กลุ่มนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระบุการเสียชีวิตของนายอำพล สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่ว คราว ย้ำสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐาน พร้อมเสนอปรับปรุงระบบรักษาพยาบาลเรือนจำ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย และศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของนายอำพล พร้อมระบุว่า การเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
1. ควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่วคราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน
2. เสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น
3. ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านายอำพล เสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม
//////////////////////////////////////////
อากง SMS เสียชีวิตในเรือนจำ ระหว่างรับโทษจำคุก 20 ปีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
องค์กรสิทธิ เรียกร้องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและสิทธิในการรักษาพยาบาล
วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.10 นายอำพล หรือที่รู้จักกันในนาม “อากง” ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขณะถูกลงโทษจำคุก 20 ปี ในคดีซึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ชี้แจงว่า นายอำพลถูกส่งมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องในช่วงเที่ยงวันศุกร์ 4 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา และได้เข้าเตียงเมื่อ 15.40 น. แต่ยังไม่ได้รับการตรวจอย่างละเอียดเนื่องจากหมดเวลาทำการของห้องแล็บและ เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้มีการเจาะเลือดในวันนี้แต่ยังไม่ทราบผล จนกระทั่งนายอำพลได้เสียชีวิตลง ขณะนี้อยู่ระหว่างการชันสูตรพลิกศพ
นายอำพลถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 และถูกคุมขังสองเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัว แต่ในวันที่18 มกราคม 2554 อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ศาลกลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาจนกระทั่งมีคำ พิพากษาในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ให้จำคุก 20 ปี ระหว่างการต่อสู้คดีทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวหลายครั้งแต่ศาล มีคำสั่งไม่อนุญาต กระทั่งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้ สิ้นสงสัยได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด โดยเพียงลำพังหมายเลขอีมี่ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้ ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญาจึงต้องยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง พร้อมทั้งได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอีกครั้งโดยมีนักวิชาการ 7 ท่านใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน ประกอบกับเหตุผลว่านายอำพลไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ดังจะเห็นได้จากการที่นายอำพลไม่เคยขัดขืนการจับกุมและยังเคยได้รับการ ประกันตัวในชั้นสอบสวน ซึ่งระหว่างการประกันตัวดังกล่าวก็ได้มารายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอตามนัด อีกทั้งนายอำพลอายุมากแล้วและป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่องปากซึ่งต้องไปพบแพทย์ เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับฐานะยากจนอยู่อาศัยกับภรรยาและหลานเล็ก ๆ สามคน ไม่มีความสามารถที่จะหลบหนีได้ แต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายอำพลตามที่ร้องขอ โดยศาลให้เหตุผลว่าเนื่องจากความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีที่มี ความร้ายแรง ประกอบกับยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี และการที่อ้างความเจ็บป่วยนั้นก็ไม่ปรากฎว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ซึ่งเป็นการปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 8 ต่อมาทนายจำเลยได้ถอนอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีรายชื่อแนบท้าย แถลงการณ์ฉบับนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ่งต่อครอบครัวของนายอำพล และเห็นว่าการเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ จึงมีความเห็นและข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการ ยุติธรรม ภายใต้หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า จะพิสูจน์จนสิ้นสงสัยได้ว่ามีความผิด ดังนั้นหลักกฎหมายอาญาจึงกำหนดให้ “จำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก และการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเพียงข้อยกเว้น” ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองไว้อย่างเป็นสากลทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี
ในกรณีที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ศาลต้องแสดงเหตุผลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานที่เป็นภาวะวิสัยและน่า เชื่อถือได้ว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่ออันตรายประการอื่น โดยที่เหตุผลเกี่ยวกับความหนักเบาของโทษและความร้ายของของพฤติการณ์แห่งคดี มิใช่ “เหตุหลัก” ตามกฎหมายที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราว กรณีการเจ็บป่วยจนเสียชีวิตของนายอำพลจึงเป็นบทเรียนถึงสิทธิในการปล่อยตัว ชั่วคราวจำเลย และการใช้ดุลพินิจของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม
ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าว จึงควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่ว คราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน
2. สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลนั้น หมายถึงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพบว่านายอำพลเป็นโรคมะเร็งช่องปากต้องเฝ้าระวังการ ลุกลามของโรคโดยต้องไปพบแพทย์ทุก 3 - 6 เดือน แต่เมื่อนายอำพลไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราว และทางเรือนจำไม่สามารถให้การรักษาในลักษณะเฝ้าระวังโรคเพียงแต่สามารถรักษา ตามอาการได้เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายอำพลเสียชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษา พยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น
3. เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ จึงต้องทำการชันสูตรพลิกศพ และมีการไต่สวนเพื่อให้ศาลทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 150 จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านาย อำพลเสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม
กรณีการเสียชีวิตของนายอำพล ถือป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับสังคมไทยและสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักกฎหมาย ตลอดจนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อ บุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมือง การตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงและการจำกัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคล ตลอดจนสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ศูนย์ข้อมูลชุมชน(Community Resource Centre)
ที่มา prachatai
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย และศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของนายอำพล พร้อมระบุว่า การเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
1. ควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่วคราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน
2. เสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น
3. ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านายอำพล เสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม
//////////////////////////////////////////
อากง SMS เสียชีวิตในเรือนจำ ระหว่างรับโทษจำคุก 20 ปีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
องค์กรสิทธิ เรียกร้องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและสิทธิในการรักษาพยาบาล
วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.10 นายอำพล หรือที่รู้จักกันในนาม “อากง” ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขณะถูกลงโทษจำคุก 20 ปี ในคดีซึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ชี้แจงว่า นายอำพลถูกส่งมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องในช่วงเที่ยงวันศุกร์ 4 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา และได้เข้าเตียงเมื่อ 15.40 น. แต่ยังไม่ได้รับการตรวจอย่างละเอียดเนื่องจากหมดเวลาทำการของห้องแล็บและ เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้มีการเจาะเลือดในวันนี้แต่ยังไม่ทราบผล จนกระทั่งนายอำพลได้เสียชีวิตลง ขณะนี้อยู่ระหว่างการชันสูตรพลิกศพ
นายอำพลถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 และถูกคุมขังสองเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัว แต่ในวันที่18 มกราคม 2554 อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ศาลกลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาจนกระทั่งมีคำ พิพากษาในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ให้จำคุก 20 ปี ระหว่างการต่อสู้คดีทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวหลายครั้งแต่ศาล มีคำสั่งไม่อนุญาต กระทั่งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้ สิ้นสงสัยได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด โดยเพียงลำพังหมายเลขอีมี่ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้ ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญาจึงต้องยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง พร้อมทั้งได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอีกครั้งโดยมีนักวิชาการ 7 ท่านใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน ประกอบกับเหตุผลว่านายอำพลไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ดังจะเห็นได้จากการที่นายอำพลไม่เคยขัดขืนการจับกุมและยังเคยได้รับการ ประกันตัวในชั้นสอบสวน ซึ่งระหว่างการประกันตัวดังกล่าวก็ได้มารายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอตามนัด อีกทั้งนายอำพลอายุมากแล้วและป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่องปากซึ่งต้องไปพบแพทย์ เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับฐานะยากจนอยู่อาศัยกับภรรยาและหลานเล็ก ๆ สามคน ไม่มีความสามารถที่จะหลบหนีได้ แต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายอำพลตามที่ร้องขอ โดยศาลให้เหตุผลว่าเนื่องจากความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีที่มี ความร้ายแรง ประกอบกับยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี และการที่อ้างความเจ็บป่วยนั้นก็ไม่ปรากฎว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ซึ่งเป็นการปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 8 ต่อมาทนายจำเลยได้ถอนอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีรายชื่อแนบท้าย แถลงการณ์ฉบับนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ่งต่อครอบครัวของนายอำพล และเห็นว่าการเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ จึงมีความเห็นและข้อเสนอดังต่อไปนี้
1. สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการ ยุติธรรม ภายใต้หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า จะพิสูจน์จนสิ้นสงสัยได้ว่ามีความผิด ดังนั้นหลักกฎหมายอาญาจึงกำหนดให้ “จำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก และการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเพียงข้อยกเว้น” ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองไว้อย่างเป็นสากลทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี
ในกรณีที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ศาลต้องแสดงเหตุผลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานที่เป็นภาวะวิสัยและน่า เชื่อถือได้ว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่ออันตรายประการอื่น โดยที่เหตุผลเกี่ยวกับความหนักเบาของโทษและความร้ายของของพฤติการณ์แห่งคดี มิใช่ “เหตุหลัก” ตามกฎหมายที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราว กรณีการเจ็บป่วยจนเสียชีวิตของนายอำพลจึงเป็นบทเรียนถึงสิทธิในการปล่อยตัว ชั่วคราวจำเลย และการใช้ดุลพินิจของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม
ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าว จึงควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่ว คราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน
2. สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลนั้น หมายถึงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพบว่านายอำพลเป็นโรคมะเร็งช่องปากต้องเฝ้าระวังการ ลุกลามของโรคโดยต้องไปพบแพทย์ทุก 3 - 6 เดือน แต่เมื่อนายอำพลไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราว และทางเรือนจำไม่สามารถให้การรักษาในลักษณะเฝ้าระวังโรคเพียงแต่สามารถรักษา ตามอาการได้เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายอำพลเสียชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษา พยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น
3. เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ จึงต้องทำการชันสูตรพลิกศพ และมีการไต่สวนเพื่อให้ศาลทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 150 จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านาย อำพลเสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม
กรณีการเสียชีวิตของนายอำพล ถือป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับสังคมไทยและสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักกฎหมาย ตลอดจนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อ บุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมือง การตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงและการจำกัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคล ตลอดจนสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ศูนย์ข้อมูลชุมชน(Community Resource Centre)
ที่มา prachatai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น