูกตัดสินลงโทษจากสิทธิในการแสดงออกที่เขาพึงมี

"เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล" แพร็ตกล่าว

ตัวแทนกงสุลสหรัฐยังกล่าวว่า จะให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนแก่โจ กอร์ดอนต่อไปโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ มีผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศราว 50 คน ให้ความสนใจการอ่านคำพิพากษาคดีนายโจ กอร์ดอน ที่ห้องพิจารณาคดี ณ ศาลอาญา

นายเลอพงษ์ มีสัญชาติไทย-อเมริกัน อายุ 54 ปี ได้ออกจากประเทศไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เกือบ 30 ปี มีความสามารถด้านศิลปะหลายอย่าง เช่น ถ่ายรูป วาดภาพ โดยเคยเปิดนิทรรศการภาพเขียนในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญการเล่นกีตาร์อะคูสติก เคยร่วมแต่งเพลงกับนักดนตรีเพื่อชีวีตชื่อดังของไทยอย่าง หงา คาราวาน และร่วมเป็นทีมงานในการผลิตภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตของชาวอีสานผู้ได้รับ ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเรื่องเรื่อง ทองปาน ซึ่งมี ไพจง ไหลสกุล ,รัศมี เผ่าเหลืองทอง, ยุทธนา มุกดาสนิทและ สุรชัย จันทิมาทร เป็นผู้กำกับ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519

ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 54 ที่ จ.นครราชสีมา ตามหมายจับเลขที่ 318/2554 ออกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 54 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ฯ และกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทั้งนี้เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า "บาทเดียว" และเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า "สิน แซ่จิ้ว" โดยในบล็อกของเขาซึ่งใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles และถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการแปลหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทย

สำหรับหนังสือ The King Never Smiles เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เขียนโดย Paul Handley นักข่าวอิสระซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Yale เผยแพร่เมื่อปี 2549 ปัจจุบันเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย

นับแต่ถูกจับกุมโจปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาโดยทันทีและถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร และทนายได้ยื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวโดยอ้างสิทธิพื้นฐาน และยังระบุว่าโจมีโรคความดันเลือดและโรคเกาต์ที่ต้องการการรักษา แต่ศาลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงและกระทบต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งมีโทษสูง และเขาอาจทำลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้

หลังจากพยายามขอประกันตัวต่อเนื่องเป็นจำนวน 8 ครั้ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันแรกของการนัดพิจารณาคดี โจตัดสินใจประกาศว่าเขาไม่ขอต่อสู้คดี ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะพฤติการณ์ของจำเลยแล้วรายงานต่อ ศาลภายใน 20 วัน และกำหนดวันพิพากษาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 แต่ด้วยเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้วันพิพากษาถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2554 นับแต่วันจับกุมจนถึงวันพิพากษา โจถูกควบคุมตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 199 วัน หรือ 6 เดือนกับ 15 วัน

จาก prachatai

.......................


ล่าสุดวันนี้ยังไม่ตัดสินคดีโจ กอร์ดอน - แค่เบิกตัวพบ พนง.คุมประพฤติสอบเพิ่ม
Mon, 2011-11-28 11:02


(28 พ.ย.54) ที่ศาลอาญา รัชดา - ตามที่มีการแจ้งจากทนายความของโจ กอร์ดอน หรือเลอพงษ์ (สงวนนามสกุล) ว่าจะมีการเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาคดีโจ กอร์ดอน วันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าไม่มีการตัดสินในวันนี้ โดยการเบิกตัวนายโจ กอร์ดอน เป็นการเรียกพบพนักงานคุมประพฤติ สืบเนื่องจากศาลสั่งสืบเสาะเพิ่ม โดยวันนัดฟังคำตัดสินนั้นยังคงเป็นวันที่ 8 ธ.ค.54 ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสหรัฐฯ เดินทางมาเพื่อรับฟังคำตัดสิน รวมถึงเข้าเยี่ยมนายโจ กอร์ดอนด้วย

อนึ่ง เมื่อสอบถามญาติซึ่งเป็นผู้แจ้งข่าวทนายกล่าวว่า เธอได้รับแจ้งเพียงว่าโจต้องมาศาลในวันนี้


จาก prachatai

รายละเอียด :

โจ (เลอพงษ์) กอร์ดอน ชาวไทยสัญชาติอเมริกัน-ไทย ถูกเจ้าพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) จับกุมตัวที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อความที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา โดยใช้นามแฝงว่า "สิน แซ่จิ้ว" พร้อมประกาศตนว่า กูไม่ใช่ฝุ่นใต้ฝ่าตีนบุคคลใด นอกจากนี้ยังบังอาจแปลหนังสือ The King Never Smiles ซึ่งเป็นหนังสือต้องห้ามภายในราชอาณาจักร

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.54 นายโจ (เลอพงษ์) กอร์ดอน รับสารภาพต่อหน้าบัลลังก์ว่า “ผมไม่ต่อสู้คดี ยอมรับสารภาพ” จากเดิมที่เขาให้การปฏิเสธทั้งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวน โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 9 พ.ย. แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธ.ค.54 เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม

หนังสือ"The King Never Smile" ที่โจ เลอพงษ์ถูกกล่าวหาเป็นผู้แปลและเผยแพร่นั้น ตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชั้นเยล ทางราชการไทยได้สั่งห้ามนำเข้ามาภายในประเทศ ถูกใช้เป็นแบบเรียนเพื่ออ่านประกอบการเรียนการสอนวิชา "ไทยศึกษา" ของมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อดีตประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู บุช ,บิล คลินตัน และฮิลลาลี คลินตัน

ก่อนหน้านี้เมื่้อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โจ กอร์ดอน ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ได้ชื่อว่า “สิทธิมนุษยชน” ถูกบังคับใช้อย่างกว้างขวางและเท่าเทียม ทว่า ชายคนนี้ คนที่ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ไม่เคยสัมผัสแต่เพียงนิดเดียว…ดังต่อไปนี้(รายละเอียดฉบับภาษาอังกฤษอ่านข่าว:จดหมายจากคุกถึงทำเนียบขาว ท่านประธานาธิบดีเสรีภาพอเมริกันถูกย่ำยีโดยประเทศโลกที่3อย่างไทย)

กราบเรียน ท่านประธานาธิบดีโอบาม่า

ผมเขียนจดหมายนี้ถึงท่าน เป็นเรื่องความเป็นความตายของผมในคุกที่กรุงเทพ,ประเทศไทย ทางการไทยจับกุมผมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รัฐบาลไทยใช้กฎหมายนี้กับนักกิจกรรม ปัญญาชน นักข่าว นักเขียน และนักการเมือง โดยคุมขังคนเหล่านี้ในเรือนจำนานนับทศวรรษในหลายกรณีแล้ว

ผมไม่สามารถต่อสู้คดีนี้ในกระบวนการยุติธรรมไทยได้แต่เพียงลำพัง เพราะว่า มันเป็นกระบวนการที่ฉ้อฉล อคติ และละเมิดสิทธิมนุษยชน ซ้ำร้ายยังเต็มไปด้วยการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม เป็นต้นว่า ในกรณีของผม มีการจองจำโดยไม่ให้ประกันตัว ผมจึงรู้สึกว่าน่าสลดใจที่เสรีภาพในการแสดงออกของเราชาวอเมริกัน ได้ถูกละเมิด ย่ำยี และลดทอนคุณค่าลงโดยประเทศโลกที่สามอย่างไทย

ผมอยากเรียกร้องให้อเมริกันชนทั้งมวลลุกขึ้นเถิดเพื่อสนับสนุนการปกป้องต่อเกียรติภูมิของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาที่บัญญัติให้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นข้อบทที่สำคัญยิ่ง ทว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับ รัฐบาลอเมริกันควรต้องพิทักษ์ปกป้องและประณามที่ไทยใช้กฎหมายอันมิชอบนี้เป็นเครื่องมือปกป้องสถาบันกษัตริย์ให้พ้นไปจากการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอเมริกันเช่นผมที่โดนกระทำอยู่ในเวลานี้ และเพรียกหาอิสรภาพ ประเทศไทยต้องปล่อยผมจากคุกตั้งแต่บัดนี้

ขอพระเจ้าทรงอำนวยพระพรท่านประธานาธิบดี และอเมริกา

ด้วยความเคารพยิ่ง

โจ กอร์ด้อน

เรือนจำกรุงเทพฯ ประเทศไทย

คัดลอกบางส่วนมาจาก thaienews

รายงาน : ผู้ต้องขัง ม.112 ตกสำรวจ และรวมปฏิทินคดีหมิ่นพระบรมเดชานภาพ

Fri, 2011-10-14 00:17

สถานการณ์ของนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้ในเวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ หรือยูพีอาร์ (UPR - Universal Periodic Review) ที่เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อต้นตุลาคมที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่หยิบยกปัญหา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จนกลายเป็นประเด็นฮอตในเวทีโลก

สิทธิการประกันตัวยังเป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงมากจากทุกส่วน สถิติสูงสุดของการยื่นประกันตัวของผู้ต้องหาคดีนี้อยู่ที่ 10 ครั้ง และหลักทรัพย์สูงราว 2 ล้านบาท มีผู้ต้องหาเพียงส่วนน้อย (มาก) ที่ได้รับสิทธิการประกันตัว แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงอยู่ในเรือนจำจนปัจจุบัน

ในที่นี้จะกล่าวถึงกรณีล่าสุด (?) ที่เพิ่งถูกคุมขัง กับกรณีที่ไม่เคยเป็นที่รับรู้ ซึ่งศาลพิพากษาโทษจำคุก 2 คดี 15 ปี ส่วนในตอนสุดท้ายจะเป็นตารางกำหนดการการพิจารณาคดีของผู้ต้องหารายต่างๆ


คนสิงคโปร์ ใบปลิว และโทษจำคุก 10 ปี

วันชัย (ขอสงวนนามสกุล) ชายชาวสิงคโปร์ วัยใกล้ 60 ปีหรืออาจ 60 กว่าปี เขาอยู่เมืองไทยมากว่า 30 ปี พูดภาษาไทยได้ชัดเจน ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 6 เม.ย.52 ที่บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ขณะนั้นมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยนำเอกสารใบปลิว 3 แผ่น 6 หน้า มาแจกผู้ชุมนุม ชื่อว่า “พระไตรปิฎก ฉบับแก้แค้น” ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองหลังรัฐประหารอย่างรุนแรง

อันที่จริง เขาเริ่มเขียนเอกสารดังกล่าวตั้งแต่เกิดเหตุการณ์บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นช่วงพีคของความโกรธแค้น เนื่องจากเขามีอาชีพเป็นมัคคุเทศน์มาตลอดชีวิตในเมืองไทย เอกสารที่เขาเขียนเวอร์ชั่นแรกหนา 50 กว่าหน้า แต่เมื่อซีรอกซ์แจกผู้คนแล้วพบว่าไม่ค่อยมีใครอยากได้เอกสารหนาๆ จึงปรับเป็นใบปลิวแทน โดยตระเวนแจกตามสถาบันการศึกษานับ 10 แห่ง ด้วยคาดหวังว่าที่นั่นจะเต็มไปด้วยผู้อุดมปัญญาและพร้อมถกเถียง

วันชัย มีภรรยาเป็นคนไทย ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันราว 15 ปี แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน เธอมีอาชีพขายเสื้อผ้าเล็กๆ น้อยๆ ตัวเขาสนใจการเมือง โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์เพราะมีอาชีพเป็นมัคคุเทศน์ แต่ช่วงหลังชักไพล่มาอ่านประวัติศาสตร์การเมือง เขามักคุยโวว่าอ่านหนังสือประวัติศาสตร์มานับไม่ถ้วน และนับถือพระเจ้าตากสินเป็นพิเศษ

เขาเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า เขาไม่ได้สังกัดกลุ่มใด และเคยไปฟังเวทีปราศรัยของ นปช.เพียง 2-3 ครั้ง ในวันเกิดเหตุ เขาต้องการไปแจกใบปลิวที่ธรรมศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด จึงตัดสินใจไปแจกในที่ชุมนุมแทน จนกระทั่งการ์ดของ นปช.ที่ดูแลบริเวณที่ชุมนุมได้จับตัวเขาส่งตำรวจ หลังจากเห็นข้อความในเอกสาร

เขาเสียใจและโกรธแค้น นปช.อย่างมาก และยืนยันว่าแม้จะใช้ถ้อยคำรุนแรง แต่เขามีเหตุผล
เขายืนยันเช่นนั้นอีกในวันพิจารณาคดีแต่ศาลไม่อนุญาตให้เขาได้อธิบาย ทั้งยังพิจารณาคดีแบบปิดลับ แม้แต่ภรรยาก็ต้องออกไปรอนอกห้องพิจารณา เขาไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวตั้งแต่วันที่ตำรวจฝากขัง กระทั่งศาลพิพากษาเขาเมื่อวันที่ 26 ก.พ.53 สั่งลงโทษจำคุก 10 ปี ริบของกลาง

คำฟ้องระบุว่า “เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2552 เวลากลางวัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระมหากษัตริย์โดยกระทำการแจกเอกสารให้ประชาชนจำนวนหลายคนซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเอกสารขึ้นต้นมีข้อความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อันเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ และมีข้อความที่ปรากฎในเอกสารเป็นการ กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาที่ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ เหตุเกิดที่แขวง-เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ,33”

คำพิพากษาระบุว่า “จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลย นอกจากจะเป็นความผิดร้ายแรงที่กระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นประมุขและทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนทั้งประเทศตลอดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว การกระทำของจำเลยยังมีผลกระทบต่อความรู้สึกของปวงชนชาวไทยทั้งมวลอย่างรุนแรง สมควรต้องระวางโทษในขั้นสูง จึงกำหนดโทษจำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบในชั้นพิจารณาก็ถือได้ว่าเป็นการรับว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดตามฟ้อง เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาทางคดีอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม ตาม ปอ.ม.78 คงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี ริบของกลางทั้งหมด.”

อีกไม่กี่วันถัดมาหลังคำพิพากษาในคดีแรก ในวันที่ 5 มี.ค.53 อัยการสั่งฟ้องเขาในคดีลักษณะเดียกันอีก 1 คดี โดยศาลเพิ่งพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี ไปเมื่อวัน 28 ก.พ.54 นี้เอง เป็นการให้นับโทษต่อจากคดีเดิม ซึ่งรวมแล้ว 2 คดีจะมีโทษจำคุก 15 ปี

คำฟ้องระบุว่า “เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลากลางวัน จำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการนำเอกสารซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปวางไว้บริเวณอาคาร 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112”

คำพิพากษาระบุว่า “พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 10 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 ปี ให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีอาญา หมายเลขแดงที่ อ. 754/2553 ของศาลอาญา ริบของกลาง.”

อาจเพราะเขาเครียดจากโทษของคดีแรก และความเครียดจากสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเขาระบุว่ากินไม่ค่อยได้ นอนไม่เคยหลับ ทำให้เขาแสดงอารมณ์โกรธ และพูดจาวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงภายในศาล กระทั่งถูกส่งไปสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ซึ่งเป็นสถานบำบัดผู้ป่วยจิตเวช เขาอยู่ที่นั่นเกือบ 2 เดือน ก่อนศาลจะพิพากษาคดี

ปัจจุบันวันชัยถูกจำคุกอยู่ที่แดน 4 เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยมีภรรยาคอยเยี่ยมเสมอ แต่ช่วงหลังๆ เธอเริ่มเงียบหายไป โดยวันชัยก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น



โปรแกรมเมอร์ เฟซบุ๊ก และความหวังในการประกันตัว

สุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) วัย 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เขาเพิ่งเปิดบริษัทใหม่ได้ไม่ถึงเดือนในวันที่โดนเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมาทางเทคโนโลยี (ปอท.) นับสิบนายบุกเข้าจับกุม เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ทำเพจ “เราจะครองแผ่นดินโดย...” [เซ็นเซอร์โดยประชาไท] ใช้นามแฝงว่า “ดอกอ้อริมโขง” ซึ่งปรากฏข้อความเข้าข่ายหมิ่นฯ เจ้าตัวให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

อย่างไรก็ตาม สุรภักดิ์ ระบุกับผู้ใกล้ชิดว่า ในการตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์แบบพกพาอีก 1 เครื่องนั้น เขาพยายามติดต่อพยานเพื่อมาดูและกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งขอติดต่อทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและยึดโทรศัพท์มือถือไป กระทั่งนำตัวมาสอบสวนที่ ปอท. จึงได้พบทนายความ

เขายังระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีหลักฐานอย่างชัดเจนในการกล่าวหาเขาแต่อย่างใด เพียงแต่ระบุว่า มีนักศึกษาไปร้องทุกข์กล่าวโทษเกี่ยวกับเพจนี้ แล้วจากนั้นก็มีพยานอีก 1 คนที่ระบุเชื่อมโยงตัวเขาเข้ากับเพจดังกล่าว

สุรภักดิ์ เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก่อนจะถูกจับกุม กำลังพัฒนาโปรแกรม ERP (Enterprise resource planning) ให้กับบริษัทเอกชน 2 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 6 ล้านบาท พัฒนาไปกว่า 40% แล้วและยังค้างอยู่

การฝากขังผลัดที่ 4 จะครบกำหนดในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าทางครอบครัวจะยื่นประกันตัวอีกครั้ง หลังจากยื่นประกันมาแล้วทุกครั้งที่มีการฝากขัง แต่ได้รับการปฏิเสธ


ปฏิทินผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ*


17 ต.ค.54 ดารณี ศาลนัดฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีพิจารณาคดีลับขัด รธน.?

9 พ.ย.54 โจ กอร์ดอน หรือเลอพงษ์ พิพากษา

23 พ.ย.54 อำพล (SMS) พิพากษา

6 ธ.ค.54 (ศาลทหาร) ชนินทร์ (ทหารอากาศ) สืบพยานโจกท์

14-16 ก.พ.55 จีรนุช (ผอ.ประชาไท-พ.ร.บ.คอม) สืบพยานจำเลย

17-20 ก.ค. 55 เอกชัย (ขายซีดี ABC) สืบพยานโจกท์-จำเลย

21 พ.ย.54 – 4 พ.ค.55 สมยศ (บก.Red Power) สืบพยานโจทก์-จำเลย โดยมีรายละเอียดดังนี้

21 พ.ย.54 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดสระแก้ว)

19 ธ.ค.54 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดเพชรบูรณ์)

16 ม.ค.55 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดนครสวรรค์)

13 ก.พ.55 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดสงขลา)

18-20, 24-26 เม.ย.55 สืบพยานโจกท์

1-4 พ.ค.55 สืบพยานจำเลย

5-8, 12-15 มิ.ย.55 สุรชัย (กลุ่มแดงสยาม)** สืบพยานโจกท์-จำเลย



*ทุกคดีพิจารณาคดีที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เวลา 9.00 น. ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะภายในวงเล็บ


**กรณีสุรชัยมีหลายคดี ซึ่งมีความคืบหน้าทางคดีแตกต่างกันดังตารางด้านล่าง (ขอบคุณข้อมูลจากคุณซาร่า)


คดี ม.112
เจ้าของคดี สน. ชนะสงคราม
รายละเอียด ประกันตัวแล้ว แต่ถอนประกันเพราะถูกจับในคดีอื่นแล้ว
ความคืบหน้าปัจจุบัน ขึ้นศาลปี 2555
หมายเหตุ ปราศรัยที่สนามหลวง


คดี ม.112
เจ้าของคดี สน. โชคชัย
รายละเอียด จับกุมดำเนินคดีเมื่อวันที่ 22 ก.พ.54
ความคืบหน้าปัจจุบัน แจ้งข้อกล่าวหาและฝากขัง
หมายเหตุ ปราศรัยที่ ชั้น 6 อิมพีเรียล ลาดพร้าว


คดี ม.112
เจ้าของคดี ดอยสเก็ด เชียงใหม่ โอนเข้า DSI
รายละเอียด นัดพร้อมแล้ว
ความคืบหน้าปัจจุบัน ขึ้นศาลนัดแรก 31 ต.ค.54 เวลา 9.00
หมายเหตุ ปราศรัยที่เชียงใหม่


คดี ม.112
เจ้าของคดี วังทองหลาง
รายละเอียด 1.แจ้งข้อกล่าวหา 2. ให้ปากคำในคุก
ความคืบหน้าปัจจุบัน DSI อายัดคดีที่เรือนจำ
หมายเหตุ ปราศรัยวังทองหลาง


คดี ปลุกระดมทำให้เกิดความวุ่นวาย
เจ้าของคดี สภ.ราชบุรี
รายละเอียด แจ้งจับ
ความคืบหน้าปัจจุบัน -
หมายเหตุ ปราศรัยราชบุรี


คดี ม.112
เจ้าของคดี เชียงราย
รายละเอียด DSI แจ้งว่ามีคดี
หมายเหตุ -


คดี ม.112
เจ้าของคดี อุดร
รายละเอียด DSI แจ้งว่ามีคดี
ความคืบหน้าปัจจุบัน ขึ้นศาลปี 2555
หมายเหตุ -



***หมายเหตุ - มีการแก้ไขข้อมูลความผิดพลาดเรื่องการนับโทษต่อ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ (14 ต.ค.54 10.50 น.)

ที่มา prachatai

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) : จดหมายจากคุก


ห้อง 3/1 เรือนนอน 2 (แดน 2) ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา ถ.มิตรภาพ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา 30340

สวัสดีค่ะอาจารย์สุทธาชัยที่นับถือ

ดาเขียนมาถึงอาจารย์ด้วยความระลึกถึง และต้องการขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ให้ช่วยดำเนินการบอกต่อกับพวกกลุ่มเสื่อแดง ว่าขณะนี้ดาโดนย้ายฉุกเฉินหนีน้ำท่วมมาอยู่เรือนจำคลองไผ่ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาที่ผ่านมาโดยยังไม่มีใครมาเยี่ยม และเข้าบัญชีเงินตลอดจนซื้อของให้ เพราะยังไม่มีใครรู้ อีกทั้งบุคส์บัญชีเงินที่ลาดยาวก็ไม่ได้ตามมา ทำให้ดาไม่มีตังค์ซื้ออาหารกับของใช้อื่น ในขณะที่ดาไม่สะดวกด้านสุขภาพที่ทานพวกอาหารแข็งและทานเร็วไม่ได้ เพราะอย่างที่อาจารย์ยิ้มเคยทราบมา ว่าอ้าปากไม่ค่อยได้ การเข้าไปทานใโรงอาหารต้องทานพร้อมคนอื่น และต้องทานให้เร็วเสร็จพร้อมคนอื่น จึงเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างมาก ดาจึงขอรบกวนทางอาจารย์ช่วยประสานกลุ่มต่างๆ ให้ดาด่วนด้วย จักขอบพระคุณอย่างสูง เพราะตอนนี้ดาไม่สามารถติดต่อกลุ่มไหนได้เลย เพราะไม่มีใครรู้ว่าดาโดนย้ายด่วนมาที่นี่ ดาเลยต้องการให้อาจารย์ช่วยแจ้งข่าวของดา และช่วยบอกพี่ชายดาให้มาเยี่ยมด้วยถ้าเขาสะดวก รวมถึงแจ้งเรื่องการขอประกันตัวดาด้วย เพราะช่วงนี้เห็นทางเจ้าหน้าที่ลาดยาวเคยบอกว่า เป็นช่วงอนุโลมการขอประกันตัวในช่วงน้ำท่วมจะทำเรื่องได้ง่ายกว่าปกติ มิฉะนั้นอาจพลาดโอกาสดีนี้ไป เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ศาลอาจเลื่อนการฟังคำพิพากษา เพราะเป็นช่วงน้ำท่วม ดาเลยอยากให้ทางเราลองเสี่ยงทำดู เผ่ือจะฟลุ๊กโชคดี ดาหวังว่าการประสานงานจากทางอาจารย์จะช่วยดาได้อย่างมาก ดังที่ผ่านมา ดาออกไปได้เมื่อไรจะไม่ลืมความช่วยเหลือที่ผ่านมาที่อาจารย์ช่วยเป็นอย่างดี กอร์ปดาเองก็ทราบมาว่าต้องอยู่ที่คลองไผ่นาน ถ้าอยู่โดยปราศจากปัจจัยด้านเงินไว้ซื้อของจำเป็นคงแย่แน่เลย หวังว่าอาจารย์คงเข้าใจในความจำเป็นของดาในครั้งนี้นะคะ
ด้วยความนับถือ&ระลึกถึงเสมอ
(ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด))

ที่มา fb Kulcheep Worapong

บันทึกคำให้การ "นิก นอสติทซ์" คดีฆ่า"ลุงชาญณรงค์" สำนวนแรก16ศพ


เป็นคดีแรกจากจำนวน 16 ศพม็อบเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อปี 2553 นั่นคือคดีฆ่า นายชาญณรงค์ พลศรีลา หรือ ลุงชาญณรงค์ โชเฟอร์รถแท็กซี่ที่ตกเป็นเหยื่อกระสุนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 บริเวณ ถ.ราชปรารภ ที่เดินหน้าถึงขั้นส่งให้อัยการพิจารณาได้แล้ว

แม้คดีนี้จะยืดเยื้อและเสียเวลากว่า 1 ปี แต่ก็พอจะรับรู้ได้ว่าเหตุสำคัญคือ "เกียร์ว่าง" ของผู้เกี่ยวข้อง เนื่องจากอยู่ใต้อำนาจของรัฐบาลที่ส่งทหารออกมาปราบประชาชน

จึงยากยิ่งกว่ายากที่จะหาความเป็นธรรมตราบใดที่รัฐบาลชุดเก่ายังเรืองอำนาจอยู่

แต่มาวันนี้เมื่อมีรัฐบาลใหม่ และให้ดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทำให้ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ซุกเอาไว้ หรือถูกมองข้ามจึงถูกนำออกมาปัดฝุ่น

รวมถึงข้อมูลจาก "ทหาร" ที่ออกมาพูดชัดเจนถึงกระบวนการตามกฎหมาย ที่ทำให้ทหารต้องเข้ามาอยู่ในเมืองและเผชิญหน้ากับม็อบซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน

ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้วทหารไม่มีอำนาจในเขตเมือง จะออกมาได้ก็ต้องมี คำสั่งชัดเจนของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น

และผู้บังคับบัญชาที่ออกคำสั่งให้ทหารถือปืนออกมาปราบม็อบ ก็คือรัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งใช้อำนาจของ "ศอฉ."

ในส่วนของคดีลุงชาญณรงค์ ซึ่งเป็นคดีแรกที่ส่งให้อัยการพิจารณาได้ เพราะมีพยานหลักฐานชัดเจนถึงการตายโดยผิดธรรมชาติ

พยานปากสำคัญคือ "นายนิก นอสติทซ์" ผู้สื่อข่าวและช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์และบันทึกภาพนาทีชีวิตไว้อย่างละเอียด

ด้วยบทบาทของ "สื่อ" ต่างชาติ ที่ไม่มีส่วนได้เสียกับทั้งม็อบหรือทหาร ทำให้น้ำหนักในคำให้การยิ่งน่าเชื่อถือมากขึ้น

-บทบาท"นิก นอสติทซ์"

ชื่อของ "นิก นอสติทซ์" เป็นที่สนใจของสื่อไทย เมื่อครั้งเดินขึ้นสน.พญาไท ในวันที่ 17 มิถุนายน 2553 ตามหาชายในภาพถ่ายถือหนังสติ๊กหลบอยู่หลังยางรถยนต์ บริเวณถ.ราชปรารภ ยิงสู้กับทัพทหารที่ดาหน้าเข้ามาพร้อมอาวุธสงครามเต็มอัตราศึก

ช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน ระบุว่าอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวตั้งแต่แรก โดยได้สัมภาษณ์ชายสูงวัยรายนั้นและเพื่อนๆ อีกหลายคน

กระทั่งเกิดเหตุทหารลุยเข้ามาปราบ และเห็นชายในภาพถูกทหารยิงใส่ได้รับบาดเจ็บ จนช่วยประคองหนีห่ากระสุนเข้าไปหลบในห้องน้ำปั๊มน้ำมัน ก่อนปีนข้ามกำแพงเข้าไปในบ้านหลังหนึ่งเพื่อซ่อนตัว

สิ่งสุดท้ายที่เห็นคือชายคนดังกล่าวถูกทหารลากขึ้นรถหายไป!??

ตำรวจช่วยตรวจสอบก่อนได้รับการยืนยันจากชายดังกล่าวชื่อนายชาญณรงค์ พลศรีลา อาชีพขับรถแท็กซี่ และเสียชีวิตไปแล้ว!!!

พร้อมกันนี้ตำรวจขอบันทึกคำให้การในเบื้องต้นฐานะพยาน

นอกจากนี้ในห้วงเวลาต่อมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ชี้แจงต่อสื่อมวลชนต่างชาติถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "นิก นอสติทซ์" สอบถามถึงปฏิบัติการทางทหารต่อผู้ชุมนุมที่ราชปรารภ นายอภิสิทธิ์ตอบเลี่ยงๆ เพียงว่าหากมีข้อมูลก็ให้ไปเป็นพยานในเรื่องนี้

นิก นอสติทซ์" ไปให้ปากคำกับทั้งตำรวจ และดีเอสไอ ที่รับคดีนี้มาทำ

จนต่อมาดีเอสไอ สรุปคดีฆ่า 91 ศพที่เกิดขึ้น โดยมี 13 ศพที่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าตายเพราะการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งกรณีลุงชาญณรงค์ ด้วย

"นิก นอสติทซ์" ถูกเชิญไปให้ปากคำในฐานะพยานอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อตำรวจตั้งชุดสอบสวนพิเศษขึ้นมาเพื่อทำคดีชุดนี้โดยเฉพาะ

- เปิดคำให้การนาทีเลือด

"นิก นอสติทซ์" ให้การถึงการตายของลุงชาญณรงค์ หลายครั้งและหลายวาระ รวมทั้งเขียนบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ อีกหลายครั้งด้วยกัน

ช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน มาทำข่าวและบันทึกภาพการชุมนุม ของเสื้อแดงตั้งแต่แรก ก่อนเกิดเหตุรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 และเกิดเหตุร้ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเสื้อแดงถูกยิงตายราวใบไม้ร่วง

กรณีลุงชาญณรงค์ นั้น "นิก นอสติทซ์" ให้การว่าประมาณบ่ายสามโมงวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เข้าไปทำข่าวในพื้นที่ราชปรารภ เพราะ คิดว่าบริเวณนั้น คงไม่มีเหตุการณ์รุนแรงมากนัก เพราะมีผู้ชุมนุมไม่เยอะ

ช่วงที่ "นิก นอสติทซ์" เดินทางไปถึงยังไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรง ผู้ชุมนุมในพื้นที่มีไม่มากนัก จึงเดินสำรวจเพื่อตรวจสอบว่ามีทหารอยู่จุดไหนและมีผู้ชุมนุมจุดไหน

เขาพบว่าบริเวณปากซอยรางน้ำมีทหารตั้งบังเกอร์ จากนั้นเขากลับมาประจำบริเวณหน้าปั๊มเชลล์ ริมถนนราชปรารภ ใกล้กับผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน โดยหนึ่งในนั้นคือลุงชาญณรงค์

เวลาใกล้ๆ บ่ายสี่โมง ผู้ชุมนุมบางคนย้ายยางรถยนต์หลายสิบอัน มากองสุมเป็นด่านบริเวณหน้าปั๊มเชลล์ ผู้ชุมนุมรายหนึ่งได้โชว์หนังสติ๊ก แล้วบอกว่า

"นี่ไงอาวุธที่เราจะเอาไปสู้กับทหาร"

ผู้ชุมนุมคนดังกล่าวคือลุงชาญณรงค์

"ประมาณบ่ายสี่โมง" ยังไม่ทันที่ผู้ชุมนุมจะตั้งยางรถยนต์เสร็จ กระสุนมาจากทิศทางที่ทหารตั้งบังเกอร์ เริ่มยิงและจากนั้นก็ยิงตลอดเวลาไม่หยุด"

"นิก นอสติทซ์" ให้การว่าผู้ชุมนุมคน แรกๆ ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่เอาหนังสติ๊กมาโชว์ ถูกยิงที่แขนและหน้าท้องอาการสาหัส

-ระบุชัดทหารยิงไม่หยุด

ช่างภาพชาวเยอรมันให้การว่าหลังเกิดปะทะ ก็รีบเข้าไปหลบบริเวณกำแพงปั๊มเชลล์ห่างจากจุดบังเกอร์ยางรถยนต์ของผู้ชุมนุมไม่มาก มีผู้ชุมนุมบางคนหลบอยู่ใกล้ๆ กับเขาพยายามโยนเชือกเข้าไปช่วยดึงผู้บาดเจ็บออกมา แต่ทำไม่สำเร็จ

การยิงไม่เคยหยุดลงเลยผู้ชุมนุมอีกคนหนึ่งพยายามคลานหนีออกมาจากแนวยางรถยนต์ เข้ามาหลบในปั๊มน้ำมันก็ถูกยิงที่ขาและไหล่

ประมาณสี่ถึงห้านาทีผู้ชุมนุมบริเวณแนวยางรถยนต์คนหนึ่งข้ามมาในปั๊มเชลล์ได้ อีกคนหนึ่งถูกยิงที่แขน หลังจากนั้นสักพักสองคนที่บาดเจ็บไม่มากวิ่งเข้ามาที่ปั๊มเชลล์ได้

"คนหนึ่งล้มลงและคลานต่อไปจนถึงที่ปลอดภัย ผมเกรงว่าเขาจะถูกยิงอีกเสียงปืนดังขึ้นตลอดเวลาไม่หยุด ผู้ได้รับบาดเจ็บสามคนหลบออกมาสำเร็จ ข้างหลังของปั๊มน้ำมันมีห้องสุขาซึ่งกลายเป็นโซนปลอดภัยชั่วคราว"

"นิก นอสติทซ์" ระบุว่าเสียงปืนยังยิงตามหลังไม่ยอมหยุด เขาวิ่งไปรวมกับผู้ชุมนุมบริเวณหน้าห้องสุขาห่างไปประมาณ 40 เมตร รู้สึกว่าถูกไล่ยิงขณะวิ่งหลบหนี

"ตั้งแต่ผมทำข่าวมาไม่เคยกลัวมากขนาดนี้ เพราะเขายิงไม่เลือกเลย"

หลังจากนั้นผู้บาดเจ็บและผู้ชุมนุมพยายามจะปีนกำแพงออกไปหลังห้องน้ำ เพราะทหารรุกคืบเข้ามายังพื้นที่ของผู้ชุมนุมหลังแนวยางรถยนต์แล้ว

"นิก นอสติทซ์" ให้การว่ามีเพื่อนสื่อมวลชนส่วนหนึ่งและผู้ชุมนุมปีนข้ามกำแพงปั๊มน้ำมันเข้าไปในพื้นที่บ้านหลังหนึ่ง ระหว่างนั้นเห็น ผู้ชุมนุมแบกร่างลุงชาญณรงค์เข้ามาที่ปั๊ม เขาจึงถ่ายภาพไว้ 2-3 รูป ก่อนปีนกำแพงตามเพื่อนๆ ไป

ขณะที่ลุงชาญณรงค์ ถูกแบกข้ามกำแพงไปสำเร็จ

"นิก นอสติทซ์" ซึ่งทำข่าวในเมืองไทยมานานจนสามารถพูดและฟังภาษาไทยได้ดี เล่าว่าช่วงหลบอยู่หลังกำแพงได้ยินเสียงทหารวิ่งตามเข้ามาในปั๊มน้ำมัน มีเสียงด่าทอและเสียงเหมือนทำร้ายร่างกาย ได้ยินเสียงร้องขอชีวิตของผู้ชุมนุมด้วย

-ไม่ใช่ปะทะแต่ยิงฝ่ายเดียว

"นิก นอสติทซ์" ระบุว่าช่วงนั้นลุงชาญณรงค์ ที่ถูกยิงเข้าหน้าท้องและอีกหลายจุด หลบลงไปในบ่อบัวของบ้านดังกล่าว ส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด ว่าไม่ไหวแล้ว

"นิก นอสติทซ์" ให้การว่าช่วงนั้นหลบอยู่หลังพุ่มไม้ และตัดสินใจตะโกนออกไปว่าเป็นนักข่าวต่างชาติ ขอร้องว่าอย่ายิงเลยครับ ตะโกนอยู่สองสามครั้ง พร้อมชูมือขึ้นเหนือหัว

"เขาสั่งให้ผมเดินออกมา ผมเดินไปหาเขาและอธิบายว่าคนที่อยู่ในน้ำถูกยิงที่ท้องและแขนอาการสาหัส ทหารคนหนึ่งสั่งให้ดึงชายบาดเจ็บออกมาแต่ชายคนนั้นตัวใหญ่ทำให้ไม่สามารถช่วยได้คนเดียว ขณะที่พยายามดึงตัวเขาขึ้น ผู้บาดเจ็บวิงวอนด้วยเสียงอ่อนว่าเขาทนไม่ได้แล้ว"

ขณะนั้นทหารอีกส่วนปีนข้ามรั้วมาได้ และด่านายชาญณรงค์อย่างหยาบคายว่า "ทำไมถึงไม่ตาย" แล้วสั่งให้ตนช่วยดึงนายชาญณรงค์ขึ้นมาจากบ่อบัว แต่ดึงไม่ไหว

"ผมขอให้ทหารคนหนึ่งมาช่วยผมดึงคนเจ็บเพื่อไปส่งโรงพยาบาล แต่ทหารคนนั้นตะโกนว่าผู้ชายบาดเจ็บสมควรตายและไม่สนใจช่วยเหลือ จนมีทหารคนที่สองเข้ามาช่วยผมดึงตัวลุงชาญณรงค์ขึ้นจากนั้น ขณะที่ทหารคนแรกยังตะโกนไม่หยุดว่า คนเหล่านี้สมควรตาย"

ทหารสั่งให้นำเปลมาช่วยคนเจ็บออกไป และสั่งไม่ให้ถ่ายรูป

"นิก นอสติทซ์" ระบุอีกว่าภายในบ้านหลังนั้นมีทั้งผู้ชุมนุมและผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวไทย นักข่าวของ Spiegel, ทีมช่างภาพจากอินโดนีเซีย, ช่างภาพท้องถิ่นที่ทำงานให้กับ ABC News

ผู้ชุมนุมหลายคนที่อยู่กับพวกเรากลายเป็นคนขับรถจำเป็น เพราะเราต้องการรักษาชีวิตพวกเขา จึงอ้างกับทหารว่าเป็นคน ขับรถ

"ทหารไทยทำผิดกฎและขาดระเบียบวินัย ผู้ชุมนุมยังไม่ทันได้ทำอะไร ไม่ได้ต่อสู้ พวกเขามือเปล่า แต่ทหารยิง ทหารทำผิดกฎของเขาเอง ทหารไม่ได้ทำตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก เขาไม่ได้ยิงแก๊สน้ำตา เขาไม่ได้ใช้กระสุนยาง แต่ใช้กระสุนจริงและยิงไม่หยุด"

"ผมจะยอมรับได้หากวันนั้นมีการยิงปะทะ แต่การยิงเกิดขึ้นฝ่ายเดียวจากฝ่ายทหารเท่านั้น ผู้ชุมนุมมีจำนวนไม่มาก สองมือเปล่า ไม่มีอาวุธ ผมไม่ต้องการเห็นใครสักคนตาย ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมเหล่านี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่ชุดดำ เขาเป็นผู้ชุมนุม"

จากคำให้การและบันทึกของ "นิก นอสติทซ์" ย่อมชัดเจนในตัวของมันเองอยู่แล้วว่า

เหตุใดคดีลุงชาญณรงค์ จึงเป็นคดีแรกที่ขึ้นสู่การพิจารณาของอัยการ

และใครต้องรับผิดชอบต่อการออกคำสั่งให้ทหารเข้ามาปฏิบัติภารกิจในเมือง จนเกิดเหตุรุนแรงขึ้น!??

ที่มา ข่าวสด

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กดLike Facebook คุก5ปี อ.นิติราษฎร์ฟันธงมั่วใหญ่แล้วไม่เข้าข่าย

ICT เตือน ! อย่ากด Like, Share, Comment เว็บหมิ่นสถาบันฯ ระวังเจอคุก 5 ปี, ปรับ 1 แสนบาท http://www.9tana.com/node/ict-caution-facebook/?fb_comment_id=fbc_10150975043210508_28294639_10150977632010508

เพจหมิ่น (a lese-majeste page)
รมว.ไอซีที อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ออกมาขู่ว่าคนที่กด like เว็บหมื่นฯ อาจมีความผิด http://www.guardian.co.uk/world/2011/nov/25/thai-facebookers-warned-like-button


จากข่าวด้านบนจึงเป็นที่มาของข่าวต่อไปนี้

เมืองไทยเรานี้แสนดีหนักหนาส่งSMS20ปีกดLikeเฟซบุ๊คคุก5ปี อ.นิติราษฎร์ฟันธงมั่วใหญ่แล้วไม่เข้าข่าย



ติ่งขอเบิ้ลเบาไปหาหนัก-จะทำหนังสือถึงรัฐบาลขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการที่จะเสนอ เบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว แต่แรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย เหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนเคยทำ -มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษก ปชป.

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 พฤศจิกายน 2554

ดร.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ @Sawatree กรณีICTเตือน การกด Share หรือ Like หรือ Comment ในเฟซบุ๊คทีี่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ว่า

"การ like หรือ comment เพจ หรือสเตตัสคนอื่น" ถือเป็นการ "เผยแพร่" หรือ "ส่งต่อ" ที่ผิดพรบ.คอมฯ ม. 14 (5) หรือไม่...มีคนพยายามอธิบายว่า "เมื่อไปกดชอบ หรือเมนท์แล้ว มันจะ feed ขึ้นมาในหน้า home ของเราเสมือนหนึ่งเป็นการเผยแพร่แล้ว ดังนั้น ขอให้ user พึงระวัง..."


โดยส่วนตัวเรา เรากลับเห็นว่า เพียงแค่กดชอบ หรือเมนท์ ไม่ถือเป็นการ "เผยแพร่" ตามกฎหมาย

เพราะอะไร ?...เพราะโดยสภาพแล้วการกดไลค์ ผู้กดมีเป้าเพียงแสดงความชื่นชอบเท่านั้น ไม่ได้มี "เจตนา" เผยแพร่ต่อไป....ประเด็นนี้มันอาจตัดได้ไม่มีองค์ประกอบภายใน คือ ไม่มี "เจตนาเผยแพร่"

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะไถพิจารณาเลยไปว่ามี "เจตนาเล็งเห็นผล" จะได้หรือไม่ ..คำตอบก็คือ ..ถ้าจะไถพิจารณาเลยไปว่ามี "เจตนาเล็งเห็นผล" เพราะ ฟังค์ชั่นของเฟสบุ๊ก มีการ โชว์ "ว่าเราไปทำอะไรไว้" ที่ไหน แล้ว "เพื่อน ๆ" อาจเกิดความสนใจเลยจิ้มเข้าไปดูต่อ....ก็อาจต้องถกเถียงกันต่อไปอีก อย่างน้อย ๆ ก็ สองประเด็น คือ

๑. ฟังชั่นของเฟสบุ๊กเปลี่ยนแปลงแทบจะรายเดือน และทั้งผู้ใช้บริการสามารถตั้งเป็นฟังชั่นไม่แสดงผลได้...เช่นนี้อะไรจะเกิดขึ้น กับ

๒. ที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องรู้หรือไม่รู้ว่ามีฟังค์ชั่นหรือไม่ มักไม่ถูกนำมาเป็นข้อพิจารณาว่า ผู้กระทำมีเจตนา ยกตัวอย่างเปรียบ การใช้บิททอเรนท์ ผู้โหลดบิท บางคนก็รู้ บางคนก็ไม่รู้ว่า ขณะที่ดาวน์โหลด ตัวเองกำลังเผยแพร่ (อัพโหลด) อยู่ด้วย แต่ที่ผ่านมา คนดาวน์โหลดมักไม่ถูกฟ้องในฐานะผู้เผยแพร่ ถ้าจะผิดก็เป็น "ผู้ใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์" เท่านั้น

ประเด็นเพิ่มเติมอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ การทำให้เกิดการ "ลิงค์" ไป ถือเป็นการเผยแพร่เนื้อหาแล้วหรือ ?? (กม. ต่างประเทศ ยกตัวอย่าง เยอรมัน ไม่ถือเป็นการ "เผยแพร่" แต่เป็นการ "เปิดช่องทางการเข้าถึง" ตามกฎหมายปกติเยอรมันไม่ผิด...สุดท้าย เยอรมันต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอินเทอร์เน็ต ให้ "การเปิดช่องทางการเข้าถึง" เป็นความผิดด้วย ....ปัญหาก็คือ เรื่องแบบนี้ ประเทศไทยยังไปไม่ถึงขนาดนั้น)

ก่อนหน้านี้กระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) โดย นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ออกประกาศเตือนประชาชนชาวเน็ตทุกคน ถึงเรื่องเด่นประเด็นร้อนที่กำลังเกิดขึ้นบนเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือ Facebook ในช่วงนี้ คือ การโพสต์เนื้อหา(ข้อความ/รูปภาพ) ที่หมิ่นสถานบันฯ โดยขอความร่วมมือให้ทุกคนที่เห็นเนื้อหาดังกล่าว กรุณาอย่ากด Like, Share หรือ Comment ในเนื้อหานั้นเด็ดขาด เพราะยิ่งแต่จะเป็นการช่วยเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นให้ออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นด่าทอ หรือต่อต้านก็ตาม) นอกจากนั้น นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ผู้ที่ทำการ อย่ากด Like, Share, Comment เนื้อหาดังกล่าวนั้น ว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยไม่รู้ตัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

…ส่วนการกด Share หรือ Like หรือ Comment นั้น เป็นการกระทำที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยที่ผู้กระทำอาจไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลต่อในทางอ้อม กระทรวงไอซีที จึงขอให้ประชาชนที่หวังดีและต้องการปกป้องสถาบันปฏิบัติตามคำแนะนำ ของกระทรวงฯ

โดย หากพบเจอเว็บไซต์ไม่เหมาะสมขอให้แจ้งข้อมูลมาที่หมายเลข 1212 รวมทั้งหยุดการเข้าไปดูหน้าเว็บดังกล่าว และไม่บอกตและไม่บอกต่อ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับวิธีปฏิบัติเมื่อพบเจอเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสมนั้น สิ่งที่ควรกระทำ คือ ห้ามกด Share โดยเด็ดขาด…


มัลลิกา' เตรียมยื่นหนังสือจี้นายกและ รมว.ไอซีที 28 พ.ย.นี้ เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บหมิ่นฯ ชี้อาจใช้ยาแรงสุดคือปิดยูทูปหรือเฟซบุ๊กเหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนทำ

มติชนออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 11.15 น. ที่พรรรคประชาธปัตย์ (ปชป.) น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษก ปชป.แถลงว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ตนจะทำหนังสือถึงนายกฯ และ รมว.ไอซีที เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการที่ตนจะเสนอ เบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว แต่แรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย เหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนเคยทำ ทั้งนี้ ปชป.ได้เปิดเฟซบุ๊ก Fight Bad Web พร้อมอีเมล์ Fightbadweb@gmail.com เพื่อรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 ใน 4 ฐานความผิด ได้แก่ 1.หมิ่นสถาบัน 2.ความมั่นคง 3.ลามกอนาจาร และ 4.การพนัน

"อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมทำร้าย ทำลาย จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เวลานี้ได้ลามจากโซเชียลมีเดีย ไปตามร้านเสริมสวย ร้านข้าวต้ม สภากาแฟฯ ในต่างจังหวัด หากผบ.ตร.ต้องการทราบว่ามีร้านไหนบ้าง ดิฉันจะพาไปดูทั้งใน จ.พะเยา ลำปาง และแพร่" น.ส.มัลลิกากล่าว

จาก thaienews


และนี่เป็นข้อมูลอ่านประกอบเรื่องเกี่ยวกัย fb ของ ผู้พันสู้ ตัวจริง

อย่ากลัวข่าวลือเรื่อง fb นี่คือข้อมูลทางกฎหมาย และ ระบบ เนตเวอร์ค
โดยผู้พันสู้ ตัวจริงเมื่อ 18 เมษายน 2011 เวลา 17:19 น.

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2544 ,พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551,พรบ.ว่าดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 พรบ.ดังกล่าวได้ ให้ คำจำกัดความ ของ การพิสูจน์ ซึ่งเอกลักษณ์ของบุคคลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิธีการได้มาซึ่งหลักฐานพยาน ซึ่งแนวทางต่อสู้คดีนั้น ได้ชี้แจง ถึงคำจำกัดความ และข้อกฎหมายดังนี้

1 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓ ว่าด้วยคำจัดการความของ ผู้ให้บริการและผู้ใช้งานในระบบ อินเตอร์เนต ตามผนวก ก.ข้อ (ละไว้)...

2 พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มาตรา 9 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ 2551 มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 ตามผนวก ก (ละไว้ )

วิธีการซึ่งได้มาซึ่งพิสูจน์ตัวบุคคลทาง อิเล็คโทรนิค ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ip address ต้นทาง ซึ่งจะสัมพันธ์กับ mac address ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวของอุปกรณ์สื่อสาร( lan card ) ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ และเกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการ ( server ) ผู้ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่าง ip address กับ mac address ณ.ขณะเวลาใดเวลาหนึ่ง และเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถ ดัดแปลงหรือปลอมแปลงการเชื่อมต่อดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย ตาม ผนวก ...รวมทั้งมีโปรแกรมซึ่งสามารถ เข้าไปทำการโจรกรรมข้อมูล (hack) ยกตัวอย่างเช่น program firesheep สามารถแสดงให้ดูได้ตามเอกสารที่แนบรวมทั้งมีบทความเผยแพร่ ทางนิตยสารมติชนรายสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 19-25 พฤศจิกายน ปีที่31 ฉบับ ที่1579 หน้า 100 คอลัมน์ แลไปข้างหน้า ผู้เขียน ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ชื่อเรื่อง ปลั๊กอินบนไฟร์ฟอกซ์ คลิกเดียวแฮ็คเฟซบุ๊กตามผนวก .. และ สาธิตวิธีการใช้โปรแกรมดังกล่าวตาม Compact disk ที่ส่งมาด้วย ( หาดูได้ใน youtube ) และการสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์บริการเฟซบุ๊คนั้น สามารถสมัครเป็นชื่อใครก็ได้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้

3.พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา10 มาตรา 12 มาตร 26,36 และพ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ 2551 มาตรา 7 ซึ่งมาตราข้างต้นกล่าวถึงสิ่งพิมพ์ออก ในกรณีนี้ จะต้องได้การรับรองจาก ศูนย์บริการข้อมูลดังกล่าว (server ) ซึ่งเป็นศูนย์บริการข้อมูลสาธารณะ ( public domain) คือเว็บไซด์ เฟซบุ๊ค (www.facebook.com) หรือคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็คโทรนิคเป็นผู้รับรอง และในสิ่งพิมพ์ออก นั้นจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการดังกล่าว ณ.เวลานั้น ซึ่งสิ่งพิมพ์ออกนั้นสามารถดัดแปลงปลอมแปลงได้แสดงตัวอย่างการปลอมแปลง เอกสาร ไว้แล้วตาม ผนวก .(ละไว้แต่มี 55 ) .


ด้วย พรบ.ประกอบดังกล่าวข้อ ๑-๓ ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ข้อมูลในศูนย์บริการและสิ่งพิมพ์ออกเหล่านั้น ยังไม่สามารยืนยันได้ว่าเป็นของ ใคร แน่ ๆ เนื่องจาก ไม่มีทางที่ พนักงานสอบสวน ได้รับ ผลการตรวจพิสูจน์หลักฐาน และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากหน่วยที่เกี่ยวข้องจริง ( fb ไม่ให้ ip แน่นอน ) การตรวจ พิสูจน์หลักฐาน ว่ามีการ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด มี mac address ตรงกันหรือไม่ เนื่องจาก ต้องมีการเลือกข้อความมาใช้ในการกล่าวหา

ดัง นั้น ต้อง พิสูจน์ ให้ได้ ว่ามาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดบ้าง เนื่องจากยึดไป ip address ได้มาจาก server ของเว๊ปไซด์ เฟซบุ๊ค ( www.facebook.com ) จริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้มา มีวิธีการพิสูจน์อย่างไรว่าจะตรงกับ mac address ของอุปกรณสื่อสารเครื่อง( lan card นะครับ ) คอมพิวเตอร์ที่ได้ยึดไปพิสูจน์ กับกองพิสูจน์หลักฐาน ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ (log file ) ที่มีอยู่นั้น มาจากไหน ข้อมูลจาก isp ( ผู้ให้บริการอินเตอร์เนต) คือ บริษัทใดสามารถมาโยงความสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หรือไม่



นี่คือบทสนทนากับผู้รู้ถกเถียงกันครับ

มีคนแย้งมาแต่ผมยังได้อธิบายละเอียด

เค้าดักที่ GateWay ค่ะ เพราะเน็ตของคนไทยทุกคน ต้องออกนอกด้วยการผ่าน Backbone Gateway ที่ กสท และ ที่สำคัญ ทาง DSI มันสามารถไปขอ log จาก ISP ได้ทุกยี่ห้อ ดังนั้นถ้าเค้าจะดักใครจริงๆ เค้าแค่เอา url ขาออกเวลา log on fb ไปขอดู log ที่ true, 3bb, tot ก้ได้ ถ้าหาไม่เจอ ก้อไปดักที่ backbone gateway อีกทีนุง



อันนี้ละเอียดและเข้าใจง่าย

ในเมื่อ ประเด็นคือ

ต้นทาง(เครื่องเราคือ mac ) --> กลางทาง(isp บริษัทผู้ให้บริการ ) ---->ปลายทาง (server fb ที่อเมริกา )

3 อย่าง ip ต้องตรงกัน ครับ

หาก ขาด ปลายทาง จะหา กลางทาง ต้นทางยังไงครับ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจน ในกรณี mac id ของเครื่องคือตัวสำคัญในการพิสูจน์ เพราะว่า จะติดอยู่กับ lan card เป็นเลข ฐาน 16 ไม่มีทางซ้ำ้กันครับ ในเมื่อพิสูจน์ ว่า ip ที่server fb ไม่ได้ว่าคือ ip อะไร มีแต่ต้นทาง กลางทาง แล้วพิสูจน์อย่างไรว่าตรงกัน



อีกคำตอบ ---มันต้องกรองทุกตัวอักษรถึงใช้ใน ชั้นศาลได้ ซึ่ง ไม่มีทาง เพราะว่าอักษรส่งเป็น digital. ที่server. ถึงจะแสดงผลได้ว่าคืออะไร เพราะว่าเรารัน ผ่าน website fb. ซึ่งเข้ารหัสอยู่แล้ว หมายถึงเราเห็นที่เครื่องเราเป็นอักษรแต่จริง ๆ เป็น ตัวเลข เมื่อผ่านระบบ internet ซึ่ง กสท.หรือ isp (ผู้ให้บริการ ) ไม่มีทางใช้เป็นหลักฐานได้เนื่องจากมั่นใจด้วยว่า ยากในการแกะ รหัส และจะกลายเป็นผิดกฎหมายเสียเอง

ที่มา fb ผู้พันสู้ ตัวจริง

รายงาน : เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง




Sat, 2011-11-26 00:57

กองบรรณาธิการ

คดีของอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ ‘คดีอากง’ ดูจะเป็นที่สนใจสำหรับสาธารณชนมากเป็นพิเศษ มากกว่าคดีประเภทเดียวกันในช่วงหลายปีที่ผ่าน เพราะมีความย้อนแย้งในตัวหลายระดับ กระทั่งทำให้กระบวนการพิพากษา พิจารณาคดี ถูกทักถาม สอบทาน

ความรู้สึกสะเทือนใจทำให้ผู้คนอยากรู้ อยากเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คำถามว่าข้อความ ‘ที่ว่า’ คืออะไร เป็นคำถามซึ่งหมดทางที่ใครจะให้คำตอบอย่างเป็นทางการได้ แต่คำถามว่าอากงโดนจับได้อย่างไร กระบวนการสอบสวนอันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ซับซ้อนไล่จากไหนไปไหน อะไรคือข้อถกเถียงหลักๆ ในกระบวนการซับซ้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่อาจพอหาคำตอบ ปะติดปะต่อได้ จาก ‘คำแถลงปิดคดี’


เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (ขึ้นอีกเล็กน้อย) ‘ประชาไท’ ได้สรุปประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญ รวมถึงกระบวนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ไว้โดยคร่าว อ้างอิงจากคำแถลงปิดคดี สำหรับกระบวนการสืบสวนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.เส้นทางการสืบสวนตามที่เจ้าหน้าที่ให้การต่อศาล 2.พยานเอกสารที่ตำรวจนำส่งต่อศาล ซึ่งคำแถลงปิดคดีระบุว่าไม่เรียงลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามที่มีการเบิกความ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการเชื่อมโยงถึงจำเลย


และในส่วนล่างสุดจะเป็นคำแถลงปิดคดีฉบับเต็ม


00000000

สรุปประเด็นสำคัญ


1.หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTAC) และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27 (ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน

2.หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า “ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้” และ “อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้”

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่า “หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย”

>เอกสารที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว “เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ”

3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว


4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารที่นำส่งศาลไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์ xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด


5. คดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับท้ายสุด


ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเล (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง


(รายละเอียดขั้นตอนที่ขัดแย้งกันระหว่างพยานเอกสารกับคำเบิกความ กรุณาดูผังด้านล่าง)


6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่


7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ “ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข xxxxxxxxxxxxxx 0” เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า “ยังตรวจสอบไม่ได้” , ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ


8. โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน



9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์ [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไท] ไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว”


10. โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย



ทำความเข้าใจเบื้องต้น กระบวนการสืบสวนคดี ‘อากง’


1.เรียงลำดับจากคำเบิกความของเจ้าหน้าที่ต่อศาล


1. เบอร์ xxxxx15 > เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 พ.ค.]

2. เลขาฯ > ตำรวจ [แจ้งความ]

3. ตำรวจ > [ตรวจสอบข้อมูลพบเป็นเบอร์ของ DTAC ไม่จดทะเบียน จึงไม่สามารถตรวจสอบชื่อ

เจ้าของเบอร์ได้ว่าเป็นใคร]

4. ตำรวจ > DTAC [ตรวจสอบพบว่าเบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

5. ตำรวจ > DTAC [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx15 เพื่อตรวจสอบหาหมายเลขเครื่อง(EMEI) และ

การติดต่อกับบุคคลอื่น ทั้งนี้ ใน log file จะประกอบด้วย

รายการโทรเข้าออก วันที่ เวลา ระยะเวลาการโทร EMEI ที่ตั้งเสาสัญญาณ ฯ ]

6. ตำรวจ > DTAC, AIS, TRUE [แขวน EMEI หมายถึงการนำอีมี่เป้าหมาย ในกรณีนี้คืออีมี่ของ

เครื่องเบอร์ xxxxx15 ไปให้ทุกบริษัทตรวจสอบในระบบของแต่

ละค่ายว่าพบเบอร์อื่นใดที่มี EMEI หรือเลขประจำเครื่องตรงกันหรือไม่]

7. ตำรวจ > TRUE [พบว่ามีอีมี่เป้าหมายที่บริษัททรู คือ หมายเลข xxxxx27]

8. ตำรวจ > TRUE [ขอ log file ของเบอร์ xxxxx27 และพบว่ามีการติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์

xxxxx00 โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็นเบอร์จดทะเบียน]

9. ตำรวจ > เจ้าของเบอร์ xxxxx00 [เรียกเจ้าของเบอร์ (ซึ่งเป็นลูกสาวนายอำพล) มาสอบถามได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 เป็นเบอร์ของอำพล/บิดา]

10. ตำรวจ > อำพล [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่านสำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]



2. เรียงลำดับจากพยานเอกสารที่เจ้าหน้าที่นำส่งศาล


1. เบอร์ xxxxx15 > เลขานุการนายกฯ อภิสิทธิ์ [ได้รับ SMS 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9,11,12,22 พ.ค.]

2. เลขาฯ > ตำรวจ [แจ้งความ]

3. ตำรวจ > ทรู [ตรวจสอบการใช้ของหมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นเบอร์ไม่จดทะเบียน และพบว่ามี

การติดต่อกับเบอร์ต่างๆ โดยมีเบอร์ xxxxx00 โทรเข้าบ่อย และเบอร์ดังกล่าวเป็น

เบอร์จดทะเบียน]

4. ตำรวจ > เจ้าของเบอร์ xxxx00 [ เรียกมาให้การ ได้ความว่าเบอร์ xxxxx27 เป็นอำพล/บิดา]

5. ตำรวจ > DTAC [ตรวจสอบพบว่า เบอร์ xxxxx15 ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ 23 พ.ค.53]

6. ตำรวจ > DTAC [ ขอ log file หมายเลข xxxxx15 และทำให้ทราบเลขอีมี่]

7. ตำรวจ > อำพล [เจ้าหน้าที่กว่า 10 นายจากหลายหน่วยงาน บุกจับกุมตัวจำเลยที่บ้านเช่าย่าน

สำโรง พร้อมกองทัพนักข่าว]



หมายเหตุ
: ขอขอบคุณข้อมูลจาก พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลย และ ยิ่งชีพ อัฌชานนท์ จากโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)


000000000


คำแถลงปิดคดี



ข้อ ๑.คดีนี้สืบพยานจำเลยเสร็จในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ และศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำเลยมีความประสงค์ขอยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาคดี เนื่องจากพยานหลักฐานและคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเองหลายประการ มีข้อพิรุธ น่าสงสัย และมีน้ำหนักน้อยไม่น่ารับฟัง ไม่อาจนำมาสู่การลงโทษจำเลยซึ่งไม่ได้กระทำความผิดได้ โดยจำเลยขอเรียนพยานหลักฐาน ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาใช้ดุลพินิจในการทำพิพากษาของศาลดังต่อไปนี้

ข้อ ๒.การใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) เชื่อมโยงการกระทำความผิดไม่น่าเชื่อถือในการระบุเครื่องที่ใช้กระทำความผิด เนื่องจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI)สามารถปลอมแปลงได้ และสามารถซ้ำกันได้

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่าคดีนี้โจทก์เชื่อมโยงการกระทำความผิดมาถึงตัวจำเลยได้โดยใช้หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์(IMEI) ซึ่งการใช้โทรศัพท์ครั้งหนึ่งทั้งการโทรศัพท์ หรือการรับส่งข้อความจะปรากฎข้อมูลการโทรที่ผู้ให้บริการ ซึ่งจะปรากฎรายละเอียดทั้งวันที่ เวลา หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ หรือ IMEI (ต่อไปขอเรียกว่าหมายเลขอีมี่) ซึ่งในกรณีดังกล่าวหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยเป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน กล่าวคือโจทก์กล่าวอ้างว่ามีการส่งข้อความจากโทรศัพท์เครื่องเดียวกันกับของจำเลย

อย่างไรก็ตามแม้โดยหลักการแล้วหมายเลขอีมี่จะเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำของตนและจะไม่ซ้ำกัน แต่ในทางปฏิบัติซึ่งทราบกันอยู่ทั่วไปว่าหมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้และพยานหลักฐานของโจทก์ก็ยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว กล่าวคือ

จากบันทึกข้อความในการส่งของกลางตรวจพิสูจน์เอกสารหมายจ.๑๑ ข้อ ๙.๑ ได้ขอให้ตรวจพิสูจน์ว่า “โทรศัพท์ของกลางข้อ ๘.๑ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขเดิมเป็นหมายเลขใด”

จากคำให้การของพยานโจทก์ปากนายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด หน้าที่ ๓ ได้ให้การว่า “ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้” และ “อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆเครื่องได้”

จากคำให้การพยานโจทก์พ.ต.อ.XXXXXXXXXXX หน้าที่ ๔ ได้ให้การว่า “หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย”

รวมทั้งข้อมูลตามเอกสารหมายล.๖ และล.๗ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว และข้อความตามเอกสารหมายล.๗ ยังระบุถึงข้อจำกัดของหมายเลขอีมี่ว่า “เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ”

จากพยานเอกสารของโจทก์และคำให้การของพยานโจทก์ รวมถึงพยานเอกสารของจำเลยที่กล่าวมาข้างต้นย่อมสรุปได้ว่า หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ โดยสามารถแก้ไขเปลี่ยนเป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะไปปรากฏยังผู้ให้บริการ ทำให้หมายเลขอีมี่ไม่มีความน่าเชื่อถือเพราะเมื่อหมายเลขอีมี่สามารถแก้เปลี่ยนแปลงได้ย่อมไม่สามารถที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ได้อย่างแน่นอน การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมีไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่องโทรศัพท์ได้

ประกอบกับโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย ว่ามีการตรวจสอบแล้วครบทั้งสามบริษัทพบหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏใช้เพียงหมายเลขเดียว
มีเพียงคำให้การกล่าวอ้างลอยๆว่าได้ทำการแขวนอีมี่กับทั้งสามเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดง มีเพียงข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัท ดีแทค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ เท่านั้น

นอกจากนี้พยานโจทก์ยังให้การขัดแย้งกันเองกล่าวคือพยานโจทก์ปากร.ต.อ.XXXXXXXXXXX พ.ต.อ.XXXXXXXXXXX และพ.ต.ท.XXXXXXXXXXX ได้ให้การว่าตรวจสอบจากทั้งสามบริษัทแล้ว ในขณะที่พ.ต.ท.XXXXXXXXXXXซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ได้ให้การในหน้าที่ ๒ วรรคสุดท้ายว่า “คณะทำงานได้มีหนังสือไปยังค่ายดีแทคและค่ายทรูมูฟเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ตามเอกสารหมายจ. ๕ และ จ.๖” ซึ่งไม่ได้พูดถึงการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด แต่อย่างใด และแม้พ.ต.ท.XXXXXXXXXXX จะให้การขัดแย้งกับพยานโจทก์รายอื่นแต่กลับให้การสอดคล้องกับพยานเอกสารซึ่งมีเพียงข้อมูลจากสองบริษัท จึงทำให้คำให้การพยานของพ.ต.ท.XXXXXXXXXXX มีน้ำหนักมากกว่าพยานปากอื่นๆ

เมื่อโจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานว่ามีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัด หรือมีหนังสือตอบกลับมาจากบริษัทดังกล่าวว่าไม่มีผู้ใช้บริการของบริษัทดังกล่าวใช้หมายเลขอีมี่ที่ตรงกับเครื่องซึ่งใช้ส่งข้อความ ทั้งที่การตรวจสอบและการยื่นพยานหลักฐานสามารถกระทำได้โดยง่าย หากโจทก์ได้ทำการตรวจสอบจริงก็สมควรยื่นหลักฐานดังกล่าวเข้ามาเพื่อแสดงความชัดเจนและความบริสุทธิ์ใจในการสืบสวน จึงน่าเชื่อว่าการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวไม่มีการตรวจสอบจากบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอวิส จำกัดจริง

นอกจากนี้จำเลยขอเรียนว่าเอกสารข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของบริษัททรูมูฟจำกัดตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ถึงแผ่นที่ ๑๓ นั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจเรียกว่าเป็นการแขวนอีมี เพราะหากเป็นการแขวนอีมี่นั้น โดยเหตุผลแล้วการตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟจำกัด ต้องเริ่มตรวจสอบจากหมายเลขอีมี่ แล้วจึงพบเบอร์โทรศัพท์ของจำเลยใช้คู่กับหมายเลขอีมี่ดังกล่าว แต่จากข้อความในเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ ซึ่งมีข้อความว่า “ตามที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีหนังสือตามที่อ้างถึงให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (“บริษัท”)ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๕XXXXXXX๒๗.....” แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เลย และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือพอที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และไม่สามารถใช้ยืนยันได้ว่าในเครือข่ายของบริษัททรูมูฟจำกัดนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ซึ่งใช้กับหมายเลขอีมี่นี้หมายเลขเดียว

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากความไม่น่าเชื่อถือในการนำหมายเลขอีมี่มาตรวจสอบแล้ว โจทก์ยังนำเสนอพยานหลักฐานไม่ครบถ้วนพอที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหมายเลขอีมี่ดังกล่าวหมายเลขเดียวที่ใช้ในประเทศไทย การสืบสวนสอบสวนตามความเชื่อทางทฤษฎีว่าหมายเลขอีมี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องไม่มีทางซ้ำกันนั้น ทำให้โจทก์ผิดหลงในการสืบสวนสอบสวนมาตั้งแต่ต้น หากโจทก์ทำการตรวจสอบครบถ้วนจริง โจทก์ก็ต้องแสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบตั้งแต่ต้น แต่โจทก์กลับไม่แสดงพยานหลักฐานให้ศาลสิ้นสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์ได้ มีเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆซึ่งขัดแย้งกับพยานหลักฐานของโจทก์เอง

ข้อ ๓.การสืบสวน สอบสวนของเจ้าพนักงานมุ่งไปที่ตัวจำเลยโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงจากหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (หมายเลขอีมี่) และคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกับพยานเอกสารอย่างชัดแจ้ง

จำเลยขออนุญาตชี้ประเด็นให้ศาลพิจารณาว่าคดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้งกล่าวคือ

๓.๑ วันที่ตามพยานเอกสารหมายจ. ๕ และจ.๖ ขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนตามคำเบิกความของพยานโจทก์

ในการสืบสวน สอบสวนเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากเอกสารหมาย จ.๗ และจากคำให้การพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ให้การตรงกันคือ ในการสืบสวนสอบสวนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

๑. มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ –XXXXXXXXXXX๙๙ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่ ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๒. ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC มีหมายเลขเครื่อง(IMEI) ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ

๓. ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๔. นำหมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งสามบริษัทพบว่า ปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวใช้กับหมายเลข ๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗ ของบริษัท TRUMOVE จำกัดเป็นหมายเลขไม่จดทะเบียน

๕. พนักงานสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX

จากแผนผังดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบพยานหลักฐานดังกล่าวต้องทำเป็นขั้นตอนตามลำดับ จึงจะสามารถเชื่อมโยงมายังหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยได้ ไม่สามารถกระทำข้ามขั้นตอนลำดับใดลำดับหนึ่งได้

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดีตามเอกสารหมายล.๑ และเอกสารหมาย จ.๑๙ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเดียวกันคือคำให้การของนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยกลับระบุว่าได้มาให้การต่อเจ้าพนักงานในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ คือนายอำพล XXXXXXXXXXX เมื่อเทียบกับขั้นตอนด้านบนจะเป็นลำดับที่ ๕

การตรวจสอบข้อมูลการโทรหมายเลข ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ จากบริษัทดีแทคจำกัดพบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ตรวจสอบได้ข้อมูลในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมาย จ.๕ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๓

ในขณะที่การตรวจสอบข้อมูลการโทรของหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ บริษัททรูมูฟจำกัดได้มีหนังสือแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขดังกล่าวในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงพันตำรวจเอก XXXXXXXXXXX ตามเอกสารหมายจ.๖แผ่นที่ ๖ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๔

การตรวจสอบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้คู่กับหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ กับบริษัทดีแทคจำกัด ในการส่งข้อความพบว่าเป็นหมายเลขอีมี่ ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ตรวจสอบได้ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ ๒

จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานของโจทก์เองและพยานโจทก์ทุกปากให้การยอมรับการตรวจสอบตามเอกสารหมายจ.๕และจ.๖ จะพบว่าลำดับขั้นตอนหากนำมาเรียงตามลำดับวันที่แล้วจะได้เป็น

วันที่ ๙,๑๑,๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๑
มีผู้กระทำความผิดซึ่งส่งข้อความโดยเบอร์ ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ ไปยังเบอร์ ๐๘๑ –XXXXXXXXXXX๙๙ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯส่วนตัวนายอภิสิทธ์ เวชาชีวะ เป็นจำนวนสี่ครั้งในวันที่ ๙ ,๑๑, ๑๒ และ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓

วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๕ พนักงานสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลการใช้หมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ และสืบจากหมายเลขโทรเข้าออกซึ่งเป็นเบอร์จดทะเบียนของบุตรเขยจำเลย โดยนางxxxxxxxxxxxxxx บุตรสาวจำเลยเป็นผู้ใช้อยู่ ทำให้ทราบว่าหมายเลข๐๘๕XXXXXXXXXXX๒๗เป็นของนายอำพล XXXXXXXXXXX(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๓
ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑-XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓(ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๔


ทราบข้อมูลการโทร ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ จากบริษัททรูมูฟ จำกัด (ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่)

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๒ ตรวจสอบหมายเลขผู้ส่ง ๐๘๑- XXXXXXXXXXX๑๕ พบว่าเป็นหมายเลขเติมเงินไม่จดทะเบียนของบริษัท DTAC มีหมายเลขเครื่อง(IMEI) ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐ ใช้งานในเขตสมุทรปราการ (ทราบหมายเลขอีมี่)

กล่าวคือหากเรียงตามลำดับวันที่เอกสารของโจทก์แล้ว โจทก์ใช้วิธีการดำเนินการสอบสวนตามลำดับคือ ๑-๕-๓-๔-๒ ซึ่งขัดแย้งกับลำดับขั้นตอนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ๑-๒-๓-๔-๕ ดังนั้นในวันที่ เจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบปากคำนางXXXXXXXXXXX บุตสาวจำเลยเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่ซึ่งใช้เชื่อมโยงเครื่องที่ใช้กระทำความผิดเลย แม้กระทั่งวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งทางบริษัทดีแทคจำกัดแจ้งข้อมูลการโทรของหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้กระทำความผิดมา ก็ยังไม่ทราบหมายเลขอีมี่จนทางดีแทคต้องตรวจสอบและแจ้งหมายเลขอีมี่ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ อีกทั้งหนังสือตอบกลับของบริษัททรูจำกัด ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ นั้นก็เป็นการสอบถามจากหมายเลข ๐๘๕ XXXXXXXXXXX๒๗ ของจำเลยไม่ได้ตั้งต้นจากหมายเลขอีมี่ซึ่งการจะตรวจสอบจากบริษัททรูมูฟ จำกัดนั้นจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลยซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

จำเลยขอเรียนว่าเอกสารตามหมายจ.๖ แผ่นที่ ๖ – ๑๓ ซึ่งเป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเป็นเอกสารฉบับแรกในคดีนี้ที่มีหมายเลขอีมี่ปรากฏในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และปรากฏโดยไม่มีความเชื่อมโยงกับหมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิดมาก่อนเพราะเป็นหมายเลขอีมี่ที่ปรากฏจากเบอร์ของจำเลย ในขณะที่ตามบันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำนางxxxxxx xxxxxxxx วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๙ ก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่ ประกอบกับบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนXXXXXXXXXXXเจ้าหน้าที่บริษัทดีแทคจำกัด ลงวันที่ ๒๐กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมายจ.๑๖ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ที่ใช้ในการกระทำความผิดและเป็นพยานปากสำคัญที่จะใช้เชื่อมโยงหมายเลขอีมี่ไปถึงหมายเลขอีมี่เครื่องจำเลยได้ แต่กลับไม่ปรากฏคำให้การในชั้นสอบสวนที่กล่าวถึงหมายเลขอีมี่อันจะเชื่อมโยงไปถึงจำเลยได้ แต่กลับปรากฎการแจ้งหมายเลยอีมี่ของเบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ XXXXXXXXXXX๑๕ ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.แผ่นที่ ๒ ตามที่จำเลยได้เรียนแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าพยานหลักฐานอื่นๆซึ่งเชื่อมโยงหมายเลขอีมี่จากบริษัทดีแทคจำกัดไปยังหมายเลขอีมี่ของจำเลยล้วนเกิดขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ได้ทราบหมายเลขอีมี่ของจำเลยแล้วทั้งสิ้น

ดังนั้นจะพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดหมายจ. ๕ และจ.๖ซึ่งพยานโจทก์ทุกปากให้การตามเอกสารดังกล่าว ขัดแย้งกับคำให้การพยานโจทก์เองอย่างชัดแจ้ง พยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่น่าเชื่อถือ และเป็นไปไม่ได้ตามหลักของเหตุผลที่โจทก์ใช้ในการตรวจสอบและไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง

๓.๒ พยานหลักฐานโจทก์ เอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ไม่ได้ระบุเอกสารแนบและระบุเลขวันที่ใช้ในการตรวจสอบหมายเลขอีมี่ผิดจากวันที่ส่งข้อความ

กล่าวคือพยานเอกสารหมายจ.๖ แผ่นที่ ๒ ซึ่งเป็นหนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากบริษัทดีแทคจำกัดถึงพ.ต.อ.XXXXXXXXXXXในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นั้น ระบุว่า ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว “แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ ๑๐-๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข ๐๘๑XXXXXXXXXXX๑๕ ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข ๓๕๘๙๐๖๐๐๐๒๓๐๑๑ ๐”

ซึ่งมีข้อสังเกตว่าเหตุใดทางบริษัทจึงไม่สามารถตรวจสอบได้ และวันที่ตามหนังสือดังกล่าวก็ไม่ตรงกับวันทีเกิดเหตุ ในเรื่องนี้แม้XXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายกฎหมายและXXXXXXXXXXX ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายให้การว่าเป็นเรื่องผิดหลง แต่หนังสือฉบับดังกล่าวกลับข้อพิรุธถึงสามจุดคือ

๑. ผิดหลงในเรื่องการตรวจสอบ ซึ่งหากในคราวแรกไม่ได้ตรวจสอบ หนังสือฉบับนี้ควรแจ้งให้ถูกต้องไม่ใช่แจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้

๒. ระยะเวลาในการตรวจสอบของหนังสือดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมิถุนายนไม่ตรงกับระยะเวลาที่เกิดเหตุในช่วงเดือนพฤษภาคม

๓. หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งหมายเลขอีมี่ไม่ได้ระบุว่ามีเอกสารแนบเป็นข้อมูลการโทร

ซึ่งโดยหลักแล้วพยานเป็นเจ้าหน้าที่และผู้จัดการฝ่ายกฎหมายทำงานมาเป็นระยะเวลานาน การทำการตรวจสอบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกฎหมายและเสรีภาพของบุคคล พยานย่อมต้องมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน แต่หนังสือดังกล่าวกลับมีข้อพิรุธถึงสามจุด อีกทั้งเอกสารหมายจ.๕ ที่พยานได้แจ้งผลการตรวจสอบมาในคราวแรกนั้นก็ไม่มีการเซ็นรับรองพยานเอกสาร ซึ่งต่างจากเอกสารแนบในการส่งมาครั้งที่สองนั้นมีการเซ็นรับรอง แสดงให้เห็นถึงการทำงานซึ่งไม่อาจเป็นมาตราฐาน ไม่มีความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ และไม่อาจทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าหนังสือดังกล่าวทำขึ้นมาด้วยความสุจริตจริง

ข้อ ๔. โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานเอกสารใดสามารถยืนยันว่าจำเลยเป็นคน กดข้อความและส่งข้อความตามที่โจทก์กล่าวอ้างเลย

จำเลยขอเรียนต่อศาลว่านอกจากพยานเอกสารของโจทก์น่าสงสัย และขัดแย้งกับคำให้การของพยานโจทก์เองแล้ว โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน จำเลยได้เรียนให้ศาลพิจารณาถึงความไม่น่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าวแล้ว และโจทก์ก็ไม่พบเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้กระทำความผิดที่จำเลย ประกอบกับคำให้การพยานโจทก์นายXXXXXXXXXXX เจ้าหน้าที่บริษัททรู หน้าที่สาม บรรทัดที่ ๑๒ ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์หมาย จ.๖ แผ่นที่ ๗ ถึง ๑๔ ไม่ปรากฎว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว” และจากบันทึกคำให้การนางxxxxxxxxxxxxxxx วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เอกสารหมาย จ.๒๑ แผ่นที่ ๓ บรรทัดที่ ๖ยังให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพยานทราบว่านายอำพลฯส่งข้อความไม่เป็น และไม่เคยเห็นว่านายอำพลส่งข้อความ ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงXXXXXXXXXXXในหน้าที่ ๒ ซึ่งให้การว่า “ข้าฯไม่เคยเห็นจำเลยส่งข้อความให้กับผู้ใด” และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ชั้นจับกุม สอบสวนและชั้นพิจารณา พยานหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงให้ศ่าลเห็นว่าไม่เพียงจำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด แต่ไม่มีความสามารถในการกระทำความผิดด้วยซ้ำเนื่องจากจำเลยไม่สามารถส่งข้อความได้

นอกจากนี้โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด มีเพียงพยานหลักฐานซึ่งขัดแย้งกันเอง ไม่น่าเชื่อถือ นำมากล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกล่าวหาอย่างร้ายแรงและไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยได้

ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย ซึ่งตรงกับคำให้การพยานจำเลยเด็กหญิงxxxxxxxxxxxxxx หลานสาวของจำเลยซึ่งจำเลยเคยพาไปลงนามถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราชให้การยืนยันตามคำให้การหน้าที่ ๑ ว่า “จำเลยเคยพาข้าฯไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงปิดเทอมปี ๒๕๕๒”

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นถึงความไม่น่าเชื่อถือของพยานโจทก์ซึ่งให้การขัดแย้งกับพยานเอกสาร และพยานเอกสารของโจทก์ซึ่งขัดแย้งกันเอง และเป็นไปไม่ได้โดยหลักของเหตุผลที่จะใช้ในการตรวจสอบ การสอบสวนที่มุ่งโดยตรงมาที่จำเลยตั้งแต่ต้นประกอบกับพฤติการณ์และความเป็นไปได้ที่จำเลยจะกระทำความผิดซึ่งไม่สามารถมีได้เลย จำเลยจึงขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงด้วยหลักการของเหตุผลดังกล่าว และโปรดพิจารณาปล่อยจำเลยไป





ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ จำเลย

คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจำเลยเป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ ผู้เรียงและพิมพ์


ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

IMEI และอากงอำพล: หลักฐานที่ยืนยันความบริสุทธิ์ กลับถูกใช้ปรักปรำว่ามีความผิด

Fri, 2011-11-25 02:20

โดย TGS


เห็นหลายคนเอาไปแชร์ต่อ [กรณีอำพล หรือ 'อากง' ต้องโทษ 20 ปี - ประชาไท] แล้วมีบางคนต่อว่าทนายฝ่ายจำเลย เลยขอมาแก้ต่างแทนทนายฝ่ายจำเลยหน่อย

1. เรื่อง Check Digit ทนายฝ่ายจำเลยมีการแจ้งต่อศาลแล้ว และศาลก็ยังลองไปคำนวน IMEI ของมือถือตัวเองด้วย (27 กันยายน 2554)

1.1 ทาง DTAC อ้างว่าตนใช้มาตรฐานการเก็บหมายเลข IMEI แบบก่อนปี 2003 คือ ส่ง Check digit เป็นค่า 0 แทนที่จะเป็นค่าจริง

1.2 ทาง TRUE พบว่า Check Digit ในระบบมีทั้งเลข 0 และ เลข 2 ซึ่งค่า Check Digit ควรจะเป็น 0 เท่านั้น ซึ่งก็ทำให้ไม่ทราบว่า TRUE ใช้มาตรฐานในการเก็บหมายเลข IMEI แบบไหนกันแน่

2. ประเด็นเรื่องที่ว่าการแก้ไข ปลอมแปลง IMEI ได้มีการแจ้งต่อศาลแล้ว ให้การโดย คุณ พูนสุข [ทนายจำเลย] วันที่ 30 กันยายน 2554 เวลา 10.10 น. อย่างไรก็ตาม เรื่องการแก้ไขเลขอีมี่นี้ ศาลไม่ได้ทำการบันทึก เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

2.1 IMEI ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เนื่องจากหมายเลข IMEI นั้น ไม่ใช่ Unique Number มีมือถือหลายเครื่องที่มี IMEI ซ้ำกันได้ ทั้งซ้ำกันมาตั้งแต่โรงงาน และซ้ำกันเพราะมาแก้ไข IMEI เองในภายหลัง (http://www.techcular.com/checking-mobile-phone-imei-number-is-original-and-valid/)


========


พอดีได้อ่านใน prachathai (http://prachatai.com/journal/2011/11/37991)

มีตอนนึงพูดถึงเรื่อง IMEI ครับ เมื่อผมไปตรวจสอบแล้วพบว่า คดีนี้หลักฐานชี้ชัดว่าอากงถูกใส่ร้ายชัดๆ แต่ศาลก็ตัดสินว่า อากงเป็นคนผิด


"สำหรับประเด็น สำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6 ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตาม ที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็น ในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง"



เพราะเรื่องที่ พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา อ้างว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญนั้น ไม่เป็นความจริง เรื่องนี้ทำให้รู้สึกว่า ถ้าไม่เป็นเพราะระบบตุลาการไทยตามเทคโนโลยีไม่ทัน ก็ใช้ช่องว่างเรื่องความไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีของจำเลยเพื่อปรักปรำผู้บริสุทธิ์ แต่จะเป็นกรณีใดก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่าน


ทำไมนะเหรอครับ?

หมายเลข IMEI มี 2 แบบ นั่นก็คือ IMEI (14 หลัก) และ IMEI/SV (16 หลัก)

ใน เลข IMEI แบบ 14 หลัก จะมีหลักที่ 15 เป็น optional ซึ่งทำหน้าที่เป็น Checksum โดยใช้ Luhn algorithm กลไกมันก็ง่ายๆ คือ เอา 14 หลักแรกมาบวกกัน โดยหลักคู่จะนำไปคูณ 2 ก่อน บวกได้เท่าไร ให้หาจำนวนที่ไปรวมกับเลขนั้น แล้วทำให้ผลรวมหารด้วย 10 ลงตัว เช่น

ถ้า 14 หลักแรก รวมกันได้ 81 หลักที่ 15 ก็จะเป็นเลข 9

ถ้า 14 หลักแรก รวมกันได้ 45 หลักที่ 15 ก็จะเป็นเลข 5

เพราะ ฉะนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่เลข 14 หลักแรกจะตรงกัน แต่หลักที่ 15 จะไม่ตรง ยกเว้นแต่ว่ามีการปลอม IMEI แล้วคนปลอมลืมแก้หลักที่ 15 ซึ่งเป็น Checksum ให้ตรงกับที่ควรจะเป็นด้วย

ว่าง่ายๆ คือ หลักฐานที่ทนายฝ่ายโจทย์อ้างขึ้นมาในชั้นศาล เรื่อง IMEI ตรงกันแค่ 14 หลักแรก ก็คือ หลักฐานที่บอกว่าอากงบริสุทธิ์นั่นเอง

การที่โทรศัพท์ของกลางมีเลขหลักสุดท้ายเป็น 6 นั่นก็แสดงว่าตัวเลข 14 หลักแรกรวมกันได้ x4 หรือ xx4 เมื่อเป็นอย่างนี้ การกรอกข้อมูลลงในเวปที่ตรวจสอบ IMEI เมื่อใส่เลขหลักสุดท้ายเป็น เลขใดๆ ที่ไม่ใช่เลข 6 นั้น ระบบย่อมต้องไม่สามารถระบุโทรศัพท์ได้ เนื่องจากเมื่อระบบตรวจ Checksum โดยใช้ Luhn algorithm แล้วพบว่าหมายเลข IMEI ผิด นั่นหมายความว่า อาจจะมีข้อมูลผิดพลาดที่จุดใดจุดนึง หรือมากกว่า 1 จุด หรือ อาจจะเป็นหมายเลข IMEI ที่ถูกปลอมขึ้นก็ได้ โดยคนปลอมลืมคำนวน Checksum ใหม่ ซึ่งตามหลักแล้ว คงไม่มีโจรคนไหนปลอม IMEI ให้ชี้มาที่มือถือที่ตัวเองใช้หรอกครับ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า คนที่ส่งข้อความจริงๆ แล้วเป็นคนอื่น แต่ว่าค่า IMEI ที่ระบบบันทึกนั้นผิดพลาด (Data Corrupt) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงการติดต่อสื่อสาร หรือ การบันทึกก็ได้


ตัวอย่างของ Luhn Algorithm นะครับ เช่น ถ้า IMEI เป็น

59115420323751


Luhn Algorithm จะ คูณ 2 เลขที่เป็นหลักคู่

5(18)1(2)5(8)2(0)3(4)3(14)5(2)


แล้วค่อยนำมารวมกันเป็น

5+1+8+1+2+5+8+2+0+3+4+3+1+4+5+2 = 54


เพื่อทำให้ 54 หารด้วย 10 ลงตัว ต้องเพิ่มไปอีก 6 เพื่อให้เป็น 54+6 = 60

เพราะฉะนั้น เลข IMEI 15 หลัก คือ 591154203237516


หากเลขหลักสุดท้ายเป็นเลขใดๆ ที่ไม่ใช่หมายเลข 6 นั่น เป็นเลข IMEI ที่ไม่ถูกต้อง เพราะค่า Checksum ผิดซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก เพราะเรื่อง Checksum เนี่ย ถือเป็นความรู้พื้นฐานในวงการ IT เลยครับ แทบจะสอนกันในวิชา Introduction to Information Technology ด้วยซ้ำ


อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Equipment_Identity

http://en.wikipedia.org/wiki/Luhn_algorithm

http://en.wikipedia.org/wiki/Checksum

ที่มา prachatai


และอีกหนึ่งบทความที่คล้ายๆกัน

IMEI คืออะไร เกี่ยวกับ "อากง sms" อย่างไร



บทความนี้ เป็นบทความที่เผยแพร่ในเฟรซบุ๊ค ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์และวิชาด้านนี้โดยเฉพาะ โดยมีข้อความดังต่อไปนี้ (ไม่ตัดทอนประโยคใดๆทั้งสิ้น)


" นี่คือความเห็นจากคุณ ชาคริต เพื่อนของผมที่ทำงานในด้านเทคโนโลยี่สื่อ ซึ่งน่าสนใจอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่าสังคมไทยจะยอมรับหลักฐานแบบนี้ต่อไปหรือไม่

Shakrit Chanrungsakul

คดีอากง SMS กำลังจะกลายเป็นคดีสะเทือนขวัญ เมื่อผู้รู้จริงในด้านเทคโนโลยีกำลังทำให้เราได้เห็นกันชัด ๆ ว่า "หลักฐาน" ที่ใช้ในคดีนี้ไม่สามารถเชื่อถือได้ ที่มันสะเทือนขวัญก็เพราะว่าระบบยุติธรรมของเราสามารถเอาคนเข้าคุกได้ทั้ง ๆ ที่หลักฐานไม่ชัดเจนพอที่จะส่งฟ้องเสียด้วยซ้ำ

โจทย์แถลง : ข้อพิสูจน์ในคดีนี้คือ IMEI ประจำเครื่อง 14+1 หลักที่มีความสำคัญ

โดยในคดีนี้ เลข 14 หลักแรก + หลักสุดท้ายที่เป็นเลข 6 สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นยี่ห้อ Motorolla ส่วนถ้าเปลี่ยนหลักสุดท้ายไปเป็นเลขอื่นจะพบว่าไม่ตรงกับยี่ห้อใดเลยในท้องตลาด (ใช้การพิสูจน์ด้วยการค้น IMEI ในเว็บแห่งหนึ่ง)

ผู้รู้แถลง : เลข IMEI 15 หลักถูกก็อปปี้ขายกันเป็นล้านเครื่อง ตามมาบุญครองและเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือราคาถูก โดยเลข IMEI ที่ว่านี้จะประกอบไปด้วยเลข 14+1 หลัก ซึ่งหลักสุดท้ายจะไม่มีเลขอื่นนอกจาก checksum ของ 14 หลักแรก

ดังนั้นการที่มี IMEI 591154203237516

จะไม่มี 591154203237517 หรือลงท้ายด้วยเลข 8 หรือ 9 หรือ 0 หรือเลขอื่น ๆ นอกจากเลข 6 เนื่องจากมันเป็น checksum ของสิบสี่หลักแรก โดยคำนวนจาก Luhn Algorithm ดังนี้

เริ่มต้นจากเลขสิบสี่หลักแรกของ IMEI

59115420323751

ให้คูณ 2 เฉพาะตัวเลขที่เป็นหลักคู่

5(18)1(2)5(8)2(0)3(4)3(14)5(2)

แล้วค่อยนำมารวมกันเป็น

5+1+8+1+2+5+8+2+0+3+4+3+1+4+5+2 = 54

เพื่อทำให้ 54 หารด้วย 10 ลงตัว ต้องเพิ่มไปอีก 6 เพื่อให้เป็น 54+6 = 60

เอา 60 มาหาร 10 ตัวเลขสุดท้ายจึงต้องเท่ากับ 6

ดังนั้น การที่โจทย์ไปเสิร์ชหา

591154203237516 จึงตรงกับโมโตโรลล่ารุ่นที่อากงใช้ (และตรงกันกับโมโตโรลล่ารุ่นเดียวกันอีกหลายแสนเครื่องที่ขายกันอยู่ทั่วไป)

591154203237517 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237519 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237510 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237512 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

สรุปจากข้อมูลนี้ได้ว่า : IMEI ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เนื่องจากหมายเลข IMEI นั้น ไม่ใช่ Unique Number มีมือถือหลายเครื่องที่มี IMEI ซ้ำกันได้ โดยมีทั้งการที่ซ้ำกันมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิต และซ้ำกันเพราะมาแก้ไข IMEI เองในภายหลัง (คนนำเข้าโทรศัพท์เถื่อน, คนประกอบโทรศัพท์ ต่างก็รู้กันแล้วว่ายี่ห้อไหนรุ่นไหนที่จะต้องใช้ IMEI อะไรจึงจะถูกต้อง)

สิ่งที่เราในฐานะประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมายควรที่จะรู้ และต้องการจะรู้ก็คือ "ประจักษ์พยานหรือหลักฐาน" ที่ชี้ชัดได้ว่า

1. SMS ดังกล่าวมาจากเครื่องของจำเลยจริง

2. จำเลยเป็นคนส่งข้อความด้วยตัวเองจริง

3. จำเลยมีสายสัมพันธ์หรือสามารถติดต่อโดยตรงกับเลขานุการนายกรัฐมนตรีทางโทรศัพท์มือถือได้จริง

ความยุติธรรมจะเกิด ถ้าหากโจทย์สามารถหาข้อพิสูจน์ดังกล่าวมาใช้เป็นหลักฐานปรักปรำได้จริง

ซึ่งจำเลยต้องรับโทษตามกฎหมาย

แต่ถ้าโจทย์ไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาได้นอกเหนือจาก IMEI ที่มีโทรศัพท์รุ่นเดียวกันอีกนับหมื่นนับแสนเครื่อง และยืนยันที่จะใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการปรักปรำจำเลยในคดีนี้ ...

โจทย์จะต้องตอบคำถามกับสังคมให้ได้ว่าต่อจากนี้ไปสังคมไทยจะยอมรับการใช้ IMEI เป็นบรรทัดฐานในการหาตัวผู้กระทำผิดทุกคดีที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือด้วยหรือไม่ ...

ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ผมเชื่อว่าจะมีความวุ่นวายตามมาอีกหลายคดีอย่างแน่นอน –

ที่มา go6

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คดี 112 : กรณีอำพล ตั้งนพกุล อากงวัย 60 กับคดีพิสดาร ข้อกล่าวหาส่งSMS

ศาลตัดสินคดี sms ‘อากง’ ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 20 ปี


วันที่ 21 มี.ค. 54 เวลา 9.00 น. ห้อง 804 ศาลอาญา รัชดา นัดตรวจพยานหลักฐานคดีฟ้องนายอำพล ตั้งนพกุล ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2),(3) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

คดีนี้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 สั่งฟ้องนายอำพล หมายเลขคดีดำที่ อ.311//2554 ลงวันที่ 18 มกราคม 2554 โดยนายอำพลถูกกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 9, 11, 22 พ.ค. 2553 เขาได้ใช้โทรศัพท์มือถือ หมายเลข 081-3493xxx พิมพ์ข้อความอันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติยศด้วยถ้อยคำหยาบคายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยส่งข้อความดังกล่าวไปยังโทรศัพท์มือถือที่มีหมายเลขโทรศัพท์ 081-4255xxx ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม

เหตุเกิดที่แขวงสามเสนใน เขตพญาไท,แขวง-เขตดุสิต กทม.,ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ เกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2), (3) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

จาก iLaw

รายละเอียด :

อัยการสั่งฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 311/54 กรณีนายอำพลตกเป็นผู้ต้องหาส่ง SMS ที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูงไปยังนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ มีความผิดตามมาตรา 14 (2),(3) ตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ฯ มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่ง คปค.ฉบับที่41


2 มีนาคม 2554 ทนายอานนท์ นำภาและทนายอาสา เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา14.00น. เพื่อนัดให้อากงเตรียมตัวเรื่องการยื่นประกันในอีกหนึ่งอาทิตย์ และศาลนัดพร้อมวันที่ 21 มีนาคม2554

อำพล ตั้งนพกุล


ชายวัย 61 ปี หรือที่คนในครอบครัวและคนอื่นๆ เรียกว่า “อากง”ตกเป็นผู้ต้องหาหมิ่นสถาบันด้วยการส่ง SMS ที่มีข้อความดังกล่าวไปยังเลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี


นายอำพล และภรรยา อาศัยอยู่ย่านสำโรงในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท โดยอาศัยเงินจากลูกๆ ที่ส่งให้คนละเล็กคนละน้อย เพราะสองลุงป้าไม่ต้องการเป็นภาระกับลูกซึ่งแยกย้ายกันไปมีครอบครัวแล้ว และที่สำคัญ ล้วนแต่หาเช้ากินค่ำกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เขาทั้งคู่ยังมีภาระต้องเลี้ยงดูหลาน 3-4 คน ซึ่งเป็นผลิตผลที่ลูกบางคนทอดทิ้งไว้อีกด้วย

ส่วน ‘ปุ้ย’ ลูกสาวอากงเป็นซิงเกิลมัม แต่สามียังช่วยส่งเสียลูก 2 คน ปัจจุบันปุ้ยกลายเป็นหัวเรือหลักในการดูแลแม่และดำเนินการเรื่องคดีพ่อ เธอมีอาชีพเป็นคนงานในโรงงานผลิตโฟมแถวบ้าน ได้ค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำ ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง วันนี้เธอสลับกะกับเพื่อนเพื่อส่งพ่อสูงวัยมารายงานตัวที่ศาลตั้งแต่เช้า และรอจนฟ้าเกือบมืดเพื่อฟังคำสั่งศาลซึ่งไม่ให้ประกันตัวพ่อของเธอ


อากงถูกตำรวจบุกจับกุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค.53 และถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อยู่ราว 2 เดือน จนได้รับอนุญาตให้ประกันตัวได้ในที่สุด สำหรับชาวบ้านธรรมดาหาเช้ากินค่ำ เรื่องราวของการที่ตำรวจเกือบ 20 นายพร้อมกองทัพนักข่าวบุกเข้าบุกค้นบ้านพักและทำการจับกุมในวันนั้นถือเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของภรรยาและหลานๆ อย่างไม่รู้ลืม

“มันเหมือนเราเป็นอาชญกรร้ายแรง เหมือนเราแปลกแยกกับคนอื่น เขาเข้ามาค้นทุกอย่าง ถ่ายรูปทุกอย่าง แม้แต่รูปหลานๆ ตัวเล็กๆ ที่ร้องกันกระจองงอแง มันน่ากลัว อย่าให้เกิดอีกเลย มันจะไม่มีแบบนั้นแล้วใช่มั้ย” ป้าอุ๊เล่าเรื่องไป ถามหาคำตอบไป

พาดหัวข่าววันต่อมาปรากฏข่าวจับกุมลุงอำพล พร้อมระบุว่าเป็นฮาร์ดคอร์เสื้อแดง มันทำให้ครอบครัวตั้งนพกุลหวาดระแวงกับนักข่าวตั้งแต่นั้น เพราะพวกเขายืนยันว่าอากงเป็นเพียงคนแก่ๆ ที่มีอาชีพหลักคือ อยู่บ้านเลี้ยงหลาน และด้วยความที่มีเวลาว่างมากในช่วงกลางวัน แกจึงมักจะเดินทางไปสังเกตการณ์กิจกรรมทางการเมืองหรืองานต่างๆ ที่จัดขึ้นเสมอ

“สมัยเสื้อเหลืองแกก็ไป ตอนในหลวงท่านป่วยช่วงแรกๆ แกก็ไปถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราช พอมาสมัยเสื้อแดงแกก็ไปดูอีก แต่ยังไงๆ แกก็ต้องกลับมาให้ทันรับหลานกลับจากโรงเรียน” ภรรยาอากงเล่า

อำพลให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้กระทำการ เพราะเพียงจะส่ง sms ยังส่งไม่เป็น เขาเคยกล่าวกับภรรยาว่าอย่างไรก็จะยืนยันเช่นนี้ จะฆ่าจะแกงแกก็ยอม

ป้าอุ๊ยังเล่าถึงความยากลำบากภายหลังอากงถูกจับว่า ทั้งครอบครัวระส่ำระสาย เพราะไม่มีเงินว่าจ้างทนายความ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป และเป็นห่วงอากงมาก กระทั่งได้เจอกลุ่มทนายอาสาที่เข้าให้ความช่วยเหลือ

แม้คดีความเพิ่งถึงชั้นศาล และยังศาลยังไม่ได้พิพากษา แต่สำหรับคดีเช่นนี้ สังคมไทยพิพากษาแล้วแต่แรก มันทำให้ป๊าอุ๊และหลานๆ ไม่สามารถอาศัยอยู่ห้องเช่าเดิมได้ ต้องหอบข้าวหอบของมานอนแออัดอยู่ที่ห้องเช่าของปุ้ย เพราะแม้แต่หลานตัวเล็กๆ ยังถูกกระแนะกระแหน ด่าว่า จากคนรอบข้าง ลูกชายคนเล็กต้องลาออกจากโรงงานเพราะถูกกดดันจากเรื่องคดีของพ่อ และลูกสาวถูกล้อเลียนในโรงงานว่าเป็นลูกฮาร์ดคอร์

“คนที่เข้าใจก็มี แต่กับคนที่ไม่เข้าใจเขาก็มาทำให้เราเจ็บปวดอยู่เสมอ คดีนี้ถึงที่สุดแล้วต่อให้ไม่ผิด ไม่ติดคุก สังคมก็ตัดสินเราไปแล้ว” ป๊าอุ๊ว่า

เธอกล่าวว่า เธอเชื่อว่าสามีของเธอไม่ได้กระทำการอย่างที่ยืนยัน แต่แม้ถ้าสามีกระทำการอย่างนั้นก็ไม่ควรลงทัณฑ์เลยมาถึงครอบครัว

“เป็นห่วงหลานๆ มากที่สุด ไม่อยากให้พวกเขาต้องลำบาก แค่ลำพังแค่พวกเราคนแก่ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราก็ตายกันแล้ว ป้าอยากให้หลานๆ เปลี่ยนนามสกุลใหม่ เขาจะได้ไม่ต้องมีปัญหากับเรื่องแบบนี้ มีชีวิตใหม่” ป้าอุ๊น้ำตาเอ่อ


ในชั้นสอบสวนของตำรวจ หลังอากงติดคุกอยู่ราว 2 เดือน ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็อนุญาตให้ประกันตัวในวันที่ 4 ต.ค.53 โดยให้เหตุผลว่าหลักประกันน่าเชื่อถือ หลังจากก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นให้เหตุผลที่ไม่อนุญาตให้ประกันว่าเป็นคดีร้ายแรงกระทบกระเทือนจิตใจคนไทย เกรงจะหลบหนี อย่างไรก็ตาม การปล่อยก็ทำให้ลุงอำพลได้ออกมารักษาแผลผ่าตัดมะเร็งใต้โคนลิ้นที่กำเริบจนลิ้นบวมคับปากได้ทันการณ์

จากนั้นวันที่ 18 ม.ค. อัยการจึงมีคำสั่งฟ้องและต้องประกันตัวอีกครั้งในชั้นพิจารณาคดี ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน ระหว่างรอคำสั่ง ลุงอำพลถูกคุมตัวไว้ในคุกใต้ถุนศาลไม่ยอมกินข้าวกินปลา เช่นเดียวกับป้าอุ๊ที่แม้อยู่นอกกรงขังก็ไม่ยอมกินข้าวเช่นเดียวกัน รอกว่า 8 ชั่วโมง จึงได้รับทราบคำสั่ง ก่อนที่ลุงอำพลจะถูกนำตัวไปไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เพิ่งจากมาอีกครั้ง

ตลอดเวลาที่ต้องถูกขังอยู่ข้างใน อากง ได้กำลังใจ และการปลอบประโลมซึ่งกันและกันจากพี่หนุ่ม ธันย์ฐวุฒิ เหยื่อคดีหมิ่นฯอีกท่านหนึ่งที่ถูกพรากจากลูกชายวัย 10 ขวบ พี่หนุ่มคอยช่วยดูและและรายงานข่าวคราว ประสานงานด้านสิ่งที่ขาดเหลือของอากง จนเป็นที่รู้จักกับญาติๆของอากง

2 มิถุนายน 2554 จดหมายฉบับหนึ่งถูกส่งผ่านทนายอานนท์ นำภา เพื่อให้กับพี่หนุ่มได้อ่าน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชะตากรรมที่ครอบครัวต้องประสบ หลังจากอากงต้องตกเป็นเหยื่อการเมืองด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ทนายอานนท์เล่าว่า
ผมได้รับจดหมายจากเรือนจำซึ่งในนั้นแนบจดหมายอีกฉบับหนึ่งมาด้วย ทุกข้อความในจดหมายล้วนเขียนด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความกำลังใจและความหวัง จดหมายฉบับดังกล่าวคือจดหมายที่ คุณแพว ลูกสาวของอากงจำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเขียนถึง พี่หนุ่ม เรดนนท์


ผมค่อยๆอ่านจดหมายและแน่ใจว่านี่คือความจริงในอีกด้านของประเทศอันเรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย ประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพ และประเทศแห่งรอยยิ้ม และน้ำใจให้แก่กัน … สมควรจะได้อ่านและรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น…

” สวัสดีคะ พี่หนุ่ม พวกเราลูกๆของเตี่ยทุกคนขออนุญาตเรียกคุณหนุ่มว่า “พี่” ในความรู้สึกของพวกเราเป็นแบบนั้นจริงๆ เหมือนกับมีพี่ชายที่คอยดูแลห่วงใยและให้กำลังใจครอบครัวของเราอยู่ ในความทุกข์ที่มืดมิดก็ยังมีแสงสว่างที่มาจากพี่หนุ่ม พวกเราได้รู้จักทนายความที่คอยให้ความช่วยเหลือเตี่ยและหลายๆคนที่มีน้ำใจให้กับพวกเรา สิ่งที่เราเป็นห่วงเตี่ยมากที่สุดคือ จิตใจที่อ่อนล้าและท้อแท้ของเตี่ย ความเข็มแข็งคงแทบจะหมดไปแล้ว ครั้งนี้ขอประกันตัวอีกกี่ครั้งก็ถูกปฏิเสธตลอด พวกเราเข้าใจว่ามันคงสาหัสมากกับความรู้สึกของเตี่ย ร่างกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงก็ยิ่งแย่มากขึ้น ความทุกข์ใจ ความกังวลใจที่เกดกับพวกเราอย่างมากเเพราะไม่สามารถคอยปลอบใจคอยดูแลได้ตลอด แต่ความทุกข์ของครอบครัวเราก็ยังเบาบางลงเพราะมีพี่หนุ่มคอยดูแล คอยให้กำลังใจ คอยกระตุ้นจิตใจของเตี่ย ขอขอบพระคุณพี่หนุ่มมาก พวกเราซาบซึ้งใจมากเหลือเกิน จนเขียนบรรยายไม่ถูก ได้แต่ขอเรียกพี่หนุ่มว่าเป็นพี่ชายของครอบครัวเรา ที่คอยดูแลเตี่ยให้กับน้องๆทุกคน

พี่หนุ่มไม่ใช่แค่แรงกระตุ้นให้กับเตี่ยเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงกระตุ้นให้กับครอบครัวตั้งนพกุลทุกคนไม่ให้ท้อแท้สิ้นหวัง อ่านจดหมายของพี่หนุ่มแล้วพวกเรามีกำลังใจมากขึ้น เพราะรู้ว่าไม่ได้สู้เพียงลำพังยังมีคนอื่นอีกมากมายที่โดนแบบเรา พวกเขาก็สู้เพื่อขอความยุติธรรมและอิสระภาพให้กับคนที่ต้องโดนแบบเตี่ยพวกเราพี่น้องทุกคนก็ไม่ท้อแท้แล้วยังมีหนทางสู้เพื่อเตี่ยของเรา พวกเราอยู่ข้างนอกต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งเพื่อคนข้างใน ครอบครัวของเราไม่เคยคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดกับพวกเราเพราะดูแล้วเป็นเรื่องที่ห่างไกลเหลือเกิน ในความเป็นคนไทยของเราครอบครัวเราทุกคน ให้ รักความเทิดทูนเคารพบูชาสถาบันมากที่สุด และเสียใจมากที่สถาบันลูกนำมาใช้อ้างโดยที่สถาบันไม่รู้ไม่เห็น มันเป็นความสะเทือนใจสำหรับประชาชนชาวไทยทุกคนเพราะคนไทยรักและเคารพสถาบันมากกว่าสิ่งใด พวกเราต้องสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ เพราะคดีนี้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยที่มีมดปลวกอย่างพวกเราเป็นแพะคอยรับบาป

สุดท้ายนี้ต้องขอโทษพี่หนุ่มมากๆที่เขียนตอบช้ามาก เพราะช่วงนี้วิ่งเต้นประกันตัวเตี่ย หยุดงานมากไปหน่อยเลยตกงาน มัวแต่พยายามหางานใหม่ทำอยู่เลยไม่ได้เขียนตอบกลับทันที ถึงจะต้องสู้กับการดำรงชีวิตกับสิ่งหลายๆอย่างรอบตัว แต่ขอยืนยันว่ายังไงคนที่อยู่ข้างนอกก็ไม่มีวันทิ้งคนที่อยู่ข้างในจะสู้ต่อไปเพื่อความถูกต้องและขอความยุติธรรมกับอิสระภาพให้คนข้างใน ขอเพียงคนข้างในอย่าสิ้นหวังเท่านั้น วันนั้นที่ไปดูการตัดสินคดีของพี่หนุ่ม ได้เจอน้องเว็บลูกชายพี่หนุ่มด้วยเป็นเด็กน่ารักมาก ขอให้พี่หนุ่มได้รับความยุติธรรมเร็วๆจะได้กลับไปอยู่กับน้องเว็บเร็วๆ เพราะรู้ดีว่าใจของคนที่รออยู่ข้างนอกเป็นยังไง พวกเราก็รอเตี่ยอยู่เหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะได้กลับมาอยู่กลับพวกเราเสียที

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

” ลูกแพว”

ทีมงานสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ยังต้องพบเจอกับเรื่องสะเทือนใจอีกมากมาย เช่น หลานๆของอากง คิดถึงอากงมาก เมื่อก่อนตอนที่อากงยังอยู่กับหลานๆ ทุกๆครั้งที่อากงไปส่งหลานๆแต่ละคนที่โรงเรียน ก่อนกลับก้จะบอกลากับหลานๆแบบติดตลกเป็นภาษาอังกฤษว่า I - Go หลานๆทุกคนยังจำเสีัยงได้ติดหู ยังจำภาพได้ติดตา เพียงแต่วันนี้ไม่มีอากงคอยมารับมาส่งหลานๆเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว

วันหนึ่งหลานๆพยายามช่วยกันเขียนจดหมายหาอากง ด้วยความคิดถึงและในวาระครบรอบวันเกิดอายุครบ 61 ปีของอากง หลานๆเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆ และให้กำลังใจอากง อยากซื้อเค้กวันเกิดให้อากงได้กิน แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะเรือนจำไม่ให้เอาเค้กเข้าไป จึงได้แต่วาดรูปเค๊กวันเกิดสีแดง มาให้อากง พร้อมกับเขียนข้อความของอากงที่หลานๆยังคงติดตรึงในใจ "I - Go" อากงนั่งอ่านจดหมายไปร้องไห้ไป


ทุกๆครั้งที่เราได้จัดกิจกรรม"ของขวัญสีแดง แด่เพื่อนสีแดง" เพื่อเข้าเยี่ยมเพื่อนนักโทษการเมืองทุกๆคน เราก็จะได้เห็นรอยยิ้มของอากง ที่มีให้กับทุกๆคนที่เข้าไปเยี่ยม ไปเป็นกำลังใจ อากงเป็นคนพูดไม่เก่งและพูดเสียงเบา ทุกๆครั้งที่ผมเข้าไปเยี่ยมมักจะมีแต่รอยยิ้มและคำขอบคุณให้กับทุกๆคนที่เข้าไปหา โดยไม่ได้พูดหรือเรียกร้องอะไร แต่ภายในดวงตา เปี่ยมไปด้วยความท้อแท้และสิ้นหวังกับโชคชะตา บนใบหน้ายังเจื่อนปนด้วยรอยยิ้ม จากการที่มีคนเข้ามาเยี่ยมเยือน

21 กันยายน 2554 ทีมงานนัดพบกับ"ป้าอุ๊"อีกครั้ง เพื่อเตรียมการเรื่องคดี ในการสืบพยานครั้งแรกคดีอากง ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ ที่ 23 กันยายนที่จะถึงนี้ ป้าอุ๊พาพวกเราไปดูบ้านหลังเก่า ในช่วงที่อากงถูกจับ เป็นห้องเช่าเล็กๆแถวสมุทรปราการ ราคาเดือนละ 1,200 บาท

ป้าอุ๊เล่าว่า ก่อนวันที่อากงจะถูกจับ มีตำรวจนอกเครื่องแบบคนนึง ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นตำรวจ ทำทีจะมาหาห้องเช่าในตึกแถวเดียวกันให้คนเก็บขยะมาอยู่ ซึ่งห้องริมสุดว่างอยู่ ป้าอุ๊ก็ช่วยเหลือต้อนรับขับสู้อย่างดี พาไปดูห้อง ไปหาเจ้าของตึก ด้วยน้ำใจไมตรี และก็พาเข้ามานั่งพักร่มในบ้าน นายตำรวจคนนั้นทำทีว่าห้องที่เขาจะเช่าไม่เหมือนห้องของป้าอุ๊เลย จึงขอถ่ายรูปไปเทียบกัน แล้วก็เอากล้องขึ้นมาถ่ายรอบๆบ้าน ถ่ายอากง ถ่ายป้าอุ๊ รวมถึงถ่ายรูปเด็กๆลูกหลานในบ้านเอาไว้ทุกคน

วันรุ่งขึ้นตอนเช้ามืด ตำรวจก็มากันเต็มบ้านนับสิบนาย นักข่าวอะไรก็มาเต็มเลย มาล้อมจับ ค้นข้าวของในบ้าน ใส่กุญแจมือเอาตัวอากงไปที่โรงพัก ทิ้งไว้เพียงเสียงร้องงอแงของหลานๆ และความตกใจปนหดหู่ของป้าอุ๊และลูกสาว(ปุ้ย) และเพิ่งรู้เมื่อเช้านั้นเองว่าคนที่มาทำทีเป็นเช่าบ้านข้างๆเมื่อวานเป็นนายตำรวจยศร้อยเอก ลูกชายคนหนึ่งของ"สนธิ บัง"


ในปัจจุบันนี้ป้าอุ๊ต้องรับภาระทำกับข้าว ซักผ้า เลี้ยงหลาน นั่งรถสามล้อไปรับไปส่งหลานทั้ง 5 คน เพียงลำพัง เนื่องจากลูกสาวต้องทำงานเพื่อส่งเงินมาเลี้ยงครอบครัว ช่วงนั้นลางานบ่อย เพราะต้องไปเยี่ยม ไปยื่นเรื่องประกันอากง จนลูกสาวต้องถูกให้ออกจากงาน ต้องวิ่งหางานใหม่ ป้าอุีมีรายได้จากที่ลูกๆสองคนส่งให้ เดือนละ 4,500 บาท ไว้เลี้ยงดูหลานทั้ง และใช้นั่งรถเมล์เดินทางไปเยี่ยมอากง วันไหนไปก็ต้องรีบกลับให้ทันมารับหลานๆกลับจากโรงเรียน เหนื่อยมากจริงๆ ไม่รู้ทำไมต้องมาเผชิญกับเรื่องแบบนี้

2-3 เดือนก่อนแม่อากงก็เพิ่งเสียไปด้วยวัย 95 ปี ไล่เลี่ยกันกับแม่ของป้าอุ๊ก็เสียในเดือนต่อมา อากงอยู่ข้างในได้แต่ร้องไห้เสียใจ ที่แม้แต่มากราบศพแม่ หรือมาร่วมงานศพ ยังไม่สามารถทำได้ ป้าอุ๊ก็ทำได้แค่เพียงปลอบเขา ให้ใช้ธรรมะช่วยพยุงจิตใจนะ เพราะปกติตอนก่อนถูกจับ อากงจะเป็นคนดูแล ป้อนข้าวป้อนน้ำให้กับแม่ของอากงอยู่ตลอด สลับกับหน้าที่ไปรับไปส่งหลานๆที่โรงเรียน ตอนนี้ขาดอากงไป ป้าอุ๊ก็เหนื่อยเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า ป้ารับไม่ค่อยไหว บางวันก็อารมณ์ไม่ดี หลานๆทะเลาะกันก็ยิ่งขุ่นหมองใจไปใหญ่ กับเรื่องเครียดๆของป้าเองด้วย

อากงเป็นคนเงียบๆ แต่เซ้นส์ซิทีฟ ครั้งนึงตอนที่ลูกสาวมาบ่นรำพึงให้ฟังอากงว่าในหลวงทรงประชวรหนัก นั่งทอดพระเนตรแม่น้ำเจ้าพระยา สงสารพระองค์จริงๆ อากงถึงกับร้องไห้ น้ำตาไหล ช่วงที่พระองค์ประชวรอากงก็ไปลงนามถวายพระพรที่โรงพยาบาล ช่วงงานศพพระพี่นาง อากงก็ไปร่วมงานกับเขา ไปสังเกตการณ์ทางการเมืองก็มักจะซื้อพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งเล็กทั้งใหญ่ติดมือกลับมาบ้านเป็นประจำ ไม่เข้าใจว่าทำไมอากงจะต้องมาโดนเล่นงานอะไรด้วยข้อหาแบบนี้ ป้ามั่นใจว่าอากงไม่ได้เป็นคนทำอะไรแบบนั้น แล้วถ้าอากงไม่ได้มีความผิดจริงๆนะ ป้าอยากจะบอกว่า "พวกเขาน่ะ ฆ่าป้าไปเยอะมากเลยนะ ฆ่าครอบครัวของป้า ทำลายครอบครัวของป้า แทนทีอากงจะได้อยู่กันพร้อมหน้าช่วยกันดูแลหลานๆ แต่ต้องมาเจออะไรร้ายแรงแบบนี้ "

ทุกคนในรถต่างนั่งฟังป้าคนหนึ่งเล่าถึงชีวิตของตนเองและความอยุติธรรมที่ถูกกระทำกับสามีของเธอ ซึ่งทำให้เธอและลูกหลานต้องเดือดร้อนลำบาก เหล่าทีมงานที่นั่งฟังต่างก็จุกอยู่ในลำคอ พูดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ได้ แต่ก็ได้แต่สัญญาว่าจะช่วยคดีอากงให้ถึงที่สุด ไม่ว่าผลมันจะออกมาในรูปแบบใด

วันศุกร์ที่ 23 กันยายนนี้ หากท่านใดว่า ขอเชิญมาร่วมให้กำลังใจ อากง อำพล ตั้งนพกุล ร่วมกันในการสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการส่งข้อความSMSให้นายกรัฐมนตรี ณ ศาลอาญารัชดา ครับ

รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลจากข้อเขียนของทนายอานนท์ นำภา สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ และทีมงาน(rli.in.th)

ขอขอบคุณ สหายจอมตั๊บ ผู้รวบรวมบนเฟรซบุ๊ค

ที่มา go6