นาฬิกา รูปภาพ ปฎิทิน


       เวลาประเทศไทย...  
 
 
 

       ปฏิทินวันนี้...  

News online

Radio

REDPLUS  LIVE 1
ผู้กล้าปชต. 90.25 MHz
REDSIAM
SOOMHUAGUN
วิทยุ 3DANG 1
วิทยุแกนนอน
วิทยุม้าเร็ว 1
THAIVOICE 2
ติดต่อเรา way2fight.rs@gmail.com
Blog นี้เข้าได้สองทางนะครับ http://way2fight.blogspot.com และ http://fighttillwin.blogspot.com แต่ละ Blog มีบทความให้อ่านต่างกันครับ แต่นอกนั้นเหมือนกันหมดครับ C box เดียวกันครับ เข้าทางไหนก็คุยกันได้ครับ สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาคุยอย่างเดียวเชิญทางนี้ครับ http://way2fight.cbox.ws/ (ห้องสีชมพู) และ http://winniebetter.cbox.ws/ (ห้องสีฟ้า) สำหรับท่านที่ต้องการอ่านแต่บทความอย่างเดียวเพราะคอมช้า ทำให้เสียเวลาในการโหลดหน้าเวบ ทางทีมงาน Blog ได้รวบรวมบทความทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว เชิญทางนี้เลยครับ http://way2fightnews.blogspot.com/

way2fight C-Box

ห้องลับสำหรับคุยหลังไมค์

World Clock เวลาทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พิพากษาจำคุก 2 ปีครึ่ง คดีหมิ่นสถาบันคดีที่ 5 ของ ‘สุรชัย’ รวม 12 ปีครึ่ง


28 พ.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553 ที่สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ถูกฟ้องในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามมาตรา 112 จากกรณีขึ้นปราศรัยที่สนามหลวง คดีนี้นับเป็นคดีที่ 5 ในคดีหมิ่นที่อยู่ในชั้นพิจารณาคดีของสุรชัย โดยสุรชัยได้รับการเบิกตัวจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาขึ้นศาลในวันนี้ และกลับคำให้การจากการปฏิเสธเป็นรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาให้ลงโทษตาม ม.112 จำคุก 5 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน และให้นับโทษต่อจาก 4 คดีก่อนหน้า รวมแล้วสุรชัยได้รับโทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำเลยได้แถลงต่อศาลว่ายอมรับสารภาพในคดีนี้เนื่องจากได้รับทราบจากรัฐบาลว่าจะเยียวยาผู้ที่ถูกคุมขังด้วยคดีทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือด้านการขออภัยโทษ และขอให้ศาล ตลอดจนอัยการช่วยพิจารณาให้คดีนี้ถึงที่สุดโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังอ่านคำพิพากษา ผู้พิพากษาได้สอบถามอาการป่วยของนายสุรชัย และบอกให้นายสุรชัยรักษาสุขภาพ

สุรชัยถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และต่อมลูกหมากโต ประกอบกับเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเคยทำบายพาสมาก่อน เขาระบุด้วยว่า แพทย์ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ให้ความเห็นว่าไม่ควรอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ ส่วนการนัดผ่าตัดนั้นต้องรอถึงวันที่ 15 มิ.ย.ตามการนัดของ รพ.ตำรวจ เพื่อฟังผลการตรวจเรื่องหัวใจแล้วจึงนัดผ่านตัดต่อมลูกหมากต่อไป การผ่าตัดคาดว่าจะทำที่ รพ.ราชทัณฑ์เพราะส่งไป รพ.อื่นไม่ได้ นอกจาก รพ.ตำรวจ หากต้องผ่าที่ รพ.ราชทัณฑ์ก็ต้องติดต่อจ่ายเงินประมาณ 8,000 บาท หลังจากนั้นอาจพักรักษาตัวที่ รพ.ราชทัณฑ์ แต่ไม่ใช่ในฐานะผู้ป่วย หรืออาจส่งกลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แต่หากเป็นไปได้ อยากไปอยู่ที่เรือนจำชั่วคราว บางเขน

“ถ้าถามว่าอยากอยู่ที่ไหน ตอบว่าบางเขน เพราะสะดวกเรื่องญาติเยี่ยม และได้ให้ความรู้แก่น้องๆ อาหารการกินสะดวก การทำเรื่องขออภัยโทษก็จะได้ร่วมกัน สะดวก การเรียกร้องนิรโทษกรรมกลุ่มบุคคลที่ถูกขังอยู่ในคุกทำได้และทำมาแล้วหลายครั้ง เช่น ปี 2532 นิรโทษแก่ผู้นำ พคท.ที่ถูกจับ อาทิ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล” สุรชัยระบุ

ด้านนางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ได้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนเงินค่าผ่าตัดต่อลูกหมากของนายสุรชัยในงานของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ซึ่งจัดเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) โดยระบุว่าได้เงินบริจาคเป็นเงิน 38,369 บาท

สุรชัย โดนคดีหมิ่นฯ ที่ไหนบ้าง?


คดีปราศรัยเวทีตาสว่าง  อิมพีเรียล ลาดพร้าว
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/46

คดีปราศรัยที่เชียงใหม่
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/47

คดีปราศรัยที่อุดรธานี
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/48

คดีปราศรัย วัดสามัคคีธรรม
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/50

(ล่าสุด) คดีปราศรัยที่เวทีนปช.
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/49

ที่มา prachatai

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คดี 112 : กรณีประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เดอะ เนชั่น

เผย 7 บทความ ‘ประวิตร’ ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ‘ไอแพด’



กรณีล่าสุดของการร้อง โดยนายวิพุธ สุขประเสริฐ ผู้ฟ้องคดีด้วยกฎหมายมาตราดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ดเพิ่มสถิติให้รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษคดี อาญามาตรา 112 อีก 7 กรณี จากการที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือไอแพด ทุกข์กล่าวโทษนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และคอลัมนิสต์ของเว็บไซต์ประชาไท ด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยอ้างบทความจำนวน 7 ชิ้น

บทความทั้ง 7 ที่ได้นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประชาไท มีดังนี้

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมยากล่อมประสาท
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ปัญหาความดีของ "คนดี"
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สถานการณ์ที่หม่นหมองของสื่อมวลชน
@PravitR: ทวีตนี้แด่อากง SMS

ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ม.112 กับการเซ็นเซอร์ข้อมูลต่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

สำหรับ ความคืบหน้าในสำนวนคดี ร.ต.ท. เมธี ศรีวันนา พนักงานสอบสวน (สบ1) สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด ได้ส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์มายังกองบรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน และไอพีแอดเดรส ซึ่งทางประชาไทยังไม่มีการติดต่อกลับไป

อย่างไรก็ตาม นายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณธิการบริหาร ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวแก่นายประวิตร ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เขียนมายังกอง บรรณาธิการ

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายประวิตร แต่อย่างใด

สำ หรับสภ. เมืองรอยเอ็ด กำลังเป็นสถานีตำรวจที่น่าจับตาในแง่สถิติการร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งที่ผ่านมา นายวิพุธ สุขประเสริฐ ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้เขียนบทความและผู้แสดงความเห็นในเว็บไซต์ประชาไทไป แล้วทั้งสิ้น 15 ราย รวมบรรณาธิการและผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท

พ.ต.ท.สุ คิด เพ็ชรโยธา พนักงานสอบสวน สบ.3 เจ้าของคดี ที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือนามปากกา "I Pad" ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือนามปากกา นักปรัชญาชายขอบ เคยให้ข้อมูลกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า ในทางปฏิบัติ กระบวนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนสอบสวนคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าว โทษด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ความเห็นของพนักงานสอบสวนยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนต้องส่งไปให้ ตร.ภูธรภาค และ ตร.ส่วนกลางพิจารณาตามลำดับ แม้ สภ.เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งให้พิจารณาเช่นกัน

พ.ต.ท.สุคิดให้ความเห็นกรณี ที่มีการฟ้องร้องที่ สภ.เมืองร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมากว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกคดี หากไม่เช่นนั้นก็จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจึงเป็นผู้ใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในชั้นสืบสวนสอบสวน หากเห็นว่ากรณีใดไม่เข้าลักษณะความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 เลย และได้รับความเห็นจาก ตร.ภาคและตร.ส่วนกลางแล้ว ก็จะไม่ดำเนินการต่อ จากการณีของนายวิพุธที่ร้องบุคคลจำนวน 5 รายในการร้องทุกข์คราวเดียวกับสุรพศ แต่ตำรวจสอบแล้วมีมูลเพียง 2 ราย

พ.ต.ท. สุคิดระบุว่า การร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกกรณี แต่หากกรณีใดไม่เป็นข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการสืบสวนและสั่งฟ้องแล้ว ผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดยไม่มีมูลก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษกลับได้ในฐานะ แจ้งความเท็จ

ทั้งนี้ อนุกรรมการฯ ได้สอบถามกรณีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่สภ.เมืองร้อยเอ็ดจำนวนมากกว่า ปกติ พ.ต.ท.สุคิดรับว่าจากปี 2553 เป็นต้นมา มีการร้องทุกข์มากจริงและมีสถิติสูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4 ด้วยกัน


ที่มา prachatai

.............................................................

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ร้อง โดนฟ้อง ม. 112

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ The Nation ระบุ อาจโดนฟ้องจาก 8 บทความเสี่ยงที่ได้เผยแพร่ในเว็บประชาไท


ขณะ นี้ อยู่ในขั้นที่ตำรวจกำลังสำรวจตรวจสอบบทความทั้ง 8 ชิ้นที่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องได้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหัวข้อเนื้อหาด้านล่างจากเว็บประชา ไท

ขณะนี้ (อัพเดตล่าสุด) ทางประชาไทระบุถึงชื่อบทความ 7 ชิ้นที่โดนฟ้องร้อง ประกอบด้วย

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมยากล่อมประสาท
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ปัญหาความดีของ “คนดี”
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สถานการณ์ที่หม่นหมองของสื่อมวลชน
@PravitR: ทวีตนี้แด่อากง SMS

ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ม.112 กับการเซ็นเซอร์ข้อมูลต่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีผู้คนจำนวนมาก ทั้งบุคคลทั่วไปและนักวิชาการถูกฟ้องจากกรณีดังกล่าว เช่น นักวิชาการอย่าง อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกกองทัพบกยื่นฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีการเขียนบทความถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีหลังพระราชทานสัมภาษณ์ออกทีวีในรายการ “วู้ดดี้เกิดมาคุย”

หรือ กรณีของนักวิชาการอย่างคุณสุรพจน์ ทวีศักดิ์ ซึ่งมีนามว่านักปรัชญาชายขอบ ก็ถูกข้อกล่าวหากระทำความผิดตามมาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่มาจากการแสดงความเห็นจากบทความของอาจารย์สมศักดิ์ฯ เรื่อง  “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?”

และ ยังมีรายชื่อผู้คนอีกจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องตามประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 ฟ้องตามมาตราอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 และการวินิจฉัยให้เลิกจ้าง ถอนประกันตัว รวมถึงการออกหมายเรียก อันเนื่องมาจากมีพฤติกรรมสนับสนุนความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ที่มา siamintelligence

สุรชัย นอน รพ.ราชทัณฑ์รอผ่าต่อมลูกหมากหลังขึ้นศาลคดีสุดท้าย 28 พ.ค.


23 พ.ค.55  นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่าสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน)  เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่าน หลังจากที่ตนได้เข้าให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 พ.ค.โดยโต้แย้งข้อมูลทางการ เพื่อยืนยันว่าสถานพยาบาลภายในเรือนจำไม่ได้มีหมอประจำอย่างที่ทางราชทัณฑ์ ให้ข้อมูล จากนั้นในวันรุ่งขึ้น(17 พ.ค.) ทางเรือนจำได้ส่งตัวนายสุรชัย ซึ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต และมีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารไม่ค่อยได้ไปตรวจที่โรงพยาบาลตำรวจ ก่อนจะรับเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์เพื่อรักษาจนปัจจุบัน และแพทย์ได้ทำการนัดเพื่อผ่าตัดต่อมลูกหมากแล้ว แต่นายสุรชัยขอเลื่อนไปหลังวันจันทร์ที่ 28 พ.ค.นี้ซึ่งต้องเดินทางไปศาลในคดีหมิ่นฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553 (ปราศรัยที่ท้องสนามหลวง) คดีสุดท้ายเสียก่อน ซึ่งจะมีการนัดพร้อม ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยถือเป็นนัดพิพากษาเพราะจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว หลังจากในตอนต้นให้การปฏิเสธ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็ได้มีการส่งตัวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ อีกรายจากทัณฑสถานหญิงกลางไปตรวจยังโรงพยาบาลตำรวจด้วยเพื่อเตรียมการผ่าตัด อาการขากรรไกรยึดติด ซึ่งปัจจุบันมีอาการหนักขึ้นทำให้อ้าปากได้เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดารณีระบุว่าต้องการประกันตัวเพื่อรักษาอาการดังกล่าวเอง ไม่ต้องการผ่าตัดและอยู่ภายใต้การดูแลของราชทัณฑ์เนื่องจากเป็นการผ่าตัด ใหญ่ที่ต้องเปิดกะโหลกและเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทอีกทั้งหมอยังระบุว่าต้อง พักฟื้นเป็นปี หากเป็นไปได้ต้องการย้ายไปเรือนจำใหม่ เช่นเดียวกับนักโทษทางการเมืองอื่นๆ และดำเนินการประกันตัว ทั้งนี้ คดีของดารณียังไม่สิ้นสุดเนื่องจากมีการอุทธรณ์คดีไปแล้วภายหลังจากที่มี ข่าวว่าเธอจะยอมถอนอุทธรณ์เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ

นอกจาก นี้นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดารณียังแจ้งว่า วานนี้ (22 พ.ค.) ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงเนื่องจากน้องสาวถูกผู้ ต้องขังที่มีปัญหาขัดแย้งกันลอบทำร้าย 4 ครั้งภายใน 2 วัน เช่น ปาด้วยขวดน้ำใส่ แต่หลบทันจึงไม่โดน แต่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลกลับไม่สนใจ และเมื่อคู่กรณีของน้องสาวถูกนักโทษคนอื่นทำร้าย เจ้าหน้าที่ก็ยังเพ่งเล็งว่าดารณีเป็นผู้จ้างวาน

เสื้อแดงนัดทุกพุธ เดินสายคุกเก่าเยี่ยม 112 –คุกใหม่เยี่ยมนักโทษเสื้อแดง
วัน เดียวกัน ที่เรือนจำ หลักสี่ คนเสื้อแดงราว 50 คน นำโดยนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งหมดพร้อมเลี้ยงอาหารกลางวัน โดยประชาชนกลุ่มดังกล่าวนัดหมายจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และผู้ต้องขังคดีการเมืองอื่นๆ ที่เรือนจำหลักสี่ทุกวันพุธเวลา 11.00 น.

ที่มา prachatai

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : 'อากง' ผู้บริสุทธิ์

ในโลกไซเบอร์ของพวกสลิ่ม มีสมาชิกผู้หนึ่งได้โพสต์ข้อความอย่างหงุดหงิดว่า “อากงก็เป็นชาวบ้านธรรมดา ทำไมถึงให้ความสำคัญกันมากนัก” แต่ปรากฏว่า ฝ่ายเอเอสทีวีผู้จัดการ และกลุ่มฝ่ายขวา พยายามจะโจมตีว่า “ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช.” เป็นฝ่ายที่พยายามเอาศพอากงมาหากิน โดยพยายามสร้างให้ชาวบ้านธรรมดาอย่างอากงกลายเป็น”ผู้เสียสละตลอดกาล”

ความจริงแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย หรือ นปช.เลย ที่ทำให้”ชาวบ้านธรรมดา”แบบอากง กลายเป็นคนสำคัญถูกเอ่ยถึงอยู่ในสื่อมวลชน แต่เป็นเพราะอากง หรือ นายอำพน ตั้งนพคุณ เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกดำเนินการภายใต้กระบวนการใส่ร้ายป้ายสี ถูกละเลยสิทธิการประกันออกมารักษาตัวทั้งที่ป่วยหนัก และในที่สุดอากงก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งในเรือนจำเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ความตายของอากงนี้เอง กลายเป็นสิ่งที่จะท้อนความชั่วร้ายของมาตรา ๑๑๒ ความอำมหิตของศาลไทย และความล้มเหลวของระบบราชทัณฑ์ นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสะท้อนความงมงายมืดบอดทางปัญญาของพวกสลิ่มฝ่ายขวาในสังคมไทยอีก ด้วย

กรณีนี้ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้นำกำลังตำรวจหลายสิบคน ไปจับกุมนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” ที่บ้านพัก จังหวัดสมุทรปราการ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ ทั้งนี้เพราะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังกวาดล้างประชาชนคนเสื้อแดง ได้มีบุคคลลึกลับส่งข้อความทางโทรศัพท์ หรือเอสเอ็มเอส เป็นข้อความหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไปยังบุคคลในคณะรัฐบาล ต่อมา นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้แจ้งความต่อทางการตำรวจ และเมื่อได้มีการสืบหาตัวคนร้ายแล้ว ทางการตำรวจพบว่า นายอำพนคือผู้ต้องสงสัย จึงได้ดำเนินการจับกุม

ความจริงนายอำพน หรืออากง ในขณะนั้นมีอายุ ๖๐ ปี แต่มีสถานะเป็นเพียงผู้สูงอายุคนหนึ่ง ที่เลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ไม่ได้ประกอบอาชีพเพราะสุขภาพไม่สมบูรณ์ โทรศัพท์ที่มีก็ไว้ใช้ติดต่อกับลูกหลานเป็นหลัก อากงได้ปฏิเสธข้อกล่าวหามาตั้งแต่ต้น โดยยืนยันว่าเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ เคยพาหลานไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช และยังอธิบายว่า ตนเองส่งเอสเอ็มเอสไม่เป็น และไม่เคยรู้จักหรือทราบเบอร์โทรศัพท์ของเลขานุการนายกรัฐมนตรีเลย อย่างไรก็ตาม ในชั้นสอบสวนขั้นแรก อากงถูกควบคุมตัวในเรือนจำ ๖๓ วัน จนถึงวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังจากที่ทนายความขอยื่นประกันครั้งที่สอง ศาลก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่ออัยการยื่นฟ้องนายอำพลต่อศาล อากงก็เดินทางมาศาลตามนัดหมาย แต่กลับถูกศาลถอนประกันตัว โดยอธิบายว่า “ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน และ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี” ตั้งแต่นั้นมา อากงก็ต้องติดอยู่ในเรือนจำจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ ศาลชั้นต้นก็ตัดสินว่า อากงมีความผิดคือ เป็นผู้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ๔ ครั้ง ศาลจึงตัดสินจำคุกกระทงละ ๕ ปี รวมแล้วเป็น ๒๐ ปี ในที่นี้จะขออธิบายว่า ศาลตัดสินลงโทษในคดีนี้ทั้งที่หลักฐานอ่อนมาก โดยศาลเชื่อว่า โทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องเดียวกับโทรศัพท์ ของอากง เพราะมีเลขอีมี่ของเครื่องตรงกัน ทั้งที่สืบสวนได้ว่า ผู้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นใช้เบอร์โทรศัพท์ของดีแทค ส่วนเบอร์ที่อากงใช้อยู่นั้นเป็นของทรูมูฟซึ่งเป็นคนละเบอร์ แต่ศาลก็อ้างว่าโทรศัพท์ที่อากงใช้ ก็เป็นโทรศัพท์ ๒ ซิมการ์ด อากงจึงสามารใช้ ๒ เบอร์สลับกันได้ ศาลไม่รับฟังคำอธิบายว่าในเดือนที่เกิดเหตุนั้น อากงเอาโทรศัพท์ไปซ่อม จึงไม่ได้เป็นผู้ส่งข้อความ โดยหักล้างว่า จำเลยไม่สามารถยืนยันได้ว่าเอาโทรศัพท์ไปซ่อมที่ร้านไหน

ในประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของอากง ก็คือ การที่โจทย์ไม่สามารถสืบพยานได้เลยว่ามีใครรู้เห็นเหตุการณ์ว่าอากงส่งเอส เอ็มเอส แต่ศาลอธิบายเกลื่อนประเด็นนี้ว่า “แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่ง ข้อความตามฟ้อง ... แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของ ตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้ เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน” คำอธิบายลักษณะนี้ ขัดกับหลักการของกฎหมายเบื้องต้นที่ว่า ในการตัดสินให้จำเลยมีความผิด ศาลจะต้องมีข้อพิสูจน์ให้เห็นอย่างสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการ

ดังนั้น การตัดสินลงโทษอากงให้ถูกจำคุกถึง ๒๐ ปี จึงเป็นทั้งเรื่องของความไร้เหตุผลของมาตรา ๑๑๒ และเป็นการตัดสินคดีที่เกินกว่าเหตุ เพราะจำเลยไม่มีประวัติเป็นอาชญากรมาก่อนเลย และไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันว่าเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน ไม่ได้ก่ออาชญากรรมอันใดที่ร้ายแรง เพราะการส่งข้อความเอสเอ็มเอสจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องส่วน ตัวของผู้ส่งสารกับผู้รับสารเพียง ๒ คน ไม่ได้เป็นการก่ออาชญากรรมกับสังคมแต่อย่างใด นอกจากผู้รับข้อความแล้วไม่มีใครทราบข้อความนั้น จึงไม่มีอะไรที่จะไปกระทบความมั่นคงต่อพระราชอาณาจักร แต่ สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ได้อธิบายไว้ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๔ ว่า อากงนั้น เป็น “...บุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสีย หายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น...”

ในที่สุด เมื่ออากงเสียชีวิตในเรือนจำแล้ว ศาลถูกโจมตีอย่างหนัก เรื่องการละเมิดสิทธิการประกันตัวของผู้ต้องหา จึงทำให้อากงต้องถึงแก่กรรมในคุก นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้ออกมาแก้ต่างว่า คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาไปแล้ว ฝ่ายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ เนื่องจากประสงค์จะให้คดีสิ้นสุด และจะได้ใช้สิทธิยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นเมื่อถอนอุทธรณ์ให้คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยก็ไม่สามารถยื่นประกันตัวอีกได้ ดังนั้น ความรับผิดชอบในเรื่องการเสียชีวิตของอากง จึงเป็นเรื่องความผิดพลาดของราชทัณฑ์ ไม่ได้เกี่ยวกับความรับผิดชอบของศาล แต่เหตุผลนี้ถูกตอบโต้โดยทันทีจาก นายอานนท์ นำภา ทนายของอากง ซึ่งชี้แจงว่า ทนายได้ขอยื่นประกันมาแล้ว ๘ ครั้ง แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกัน และการไม่ได้ประกันตัวนี้เอง ทำให้อากงตัดสินใจถอนอุทธรณ์ เพื่อให้คดีสิ้นสุด ทั้งที่อากงยืนยันเสมอว่าไม่ได้เป็นผู้ส่งข้อความ หมายถึงว่ากระบวนการยุติธรรมไทยนั้น บีบบังคับให้จำเลยยอมจำนน ทั้งที่จำเลยยังยึดมั่นว่า ตนไม่ได้กระทำความความผิด

กรณีอากงถึงแก่กรรมในเรือนจำจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่สื่อมวลชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมาก โดยการเสนอข่าวของสื่อต่างประเทศมักพุ่งไปทีสามประเด็นหลัก คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมของไทย ปัญหาที่เกิดจากการใช้มาตรา ๑๑๒  และประเด็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ในยุคปัจจุบัน ขณะที่สื่อมวลชนกระแสหลักของไทยยังเลี่ยงที่จะกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ ดังนั้น พวกสลิ่มและสื่อมวลชนฝ่ายขวาทั้งหมด พยายามจะเสนอประเด็นว่า นักวิชาการฝ่ายก้าวหน้า และคนเสื้อแดง พยายามเอาศพอากงมาหากินเพื่อจะเคลื่อนไหวยกเลิกมาตรา ๑๑๒ เพื่อล้มเจ้า

ในกรณีนี้ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์  ผู้ประสานงาน ครก.๑๑๒ อธิบายว่า “ไม่มีใครอยากให้อากงเสียชีวิต เพียงหวังให้ มาตรา ๑๑๒ เป็นประเด็นที่สังคมกลับมาถกเถียงกันอีก คนปกติทั่วไปที่มีสามัญสำนึกดีจะไม่มีความคิดแบบนี้ นี่เป็นการโยงใยที่ไร้เหตุผลที่สุด แล้วน่ารังเกียจที่สุด มีแต่คนที่ชิงชังรังเกียจและตามืดบอดต่อปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา ๑๑๒ เท่านั้น ที่จะตั้งข้อสงสัยแบบนี้ได้”

นี่คือความมืดมนในสังคมไทย!

ที่มา prachatai

รายชื่อวีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเพราะใบอนุญาตฆ่าโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ระหว่าง 10 เม.ย.-19 พ.ค. 2553


BBC เสนอรายงานข่าวครบ 1 ปี 19 พฤษภา 53 ในคลิปนี้จะเห็นผู้ชุมนุมถูกยิงร่วงต่อหน้าต่อตาสหายของเขา ส่วนคลิปด้านล่าง RED USAจัดทำเพื่อสาปแช่งไอ้เหี้ยสั่งฆ่ากับอีห่าสั่งยิง ซึ่งจนบัดนี้ยังคงเป็นปริศนาว่าหมายถึงใคร..

 โดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 พฤษภาคม 2555


หลังจากที่ได้นำเสนอข่าวนี้ไปเมื่อ 19 พฤษภาคม 2554 ทีมข่าวไทยอีนิวส์ ขอนำเสนอรายชื่อของผู้เสียชีวิตในการปราบปรามประชาชนระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553  อีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมเตือนความจำถึงการปราบปรามประชาชนกลางท้องถนนท่ามกลางสายตาสื่อ นานาชาติและประชาชนชาวไทยจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

พร้อมกับขอร่วมแสดงความเสียใจอีกครั้งหนึ่งกับครอบครัวผู้สูญเสียทุกคน ที่ได้พยายามทวงถามความยุติธรรมมาตลอดสองปีที่ผ่านมา โดยที่ได้รัฐบาลที่คนเสื้อแดงเลือกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวผู้สังหารประชาชนมาลงโทษได้จนบัดนี้

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ณ วันที่ 10 เมษายน 2553

พลเรือน
1. นาย สวาท วงงาม, 43 ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย
2. นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข, 36 ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
3.นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
4. นายจรูญ ฉายแม้น, 46 ถูกยิงอกขวากระสุนฝังใน
5. นายวสันต์ ภู่ทอง, 39 ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
6. นายสยาม วัฒนนุกุล, 53 ถูกยิงอก ทะลุหลัง
7. นายมนต์ชัย แซ่จอง, 54 ระบบหายใจล้มเหลวจากโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตที่รพ.
8. นายอำพน ตติยรัตน์, 26 ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
9.นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
10. นายไพรศล ทิพย์ลม, 37 ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย เสียชีวิตที่ รพ.
11. นาย เกรียงไกร ทาน้อย, 24 ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง เสียชีวิตที่รพ.
12. นาย คะนึง ฉัตรเท, 50 ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังใน
13. นายนภพล เผ่าพนัส,30 ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตที่ รพ.
14. นายสมิง แตงเพชร, 49 ถูกยิงศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
15. นาย สมศักดิ์ แก้วสาน, 34 ถูกยิงหลัง ทะลุอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
16. นาย บุญธรรม ทองผุย, 40 ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน
17.นาย เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์, 29 แผลที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
18. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 40-50 บาดแผลเข้าสะโพกขวาตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ เสียชีวิตที่รพ.
19. นาย มานะ อาจราญ, 23 ถูกยิงศีรษะ ด้านหลังทะลุหน้า
20. นายอนันต์ สิริกุลวานณิชย์, 54 ถูกยิงเสียชีวิต

นักข่าวต่างชาติ
21. Mr. Hiroyuki Muramoto อายุ 43 ปี ถูกยิงอกซ้าย เสียชีวิตก่อนถึง รพ. (ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์)

ทหาร

22. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อายุ 43 ปี ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาด เสียชีวิตที่รพ.
23. พลฯ สิงหา อ่อนทรง อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด
24. พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
25. พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อายุ 25 ปี แผลเปิดกะโหลกท้ายทอย
26. พลฯ อนุพงษ์ เมืองร าพัน อายุ 21 ปี ทรวงอกฟกช ้า น่อง 2 ข้างฉีกขาด รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่ถนนสีลม ณ วันที่ 22 เมษายน 2553
27. นางธันยนันท์ แถบทอง อายุ 50 ปี ถูกสะเก็ดระเบิด เสียชีวิตถนนสีลม

* * * * * * * * *

รายชื่อผู้เสียชีวิตที่แยกศาลาแดง วันที่ 13 พฤษภาคม2553
28.พล.ต.ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 58 ปี ถูกยิงที่บริเวณศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
29. นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี มีแผลเปิดบริเวณท้ายทอย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามตั้งแต่วันที่ 14 - 19 พฤษภาคม 2553

30. นายปิยะพงษ์ กิติวงค์, 32 ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
31. นายประจวบ ศิลาพันธ์ ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
32. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ ถูกยิง เสียชีวิตที่ศาลาแดง
33. นายอินทร์แปลง เทศวงศ์, 32 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
34. นายเสน่ห์ นิลเหลือง, 48 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
35. นายชัยยันต์ วรรณจักร, 20 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
36. นายบุญทิ้ง ปานศิลา, 25 ถูกยิงที่คอ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ (อาสาสมัครวชิระฯ)
37. นายมนูญ ท่าลาด เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
38. นายพัน คำกลอง, 43 ถูกยิงหน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
39. นายกิติพันธ์ ขันทอง, 26 แผลที่ชายโครง เสียชีวิตที่รพ.
40. นายสรไกร ศรีเมืองปุน, 34 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
41. นายชาญณรงค์ พลอยศรีลา, 32 ถูกยิงหน้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ราชปรารภ
42. นายทิพเนตร เจียมพล, 32 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
43. นายสุภชีพ จุลทัศน์, 36 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
44. นายวารินทร์ วงศ์สนิท, 28 แผลที่หน้าอกขวา เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
45. นายมานะ แสนประเสริฐศรี, 22 แผลถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.(อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
46. นางสาวสันธนา สรรพศรี, 32 ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
47. นายธันวา วงศ์ศิริ, 26 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
48. นายอำพล ชื่นสี, 25 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
49. นายสมพันธ์ ศรีเทพ, 17 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
50. นายอุทัย อรอินทร์, 35 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 51. นายพรสวรรค์ นาคะไชย, 23 ถูกยิงหลายตำาแหน่ง เสียชีวิตที่รพ.
52. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง, 25 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
53. นายประจวบ ประจวบสุข, 42 เสียชีวิตที่เจริญกรุงประชารักษ์
54. นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล, 25 ถูกยิงที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
55. นายวงศกร แปลงศรี, 40 ถูกยิงที่หน้าอก เลือดออกในช่องอก เสียชีวิตที่รพ.
56. นายสมชาย พระสุวรรณ,43 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
57. นายสุพรรณ ทุมทอง, 49 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
58. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์, 27 ถูกยิงใต้ราวนมขวา เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
59. นายสุพจน์ ยะทิมา, 37 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
60. นานธนากร ปิยะผลดิเรก , 50 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
61. นายสมพาน หลวงชม, 35 ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
62. นายมูฮัมหมัด อารี(ออง ละวิน ชาวพม่า), 40 มีแผลที่หน้าอกทะลุหลัง เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ
63. นายธนโชติ ชุ่มเย็น, 34 บาดแผลกระสุนปืนทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่ เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ
64. นายถวิล คำมูล ,38 มีแผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
65. นายปรัชญา แซ่โค้ว , 21 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายตับ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
66. นายนรินทร์ ศรีชมภู บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง เสียชีวิตที่รพ.
67. น.ส.วาสินี เทพปาน เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
68. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ, 60 แผลที่ก้น เสียชีวิต 21 พค.53
69. นายกิตติพงษ์ สมสุข, 20 ไฟใหม้ตึกเซ็นทรัลเวิร์ล พบศพวันที่ 21 พค.2553
70. นายสมัย ทัดแก้ว, 36 71. นายรพ สุขสถิตย์
72. ชายไม่ทราบชื่อ โดนยิงขาหนีบ เสียชีวิตที่ราชปรารภ
73. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 14 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
74. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 26 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
75. หญิงไม่ทราบชื่อ ถูกยิง เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
76. ชายไม่ทราบชื่อ มีแผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
77. ชายไม่ทราบชื่อ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก สมองช ้า จากการถูกระแทก เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
78. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว, 33 จ. ขอนแก่น แผลที่หน้าอก
79. นายเพลิน วงษ์มา, 40 จ. อุดรธานี เสียชีวิตที่รพ.20 พค.53

นักข่าวต่างประเทศ
80. MR.Polenchi  Fabio ( นักข่าวชาวอิตาลี ) อายุ 48 ปี ถูกยิงที่หน้าอก เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ

ทหาร
81. พลทหารณรงค์ฤทธิ สาระ เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ (เสียชีวิตจากการปะทะที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เมษายน 2553)
82. สต.อ.กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันเพ็ญ อายุ 38 ปี มีบาดแผลกระสุนปืน เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ (คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงหน้าธนาคารกรุงไทย ถนนสีลม วันที่ 7 พฤษภาคม 2553)
83. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี อายุ 35 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณหน้าอกด้านขวา เสียชีวิตที่รพ. (จากการปะทะที่ประตู 4 สวนลุมพินี วันที่ 8 พฤษภาคม2553)
84. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
85. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ อายุ 44 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ

รายชื่อผู้เสียชีวิต 6 คนที่วัดปทุม วันที่ 19 พฤษภาคม 2553

86. นายวิชัย มั่นแพ อายุ 28 ปี
87. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 61 ปี
88. นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี
89. นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี
90. นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี
91. น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี

อนึ่ง ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 ว่ามีผู้เสียชีวิต 93 คน โดยเป็นผู้เสียชีวิตที่ต่างจังหวัดเพิ่มมาอีก 2 คน (ดูเพิ่มเติมศปช.แถลง 1 ปีความรุนแรง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้นเหตุ ยอดคนตายเพิ่มเป็น 93 ยังถูกขัง 133 คน)


* * * * * * * * *
ผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม 19 พฤษภาคม 2553 อ้างอิงต่อจากข่าวสดออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553


ผลตรวจ 6 ศพวัดปทุมวนาราม ถูกระดมยิงด้วยกระสุนขนาด 5.56 ม.ม. ที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 หรือทาโวร์ เผยน้องเกด (กมนเกต อักฮาด) โดนเข้าไป 10 นัด รายงานข่าวเปิดเผยว่า สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พ.ต.อ.น.พ.พรชัย สุธีรคุณ รอง.ผบก.นต. ได้ส่งรายงานผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม จำนวน 6 ศพ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ให้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน โดย ระบุผลการชันสูตรว่า ศพที่ 1 ผู้ตายชื่อ นายวิชัย มั่นแพ อายุ 61 ปี โดยระบุผู้ตายมีบาดแผลบริเวณผิวหนังทะลุบริเวณต้นแขนขวาด้านนอก บาดแผลผิวหนังทะลุต้นแขนขวา และบาดแผลบริเวณทรวงอกด้านขวา สันนิษฐานว่ากระสุนทะลุปอดขวา กะบังลม ตับ ไตขวา ขั้วยึด ลำไส้ พบเศษทองแดง 2 ชิ้น บริเวณขั้นยึดลำไส้ ทิศทางจากขวาไปซ้าย หน้าไปหลัง และบนลงล่าง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอดตับ

ศพที่ 2 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณหลังด้านซ้าย บาด แผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้ายส่วนบน กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านซ้ายซี่ที่ 3 ทะลุปอดซ้าย ทิศทางจากหลังไปหน้าแนวตรง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอด

ศพที่ 3 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี พบบาดแผลฉีกขาดตื้นๆ รูวงกลมบริเวณต้นแขนซ้าย 2 แห่ง พบบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้าย กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านหน้าซี่ที่ 2-3 กระดูกกลางอก ทะลุปอดซ้าย หัว ใจ ปอดขวา กะบังลม ตับ พบเศษทองแดงในเสื้อ เศษตะกั่วเล็กๆ ในหัวใจและปอด ทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง และบนลงล่าง สาเหตุการตาย กระสุนทำลายหัวใจ ปอด ตับ

- ถูกยิงที่หัว-หน้าทะลุหัวใจ

ศพที่ 4 นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี มีบาด แผลทะลุผิวหนังถึง 9 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระสุนทะลุซี่โครงซี่ที่ 2 ด้านซ้าย ทะลุปอดซ้าย ทะลุเยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด พบโลหะคล้ายหัวกระสุนปืนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างอยู่ที่เนื้อชายโครงด้านขวา ไม่ทะลุออกทิศ ทางจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง หลังไปหน้าเล็กน้อย สาเหตุการตาย ปอดคั่งเลือดทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด ตับคั่งเลือด เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก

ศพที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี ตรวจพบบาดแผลทะลุผิวหนังจำนวน 7 แห่ง พบรอยช้ำใต้หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย สมองพบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก กระ สุนทะลุกระดูกกรามด้านขวาหัก กระดูกโหนกแก้มขวาแตก พบเศษตะกั่วในช่องปากและฐานกะโหลกศีรษะ และพบเศษตะกั่วบริเวณกระดูกก้นกบ สาเหตุการตายถูกยิง 2 นัด ระยะเกินมือเอื้อม เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก เนื้อสมองช้ำ จากการถูกแรงกระแทก (กระสุนทะลุช่องปาก)

- "น้องเกด"ถูกรุมยิงโหด 10 นัด

ส่วน ศพที่ 6 เป็นหญิงชื่อ น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี พบว่ามีบาดแผลถูกยิงทะลุผิวหนังมากถึง 10 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระ สุนถูกเข้าที่หลังผ่านขึ้นด้านบนผ่านแนวลำคอหลังทะลุผ่านกะโหลกศีรษะซีกซ้าย ทะลุสมองน้อยและสมองใหญ่ พบชิ้นส่วนโลหะคล้ายหัวกระสุนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างที่กะโหลกด้านขวา ทิศทางจากล่างขึ้นบน หลังไปหน้า ขวาไปซ้ายเล็กน้อย ลักษณะหมอบลงกับพื้น หน้าหันลงพื้นดิน บาดแผลที่ 2-4 ถูกยิงเข้าบริเวณอก บาดแผลที่ 5-10 ถูกยิงบริเวณแขนและขา ลักษณะถูกระดมยิง สาเหตุการตายกระสุนทะลุหลังเข้าไปทำลายสมอง ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกยิงจากบนลงล่างหรือไม่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่า น.ส.กมนเกดหมอบหน้าแนบพื้น ถูกระดมยิง จากด้านหลัง ซึ่งการตรวจสอบที่แน่ชัดต้องมีพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุมาประกอบด้วย เพราะการจำลองใช้เลเซอร์มาวางแนววิถีกระสุนก็ทำไม่ได้ในกรณีนี้ เนื่องจากหัวกระสุนไปถูกกระดูกและกระดอนไปมาทำให้ร่างกายเสียหายมากจนไม่ สามารถจำลองแนวการยิงได้อย่างแน่ชัด

ส่วนการตรวจที่เกิดเหตุ กลุ่มงานตรวจอาวุธ และเครื่องกระสุนกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ได้รับของกลางจากผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ศพ ภายในวัดปทุมวนาราม พบเศษของลูกกระสุนปืนเล็ก (ทองแดง) ขนาด 5.56 ม.ม. จำนวน 5 ชิ้น เศษรองลูกกระสุนปืน (ทองแดง) ไม่สามารถระบุขนาดได้จำนวน 3 ชิ้น พบเศษตะกั่วทรงกลมไม่สามารถระบุได้จำนวน 3 ชิ้น ความเห็นผู้เชี่ยว ชาญ ของกลางที่พบเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกล ขนาด 5.56 ม.ม.และเป็นเครื่องกระสุนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้และ เป็นกระสุนปืนที่สามารถยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้


สำหรับผลการชันสูตรทั้ง 6 ศพที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม ลงชื่อ พ.ต.อ.พิภพ ไกรวัฒนพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 4) กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

* * * * * * * * *
ที่มา
สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่ 10 เม.ย.- 19 พ.ค.2553 รวม 89 ราย บาดเจ็บ 1,855 คนข่าวสดออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553


ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ กลุ่มมรสุมชายขอบ, ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
* * * * * * * * *
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กบัญชีมือฆ่าหมู่10เมษา-19พฤษภา ใครเป็นมือสไนเปอร์ ใครเหี้ย..มสังหารหมู่วัดปทุม ใครเผาCTW? 


ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


ขอสดุดีวีรชน เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์


แฉโฉม5สมุนเหี้ย..มทีมฆ่า6ศพวัดปทุมฯ เปิดตัวเอ้คุมสังหารหมู่10เมษา-19พฤษภา ใคร?แก๊งดับเสธ.แด


รปภ.ห้างเปิดปาก19พ.ค.เสื้อแดงบริสุทธิ์ แฉทหารยึดก่อนเผา-6ศพวัดปทุม5นายสิบจำนนสารภาพยิงบทความ: 6ศพในวัดปทุมฯ..ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดกี่ใบถึงจะพอหือ

ที่มา thaienews

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

‘สุรชัย แซ่ด่าน’ สุขภาพแย่ ทำพินัยกรรม ถ้าตายรอเผาเมื่อแก้/ยกเลิก 112 สำเร็จ

วันนี้ (14 พ.ค.55) รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้เขียนพินัยกรรมระบุว่าในเร็วๆ นี้จะเข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก และขณะนี้อาการไขมันอุดตันในเส้นเลือดเริ่มมีอาการ หลังผ่าตัดทำบายพาสหัวใจมาเมื่อ 8 ปีที่แล้ว จึงอาจตายในคุกต่อจากอากง เพราะอายุ 70 ปีแล้ว

นายสุรชัยจึงทำพินัยกรรมเอาไว้ ว่า ถ้าตายไปใครอย่าเผา ใครเผาขอสาปแข่ง ให้แห่ศพไปสวดทุกๆ ที่ที่มีคนเป็นเจ้าภาพ เพื่อรณรงค์ให้แก้ไข หรือยกเลิก มาตรา 112 สำเร็จเมื่อไหร่ค่อยเผาศพ
         พินัยกรรมซึ่งภรรยาคัดลอกจากปากคำที่ได้เข้าเยี่ย


ทั้ง นี้ คดีของนายสุรชัย คดี อ.1177/2555 อัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 เม.ย.55 ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 -  6  ก.พ. 54  เวลากลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยบังอาจกล่าวปราศรัยบนเวทีชั่วคราวด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี  และองค์รัชทายาท เหตุเกิดบนเวทีปราศรัยชั่วคราวลานวัดสามัคคีธรรม ซ.ลาดพร้าว 64  แขวง - เขตวังทองหลาง ซึ่งศาลอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้วสอบถาม ซึ่งจำเลยแถลงให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี
จาก นั้น เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.55 ศาลนัดสอบคำให้การจำเลยและมีคำพิพากษาระบุ ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  พิพากษาให้จำคุก 5 ปี  ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน โดยให้นับโทษจำเลยต่อในคดีหมิ่นเบื้องสูงของศาลอาญาอีก 3 สำนวน คดีแดง อ.503/2555, 504/2555 และ 505/ 2555 ที่ศาลอาญา พิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือนด้วย เมื่อรวมโทษจำเลยทั้งหมดแล้ว จึงจำคุกสิ้น 10 ปี

ที่มา prachatai

เปิดจดหมายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถึง อากง “อิสรภาพจากคนเป็นถึงคนตาย”

 

หมายเหตุ: ประชาไทได้รับจดหมายจากผู้ใกล้ชิด สมยศ พฤกษาเกษมสุข จึงขออนุญาตนำเผยแพร่ต่อสาธารณะ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้



ร่างตัวเล็ก บอบบางในชุดกางเกงขาสั้น เสื้อสีเหลือง ของชายชราอายุ 61 ปี ชื่ออำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” มาหาผมที่แดน 1 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 เรานั่งคุยกันที่ใต้ต้นหูกวาง อากงบอกว่า เดินขึ้นบันไดเข้าห้องขังที่ชั้น 3 แดน 8 ไม่ไหวแล้ว ระยะนี้สามวันดีสี่วันไข้ คิดถึงลูกหลานเหลือเกิน ผมรับปากอากงว่าจะทำหนังสือถึงผู้อำนวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขังนายสมพงษ์ ประดิษฐ์วงศ์กุล ให้ย้ายกลับมาอยู่แดน 1 ให้อยู่ห้องเดียวกับผม

ถัดมาเพียงสัปดาห์เดียววันที่ 17 เมษายน 2555 ผมเจออากงคราวนี้ร่างกายผ่ายผอม ซูบเซียวมากกว่าเดิม อากงบอกว่าออกกำลังกายมากจนเจ็บท้อง หลังจากนี้ผมพบอาจารย์สุดา รังกุพันธ์ ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ซึ่งมาฟังการไต่สวนคดีของผม จึงได้แจ้งให้อาจารย์สุดาให้ช่วยประสานงานการย้ายห้องขังของอากงให้ด้วย

วันที่ 21 เมษายน 2555 ผมเจออากงก่อนเยี่ยมญาติ อากงบอกว่าอยู่ในคุกนานแล้ว ทุกข์ทรมานเหลือเกิน ผมสอบถามว่าใครเล่าทำให้อากงติดคุกแบบนี้ อากงตอบด้วยแววตาซื่อสัตย์ว่า “โทรศัพท์” และยืนยันหนักแน่นว่า “ผมส่ง SMS ไม่เป็น” ผมจึงถามอากงว่า เป็นคนจำพวกล้มเจ้าหรือเปล่า อากงบอกว่า “ผมรักในหลวง ถ้าออกจากคุกจะไปถวายพระพร”

ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของอากง โดยปราศจากข้อสงสัยทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผมถูกจองจำได้พูดคุยกับอากงหลายครั้ง ได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกประการ นอกจากเป็นคนส่งข้อความโทรศัพท์มือถือไม่เป็นแล้ว ในชีวิต 60 ปีของอากง อากงไม่เคยรู้จักนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาก่อน และแน่นอนที่สุด เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้เบอร์โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติอีกด้วย

การตัดสินลงโทษสถานหนักเป็นเวลา 5 ปี จำนวน 4 กระทง รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี สำหรับชายชราเงอะงะ ไม่ประสีประสาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและเหตุการณ์บ้านเมือง จึงค่อนข้างเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับผู้รักความเป็นธรรมจนทำให้ข่าวอากง ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปีโด่งดังไปทั่วโลก

ขณะที่ศาลตัดสินลงโทษอากง 20 ปี ผมถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมได้เขียนโคลงสี่สุภาพถึงอากง ขณะที่กำลังรอการพิจารณาไต่สวนอยู่มีข้อความดังนี้

 
ตระละการบอดใบ้


หกสิบปีเฒ่าท้น                เดียงสา

ภักดีกษัตรา                     ถ่องแท้

ถูกกักขังกล่าวหา              หมิ่นกษัตริย์

ติดคุกยี่สิบปี                    ป่นปี้ยาวนาน

อากงอาการเศร้า               โศกศัลย์

SMS มหันต์                     บ่รู้

เทคโนโตไม่ทัน                แน่แท้

ใครส่งสงสัยอ้าง               อาจเอื้อม งุน งง

ใช้สี่ข้อความไซร์              ซังเต

รัฐประหารซวนเซ              แซ่ซ้อง

โทษถึงตายโอเค              รอดพ้น

ตระละการบอดใบ้             เศร้าใจฉิบหาย

ประชาชนทนไม่ได้            ต่อสู้

เสียงเล่าเขารับรู้                สู่ฟ้า

อธิปไตยพวกกู                 กอบกู้

ตัวตื่นหยัดยืนสู้                ต่อต้านทรราชย์



ทนายความนายอานนท์ นำภา และครอบครัวของเขายื่นคำร้องขอสิทธิประกันตัวอยู่หลายครั้งเพื่อให้อากงได้ รับการรักษาพยาบาล และใช้ชีวิตชราภาพอยู่กับครอบครัว แม้ยื่นหลักทรัพย์จำนวนมาก และยังมีคณาจารย์จำนวนมากร่วมกันขอประกันตัวออกมา แต่ปรากฏว่าศาลยุติธรรมปฏิเสธที่จะให้การประกันตัวเช่นเดียวกันกับคนอื่น ๆ ที่ถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพียง 2 – 3 บรรทัด คือ มีโทษสูงกลัวการหลบหนี ในที่สุดอากงจึงสิ้นหวังต่อสิทธิการประกันตัวที่ถูกลิดรอนไปจากชีวิตของอากง

นี่คือความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานของอากง ที่ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของอากงทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว

อากงเป็นเสมือนพสกนิกรชาวไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แม้กระทั่งต้องติดคุกทุกข์ทรมานแสนสาหัสด้วยข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรม การตัดสินลงโทษถึง 20 ปี ย่อมเป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ มาตรา 112 จึงขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพโดยสิ้นเชิง กระนั้นก็ตามสำหรับอากงที่กลายเป็นเหยื่อของมาตรา 112 ยังคงจงรักภักดีไม่มีเสื่อมคลายแม้แต่น้อย อากงจึงเชื่อว่าหากได้ขอพระราชทานอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์แล้วจะได้รับความ เมตตาให้ปล่อยตัวในที่สุด

วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ผมเจออากงเป็นครั้งสุดท้าย อากงบอกว่า “ผมขอไปก่อน” อากงมั่นใจเป็นอย่างมากว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างแน่นอน ในขณะที่มือกุมท้องที่บวมเปล่งด้วยความเจ็บปวด อากงมีอาการแบบนี้มา 3 เดือนแล้ว แต่ไม่มีโอกาสตรวจรักษาอย่างละเอียดเพียงพอ เพราะสำหรับนักโทษในทุกเรือนจำทั่วประเทศต่างรับทราบกันดีว่า หากไม่มีอาการปางตาย จงอย่าเยื้องกายไปสถานพยาบาลของเรือนจำ มิเช่นนั้นจะถูกไล่ตะเพิดเหมือนหมู หมา กา ไก่ เพราะพวกนักโทษในสายตาของหมอ พยาบาล คือ พวกสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สมควรได้รับการรักษาพยาบาล กระนั้นก็ตามแม้มีอาการปางตาย กว่าจะไปพบแพทย์ หรือได้รับยารักษาพยาบาลก็มีขั้นตอนยุ่งยาก ส่วนใหญ่อาจพิการ หรือไม่ก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ผมได้รับทราบข่าวว่า อากงสิ้นลมหายใจไปแล้ว ความตายเป็นหายนะที่น่าสะพรึงกลัว ในฐานะเป็นนักโทษที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ทันใดนั้นหัวใจผมเหมือนจะหยุดเต้น เลือดในกายเหมือนจะเย็นยะเยือก กำลังวังชาเหือดหายไปในทันที

“ผมขอไปก่อน” ประโยคสุดท้ายที่ไม่ได้หมายถึงการได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัว แต่หมายถึงความตายที่พรากวิญญาณของอากงจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ชายชราผู้บริสุทธิ์เดียงสา ต้องตายจากไปด้วยมาตรา 112 ที่เป็นเครื่องมือการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การตายของเขาสะท้อนกระบวนการยุติธรรมที่ไร้มาตรฐานของไทยเราที่เกิดขึ้น ครั้งแล้ว ครั้งเล่า

ความตายของอากงคือความเหี้ยมโหด อำมหิตของมาตรา 112 และกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล ทั้งหมดนี้คือความเป็นจริงที่เจ็บปวดรวดร้าวของนักโทษตามมาตรา 112 ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานราวสัตว์เดรัจฉานในกรงขัง

อิสรภาพของร่างอันไร้วิญญาณ คือ เถ้าถ่านแห่งความทรงจำที่เจ็บปวดของสังคมเผด็จการภายใต้เสื้อคลุม ประชาธิปไตย คือความเลวทราบต่ำช้าที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่อง บุญบารมี และความดีจอมปลอม เพื่ออำนาจที่ฉ้อฉลของพวกเหล่าอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย

ไปสู่สุคติเถิด...อากงได้รับอิสรภาพแล้ว !!!



สมยศ พฤกษาเกษมสุข

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1

วันที่ 10 พฤษภาคม 2555

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมฯ สะท้อนใจเสื้อแดงด้วยกันเองใช้คำ "แดกกับศพ" อากง



8 พฤษภาคม 2555
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



ผมไม่อยากเริ่มโพสต์ด้วยเรื่องนี้ แต่บอกตรงๆว่า ในระหว่างวันนี้ ที่อ่านการเขียนของหลายคนที่ได้ชื่อว่า เป็น "เสื้อแดง" แล้ว รู้สึกทนไม่ได้จริงๆ

ผมจะยกมาเฉพาะข้อความทีเขียน ไม่ยกชื่อมา เพราะไม่ต้องการจะทะเลาะเป็นตัวบุคคล (แต่ละข้อความ ที่ยกมา คนเขียนคนละคน ไม่ซ้ำกัน ความจริง มีมากกว่านี้ ผมเอามาให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น)

"ก็ตามฟอร์มละครับ หาแดกกับศพแบบหน้าด้านๆ เหมือนเคย
เอาครัวครอบเขามาเป็นเครื่องมือเสี้ยมให้ชนกันอีก รู้สึกละอายบ้างไหมครับ"

"นิยายเรื่องอากง ใครบรรจงสร้าง ใครเขียนบท แล้วใครกำกับ ... อากงยิ่งมาตายก่อนการรวมตัวของคนเสื้อแดงประมาณสิบวันอีก อะไรมันช่างจะเหมาะเจาะขนาดน้าน"

"อากงซวยโคตร...ทนายที่ว่าความให้ เป็นแดงเต็มตัวชื่อ อานนท์ นำภา มีฉายาว่า "ทนายดราม่า" ไม่รู้ว่าอากงรู้ว่าโดนหลอกหรือเปล่า แต่ทนายคนนี้กะสังเวยอากงเพื่อเอาไปปลุกกระแสเหยื่อ ม.112 แน่"

"การจากไปของอากง ทุกคนเสียใจ และอาจจะมีมวลชนกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหว.....ถ้าการเคลื่อนไหวนำไปสู่ความ รุนแรง มันจะเข้าทางกลุ่มอำนาจเก่าทันที นั่นคือรัฐประหาร จะด้วยรูปแบบใด เราต้องเอามาคิดและวิเคราะห์ครับ เพราะฉะนั้นทุกการแสดงออกสามารถทำได้ แต่ต้องอย่าทำให้เข้าทางโจรครับ ฝากไว้ให้คิดครับ.....

"ถ้าอากง ล้มตาย มีหวังเป็น / ดั่งเฉกเช่น แผนการ มันสมใจ / หากต้องเสีย อากง ในยามนี้ / มีสิทธิ์ที่ เสื้อแดง แตกแยกได้ / และอาจทำ บ้านเมือง ลุกเป็นไฟ / โอกาสให้ รปห. ก่อนกันยา"
............

บอกตรงๆ ผมผ่าน และศึกษาขบวนการประชาธิปไตยในประเทศต่างๆมาเยอะ ไม่เคยเห็น ขบวนการไหน จะมี "สมาชิก" ที่ในสถานการณ์แบบนี้ ถ้าพูดแบบ "เบาๆ" ที่สุด จะ insensitive ขนาดนี้ (ขออภัย นึกคำไทย เหมาะๆไม่ได้) หรือถ้าพูดแบบแรงๆ คือ เห็นแก่ตัว มักง่าย เห็นแก่การอยู่ในตำแหน่งของรัฐบาลทีตัวเองเชียร์ จนลืม แม้แต่มนุษยธรรม หรือความ decency (ขออภัยอีกครั้ง ไม่มีคำไทย) พื้นๆ ไม่ได้


    ไม่เคยเห็นเลยจริงๆ

............

จริงๆ ตั้งแต่เมื่อเช้า หรือตลอดวัน ผมก็ "จำ" เรือ่งนี้ได้ ไม่ได้อยากจะพูดเอง

แต่ให้ผมแค่ "เตือนความจำ" ง่ายๆ สำหรับท่านเหล่านี้ว่า

กรณี "อากง" นั้น รัฐบาล ไม่ต้องพูดถึงก็ได้ (ไม่มีน้ำยาจะแตะเรื่องนี้อยู่แล้ว)

แต่แม้แต่ นปช. ทีอุปโลกน์ ตัวเองเป็น "กองหน้า ประชาธิปไตย"

ใช้เวลาถึง 2 หรือ 3 สัปดาห์ และหลังจากแถลงข่าว ต่อสื่อถึง 3-4 ครั้ง โดยไม่ยอมแม้แต่จะเอ่ยชื่อ "อากง" เลย แม้แต่คำเดียว จึงค่อย กระมิดกระเมี้ยน ออกมาพูด

ทั้งๆที่ในระหว่างนั้นทั่วโลก กระหึ่มไปด้วยปฏิกิริยา "ช็อค" ต่อคำตัดสิน 20 ปี (แม้แต่พวก รอยัลลิสต์ หลายคนยัง "ช็อค" ออกมาพูด)

พูดง่ายๆ record เรื่องนี้ ของ "แกนนำ นปช" เป็นอะไรที่ แย่มากๆ จนไม่รู้จะพูดอย่างไร

(ช่วงนั้น ผมโพสต์ติดต่อกันหลายวัน คงจำกันได้ ใครขยัน ลองไปทบทวนดูก็ได้ เริ่มจากอันนี้ ที่ผมโพสต์ 4 วันหลังจาก คำตัดสินคดีอากง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=251818618204758&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&type=1

(ไมต้องพูดถึงกรณี กม. 112 โดยทัวไปก็ได้ด้วยซ้ำ - แต่เรื่องนี้ จริงๆ ต้องมาพูดกันอีกในกระทู้อื่น)

ตอนนี้ อากง มาตายในคุก รบ. หรือ แกนนำ นปช มีส่วนต้องควร "ทบทวนตัวเอง" ระดับไหน (มีแน่นอน) เป็นเร่องที่ยังต้องพูดกันอีก

แต่นี่ไม่ทันไร บรรดา กองเชียร์ แบบไม่ลืมหูลืมตา ก็มัวเมา ไม่มีแม้แต่ decency ต้องรีบออกมา พูดแบบที่ผมยกขึนมาข้างบน


การพูดเช่นนี้ โดยเฉพาะเรื่อง "หากินกับศพ" มันแย่ขนาดไหน ในสถานการณ์เช่นนี้

ลองดูที่คุณ มัลลิกา เขียนก็ได้ ภาษาเหมือนกับพวกกองเชียร์ แกนนำ แบบหลับหูหลับตา เปี๊ยบ เลย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=379615648756676&set=a.228952123823030.70394.100001247315954&type=1&ref=nf

หรือการเสนอข่าว ของ ผู้จัดการ อันนี้

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000056874

คำว่า "หากินกับคนตาย" หรือ "หากินกับศพ" ออกมาจากปากคนอย่าง มัลลิกา หรือ ผุ้จัดการ ผมเฉยๆ เพราะพวกนี้ เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว


แต่ออกมาจากปาก "คนเสื้อแดง" ที่ อ้าง "ประชาธิปไตย"


บอกตรงๆว่า ทุเรศ มากครับ

ที่มา thaienews

หลากหลายคำอาลัย "อากง"​ เหยื่อคำพิพากษา พ.ศ. 2555

คำถามต่อจากนี้คือ อากงจะเป็นเหยื่อรายสุดท้ายหรือไม่ ?? ปฎิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 ปล่อยนักโทษการเมือง  

ที่มา thaienews

บทเรียนจากกรณี "อากง" กลุ่มนักกฎหมายสิทธิฯ เรียกร้องสิทธิปล่อยตัวชั่วคราว-รักษาพยาบาล

กลุ่มนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระบุการเสียชีวิตของนายอำพล สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่ว คราว ย้ำสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐาน พร้อมเสนอปรับปรุงระบบรักษาพยาบาลเรือนจำ



เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย และศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของนายอำพล พร้อมระบุว่า การเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้

1. ควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่วคราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน

2. เสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น

3. ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านายอำพล เสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม


//////////////////////////////////////////


อากง SMS เสียชีวิตในเรือนจำ ระหว่างรับโทษจำคุก 20 ปีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

องค์กรสิทธิ เรียกร้องสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและสิทธิในการรักษาพยาบาล



วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.10 นายอำพล หรือที่รู้จักกันในนาม “อากง” ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขณะถูกลงโทษจำคุก 20 ปี ในคดีซึ่งถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ชี้แจงว่า นายอำพลถูกส่งมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องในช่วงเที่ยงวันศุกร์ 4 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา และได้เข้าเตียงเมื่อ 15.40 น. แต่ยังไม่ได้รับการตรวจอย่างละเอียดเนื่องจากหมดเวลาทำการของห้องแล็บและ เป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้มีการเจาะเลือดในวันนี้แต่ยังไม่ทราบผล จนกระทั่งนายอำพลได้เสียชีวิตลง ขณะนี้อยู่ระหว่างการชันสูตรพลิกศพ

นายอำพลถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 และถูกคุมขังสองเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัว แต่ในวันที่18 มกราคม 2554 อัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ศาลกลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาจนกระทั่งมีคำ พิพากษาในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ให้จำคุก 20 ปี ระหว่างการต่อสู้คดีทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวหลายครั้งแต่ศาล มีคำสั่งไม่อนุญาต กระทั่งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ให้ สิ้นสงสัยได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด โดยเพียงลำพังหมายเลขอีมี่ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้ ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญาจึงต้องยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง พร้อมทั้งได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอีกครั้งโดยมีนักวิชาการ 7 ท่านใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน ประกอบกับเหตุผลว่านายอำพลไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ดังจะเห็นได้จากการที่นายอำพลไม่เคยขัดขืนการจับกุมและยังเคยได้รับการ ประกันตัวในชั้นสอบสวน ซึ่งระหว่างการประกันตัวดังกล่าวก็ได้มารายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอตามนัด อีกทั้งนายอำพลอายุมากแล้วและป่วยด้วยโรคมะเร็งในช่องปากซึ่งต้องไปพบแพทย์ เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับฐานะยากจนอยู่อาศัยกับภรรยาและหลานเล็ก ๆ สามคน ไม่มีความสามารถที่จะหลบหนีได้ แต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายอำพลตามที่ร้องขอ โดยศาลให้เหตุผลว่าเนื่องจากความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีที่มี ความร้ายแรง ประกอบกับยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี และการที่อ้างความเจ็บป่วยนั้นก็ไม่ปรากฎว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ซึ่งเป็นการปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 8 ต่อมาทนายจำเลยได้ถอนอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีรายชื่อแนบท้าย แถลงการณ์ฉบับนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ่งต่อครอบครัวของนายอำพล และเห็นว่าการเสียชีวิตของนายอำพล เป็นการสะท้อนให้เป็นที่ประจักษ์ของปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือ จำเลยในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในคดีอาญาอื่น ๆ จึงมีความเห็นและข้อเสนอดังต่อไปนี้

1. สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการ ยุติธรรม ภายใต้หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่า จะพิสูจน์จนสิ้นสงสัยได้ว่ามีความผิด ดังนั้นหลักกฎหมายอาญาจึงกำหนดให้ “จำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก และการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเพียงข้อยกเว้น” ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองไว้อย่างเป็นสากลทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี

ในกรณีที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ศาลต้องแสดงเหตุผลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานที่เป็นภาวะวิสัยและน่า เชื่อถือได้ว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่ออันตรายประการอื่น โดยที่เหตุผลเกี่ยวกับความหนักเบาของโทษและความร้ายของของพฤติการณ์แห่งคดี มิใช่ “เหตุหลัก” ตามกฎหมายที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราว กรณีการเจ็บป่วยจนเสียชีวิตของนายอำพลจึงเป็นบทเรียนถึงสิทธิในการปล่อยตัว ชั่วคราวจำเลย และการใช้ดุลพินิจของบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม

ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าว จึงควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีหมิ่นฯได้รับการปล่อยชั่ว คราว ตามมาตรฐานการใช้ดุลพินิจที่ศาลก็ได้เคยอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นฯ มาแล้ว และในระหว่างที่ยังไม่รับสิทธิดังกล่าวขอให้ย้ายนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เพราะถือเป็นนักโทษการเมืองเช่นเดียวกัน

2. สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลนั้น หมายถึงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพบว่านายอำพลเป็นโรคมะเร็งช่องปากต้องเฝ้าระวังการ ลุกลามของโรคโดยต้องไปพบแพทย์ทุก 3 - 6 เดือน แต่เมื่อนายอำพลไม่ได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราว และทางเรือนจำไม่สามารถให้การรักษาในลักษณะเฝ้าระวังโรคเพียงแต่สามารถรักษา ตามอาการได้เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นายอำพลเสียชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับปรุงมาตราฐานในการคัดกรองบุคคลเพื่อเข้ารับการรักษา พยาบาล เพิ่มงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ และจัดการรักษาโรคในลักษณะเฝ้าระวังของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงสิทธิการ รักษาพยาบาลอย่างแท้จริงและทันทัวงที ไม่ใช่การรักษาเมื่อมีอาการภายนอกรุนแรงแล้วเท่านั้น

3. เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ จึงต้องทำการชันสูตรพลิกศพ และมีการไต่สวนเพื่อให้ศาลทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 150 จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายช่วยกันค้นหาความจริงว่านาย อำพลเสียชีวิตด้วยเหตุใด ได้รับการรักษาพยาบาลที่เพียงพอแล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความเป็นจริงให้ปรากฏ รวมถึงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระเข้ามาร่วมตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้นายอำพล เสียชีวิต เพื่อความโปร่งใสของกระบวนการและขจัดข้อสงสัยต่อสังคม

กรณีการเสียชีวิตของนายอำพล ถือป็นบทเรียนหนึ่งสำหรับสังคมไทยและสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม นักกฎหมาย ตลอดจนรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อ บุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมือง การตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงและการจำกัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคล ตลอดจนสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ศูนย์ข้อมูลชุมชน(Community Resource Centre)


ที่มา prachatai

ใครคือผู้รับผิดชอบต่อความตายของ “อากง”

โดย นักปรัชญาชายขอบ


“...แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด

สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสีย หายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น...”

จากบทความ "อากงปลงไม่ตก" โดย สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม (ข่าวสดออนไลน์ 14 ธันวาคม 2554)



เมื่อทราบข่าว “อากง” เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลในเรือนจำเมื่อเช้านี้ ทำให้ผมต้องย้อนกลับไปอ่านบทความ “อากงปลงไม่ตก” ของ “โฆษกศาลยุติธรรม” อีกครั้ง ในโลก fb วันนี้มีแต่ความโศกเศร้ากับการจากไปของอากง และหดหู่สิ้นหวังกับ “ระบบยุติธรรมไทย”

เพราะ “อากง” ในความรับรู้ของพวกเราคือชายชราท่าทางซื่อๆ ที่มีโรคประจำตัวน่าสงสาร คือไม่ว่าจะดูบุคลิกภาพ บริบทครอบครัว หรือดูอะไร อย่างไร เราก็ไม่สามารถจะมองเห็นอากงในภาพพจน์ของ “บุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย” ไปได้เลย!

ยิ่งย้อนไปอ่านที่โฆษกศาลยุติธรรมระบุว่า “...คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากล และหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้คดีอย่างเสมอภาคเท่า เทียมและเป็นธรรม”

ยิ่งทำให้นึกถึงคำถามเก่าๆ ที่ศาลไม่เคยตอบเลย คือคำถามที่ว่า “ศาลได้พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์พยานจนสิ้นสงสัยแล้วหรือว่า อากงเป็นผู้ส่งข้อความ 4 ข้อความ นั้นจริง?”

และยิ่งเมื่อโฆษกศาลยุติธรรมอ้าง “หลักการสากล” ยิ่งทำให้เกิดคำถามตามมาอีกมาก เช่น

1. ตามหลักการสากล มีด้วยหรือที่การกระทำผิดด้วย “ข้อความ” ต้องลงโทษจำคุกถึง 20 ปี

2. ตามหลักการสากล มีด้วยหรือที่การทำผิดด้วย “ข้อความ” โดยชายชราคนหนึ่งที่มีโรคประจำตัว (มะเร็ง) ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่กลับไม่ได้รับสิทธิประกันตัว แม้ภรรยาของเขาจะอดข้าวประท้วง หรือกระแสเสียงของประชาชนที่มีมโนธรรมสำนักรักความยุติธรรมจะออกมาเคลื่อน ไหวเรียกร้องมากมายเพียงใดก็ตาม

ตามหลักการสากล ความยุติธรรมตามกฎหมายต้องไม่คำนึงถึง “มนุษยธรรม” และสิทธิมนุษยชนหรือครับ

หลักการสากลของประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลกครับ ที่เขาเป็นเหมือนประเทศไทยที่ปกครองด้วย “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบรม โพธิสมภาร

3. ตามหลักสากล การที่ศาลจะตัดสินคดีอาญาเอาคนเข้าคุก เขาไม่ต้องพิสูจน์ประจักษ์พยานจนสิ้นสงสัยหรือครับว่า “จำเลยเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดจริง”

4. ตามหลักสากล ในประเทศอารยะประชาธิปไตย เขาต้องยึดหลักนิติรัฐ นิติธรรม ตาม “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” ในการพิพากษาคดีไม่ใช่หรือครับ (ซึ่งหมายถึงต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด) มีประเทศอารยประชาธิปไตยที่ไหนในโลกครับที่เขายึด “อุดมการณ์กษัตริย์นิยม” ในการพิพากษาคดี

5. ที่โฆษศาลยุติธรรมเขียนว่า “สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินีด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและ ต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน...”

ถามว่า ตามหลักการสากล มีด้วยหรือครับ การตั้งข้อหาหมิ่นประมาทที่จำเลยไม่มีสิทธิพิสูจน์ว่าข้อความที่ตนพูดนั้นๆ เป็นความจริงและเกิดประโยชน์แก่สาธารณะหรือไม่ และ

6. ตามหลักการสากล มีด้วยหรือครับที่ “โฆษกศาลยุติธรรม” จะออกมาแสดงความเห็นต่อสาธารณะในท่วงทำนองกดเหยียดทางจริยธรรมต่อจำเลยว่า เป็น “บุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย” อันเป็นการหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด

สังคมไทยก็พูดกันอยู่เสมอๆ นะครับว่า คนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเป็น “พุทธมามกะ” และทรง “ทศพิธราชธรรม” ประเทศเราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน

แต่หลักปรัชญาพุทธและหลักการประชาธิปไตยนั้นต่างยกย่อง “ความเป็นมนุษย์” ของปัจเจกบุคคลว่า เขาแต่ละคนควรมีสิทธิ เสรีภาพ ที่จะใช้เหตุผล ใช้ปัญญาของตนเองแสวงหาการมีชีวิตที่ดีส่วนตัว และร่วมกันสร้างระบบ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เป็นธรรมบนพื้นฐานของความเสมอภาค ภราดรภาพ

โดยเฉพาะผู้ทรงคุณธรรมสูงส่งตามคติของพุทธศาสนานั้น ย่อมต้องมีปัญญาเข้าใจ เคารพความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ เมตตา ให้อภัยในความผิดพลาดบกพร่องของเพื่อนมนุษย์ หากไม่ใช่การกระทำความผิดที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ทรัพย์สินของผู้อื่นจริงๆ พุทธศาสนาย่อมไม่เห็นด้วยกับการลงโทษทางกฎหมาย

พุทธะเองนั้นสูงส่งทางคุณธรรมกว่ากษัตริย์มาก และท่านก็แสดงแบบอย่างให้เห็นว่า การมีคุณธรรมสูงส่งกับเมตตาให้อภัยต้องเป็นของคู่กัน

ฉะนั้น ท่านจึงสอนไม่ให้ชาวพุทธโกรธต่อคำจาบจ้วง ล่วงละเมิดพระศาสดา ธรรมะ และสังฆะ ซึ่งแสดงให้เห็น “สปิริตทางศีลธรรม” ว่า พุทธะเองแม้ถูกจาบจ้วงล่วงละเมิดท่านเองก็ไม่ถือสา และกำชับว่าชาวพุทธต้องไม่โกรธผู้ที่กระทำเช่นนั้น อย่าว่าแต่จะต้องเอาผิดทางกฎหมายใดๆ เลย

ถ้าเป็นจริงอย่างที่โฆษกศาลยุติธรรมเขียนว่า “...โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความ ขัดแย้งสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่น้อยนิดรวมทั้งพระองค์ท่าน ทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่าจึงไม่มีเหตุผลที่ จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง” อันนี้พุทธะยิ่งไม่ให้ใส่ใจเลย เพราะถ้าที่เขาพูดนั้น “ไม่จริง” ความเท็จนั้นก็ไม่อาจทำลายความดีงามที่ “มีอยู่จริง” ได้

ยิ่งชายชราชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งจะใช้ “ข้อความเท็จ” ทำลายความดีงามสูงส่งของ “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม” ให้มัวหมอง หรือเสื่อมเสียไปแม้แต่น้อยนิดนั้น ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ “ในโลกของความเป็นจริง” เลย ที่ว่าข้อความเท็จจะทำให้พระมหากษัตริย์ผู้ซึ่งในความเป็นจริงทรงเปี่ยมล้น ด้วยทศพิธราชธรรมเสื่อมเสียนั้นจึงเป็นเพียง “ความเชื่อ” เท่านั้น

ฉะนั้น การลงโทษตาสีตาสาคนหนึ่งที่ทำผิดด้วย “ข้อความ” เพียง 4 ข้อความ (ด้วย “ความเชื่อ” ว่าจะทำให้พระมหากษัตริย์ พระราชินีผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยความดีงามอยู่แล้วเสื่อมเสีย) โดยการจำคุก 20 ปี และไม่ให้ประกันตัว จนกระทั่ง “เขาตายในคุก” นั้น ไม่ว่าจะคิดด้วยหลักพุทธศาสนา หลักประชาธิปไตย หรือคิดจาก “หัวใจ” ของ “มนุษย์” เราก็ไม่มีทางจะเข้าใจได้ว่ามัน “ยุติธรรม” อย่างไร!

คำถามที่ค้างคาใจผู้คนในสังคมที่คนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา มีพระราชาทรงทศพิธราชธรรม ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ “ใครคือผู้รับผิดชอบต่อความตายของอากง?” ทั้งในทางมโนธรรมสำนึกของ “มนุษย์” ทางศีลธรรม และรับผิดชอบโดยการร่วมกันผลักด้นให้เกิดการปฏิรูป “ระบบยุติธรรมไทย” ให้อยู่ภายใต้ “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง!

ที่มา prachatai

ประวิตร โรจนพฤกษ์ : อากงเสียชีวิต ใครรับผิดชอบ? ม.112 ขัดสิทธิเสรีภาพใครรับผิดชอบ?

 แฟ้มภาพ : กิจกรรมไว้อาลัย 112 นาทีต่อกระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.54 หน้าศาลอาญา  ภาพโดย Kaptan Jng



ประวิตร โรจนพฤกษ์
@PravitR


ยังไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่อากง SMS หรือ นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาผู้ถูกตัดสินลงโทษ 20 ปีภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายพระบรมเดชานุภาพเสียชีวิตในโรงพยาบาลของเรือนจำพิเศษกรุงเทพใน เช้าวันที่ 8 พฤษภาคม ก็เกิดการแสดงความเห็นหลากหลายในโลกออนไลน์ สิ่งที่ผมสรุปได้อย่างหนึ่งก็คือ บรรดาคนที่รักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียงสามารถหาข้ออ้างหรือ “ตรรกะ” มาโทษทุกอย่างได้ นอกจากการที่จะยอมรับว่า กฎหมายมาตรา 112 มีปัญหาและไม่เป็นประชาธิปไตย

พวกเขาสามารถโทษได้ว่า ทำไมทนายของอากงถึงดื้อรั้นอุทธรณ์แทนที่จะรีบขอพระราชทานอภัยโทษ (ทั้งที่ก่อนหน้านี้คนเหล่านี้ไม่เคยรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยอะไรต่อชะตากรรม นักโทษทางความคิดซึ่งรวมถึงอากง) พวกเขาสามารถสรรหาทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด (conspiracy theory) ว่ากลุ่มนักการเมืองเสื้อแดงจัดให้เกิดการดำเนินคดีกับอากง แล้วล่าสุด รัฐบาลแดงจัดการกระทำให้อากงเสียชีวิต เพื่อที่จะได้เอาการเสียชีวิตของอากงไปเขย่าสถาบันกษัตริย์

บ้างก็บอกว่า อย่าเอาความตายของอากงไปหาประโยชน์รณรงค์เรื่อง 112 ทั้งๆ ที่อากงก็ติดและตายในคุกภายใต้มาตรา 112 ที่คนเหล่านี้สนับสนุน

คนเหล่านี้มักไม่เข้าใจเรื่องการทำให้การแสดงความเห็นต่างต่อสถาบันเป็นโทษ ทางอาญา (criminalization of speech) ว่ามันขัดหลักสิทธิพื้นฐานในการแสดงออกอย่างไร หรือไม่เข้าใจว่า อะไรคือนักโทษทางความคิด หรือ นักโทษทางมโนสำนึก (prisoner of conscience) มีรายหนึ่งบอกว่า ก็คิดได้หนิ แต่ห้ามพูด ผมจึงต้องบอกว่า ก็พวกเขาเป็นนักโทษทางความคิดเพราะเขาติดคุกเพราะแสดงความคิดออกมายังไงล่ะ

คนเหล่านี้มักแยกไม่ออก ระหว่างการวิจารณ์มาตรา 112 กับการวิจารณ์เจ้า แล้วพอใครวิจารณ์ 112 ก็เอะอะว่าเป็นพวกล้มเจ้า รับเงินทักษิณ “ปลุกระดม” มวลชน แต่คนเหล่านี้กลับนึกไม่ออกว่า การยัดเยียดข้อมูล “ดีๆ” ด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันฯมากว่า 50 ปีควรจะเรียกว่าอะไรดี

พวกเขามักไม่ยอมรับว่า มีการยัดเยียดข้อมูลด้านเดียวเรื่องเจ้า และไม่รู้หรือไม่ยอมรับว่า สื่อกระแสหลักมีการเซ็นเซอร์ข่าวด้านลบเกี่ยวกับสถาบันอย่างสม่ำเสมอมาหลาย สิบปี (เมื่อไหร่เราจะได้รับรู้ข้อมูลในสื่อกระแสหลักเกี่ยวกับรายละเอียดหนังสือ The King Never Smiles, WikiLeaks หรือสารคดีเกี่ยวกับสถาบันฯ ของสถานีโทรทัศน์ ABC แห่งออสเตรเลีย ที่ทำให้คนอย่างนายเอกชัย หงส์กังวาน ซึ่งขายซีดีนี้ต้องถูกดำเนินคดีภายใต้มาตรา 112) นี่ยังไม่รวมถึงการประจบเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมนึกถึงคำภาษาอังกฤษที่สามารถแปลได้ว่า คุณไม่สามารถกินเค้กที่คุณกินไปแล้ว (You cannot eat the cake and keep it at the same time.) หมายความว่าคุณไม่สามารถสนับสนุนกฎหมายที่ก่อให้เกิดการเซ็นเซอร์อย่างกว้าง ขวางแล้วบอกว่าไม่มีการเซ็นเซอร์

คนเหล่านี้พร้อมที่จะโทษทุกอย่างนอกจากตัวกฎหมายมาตรา 112 และตัวพวกเขาเองที่สนับสนุนกฎหมายที่ขัดกับหลักเสรีภาพและประชาธิปไตยพื้น ฐานนี้

ผู้เขียนเกรงว่า หากสังคมไทยไม่สามารถเรียนรู้อยู่กับความเห็นต่างเรื่องเจ้าได้ โดยไม่ต้องปิดปากหรือโยนคนเข้าคุกจนต้องเสียชีวิต เมืองไทยคงคล้ายคุกมากกว่าสังคม แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความรับผิดชอบร่วมของสภาพปิดหูปิดตายัดเยียดข้อมูลด้านเดียวและการโยนคนเห็น ต่างเข้าคุก คงตกอยู่ที่คนไทยทุกคน หาได้เป็นความรับผิดชอบของบรรดาผู้รักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียงเท่านั้น


หากสังคมมันป่าเถื่อนและไร้อารยะขนาดนี้ แล้วประชาชนไม่ทำอะไร ก็ป่วยการที่จะไปโทษคนอื่น โทษกฎหมาย หรือแม้กระทั่งโทษบรรดาผู้รักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอแต่ถ่ายเดียว   

ที่มา prachatai

ใต้เท้าขอรับ : ลาอากงด้วยข้อเท็จจริง

โดย พิณผกา งามสม บรรณาธิการข่าว

“ศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นเวลา 10.43 น. รวมระยะเวลา 18 นาที พิพากษาให้จำเลยมีความผิดในการส่งข้อความสั้นตามฟ้อง โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาททำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้การส่งเอสเอ็มเอสจะต้องส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก่อนประมวลผลไปถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ปลายทาง ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ประกอบข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระ เมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 14 (2) และ (3) การกระทำของจำเลยมีหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักสุด ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี ความผิด 4 กระทง รวมโทษจำคุกทั้งหมด 20 ปี”

http://www.prachatai3.info/journal/2011/11/37991

"ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิชาการที่ยื่นตำแหน่งเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวนายอำพล กล่าวว่า "การยื่นประกันตัวครั้งนี้หวังว่าศาลจะมีความเมตตา พิจารณาว่านายอำพลสูงอายุแล้ว ทั้งยังป่วยและไม่สามารถหลบหนีหรือยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน เนื่องจากนายอำพลมีครอบครัวในประเทศไทย และไม่มีความรู้หรือฐานะที่จะหลบหนีไปต่างประเทศได้ ไม่มีเหตุผลใดที่ศาลจะไม่ให้ประกันตัว จึงขอวิงวอนต่อศาลให้อนุญาตให้นายอำพลได้รับการประกันตัว อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองด้วย"

http://www.prachatai3.info/journal/2012/02/39322

"พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องร้ายแรงประกอบกับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยถึง ๒๐ ปี หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่จำเลยอ้างความป่วยเจ็บนั้นเห็นว่า จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวชอบแล้ว ยกคำร้อง"

http://www.prachatai3.info/journal/2012/03/39683

......................................................

ข้อเท็จจริงฉบับย่อที่รวบรวมมาด้วยความมึนงงและด้านชาต่อสิ่งที่เกิดขึนใน เช้าวันนี้ เป็นเพียงสิ่งน้อยนิดที่ดิฉันทำได้ในฐานะบรรณาธิการข่าวของเว็บไซต์ที่ตาม เสนอข่าวผู้ต้องหาคดีอาญามาตรา 112 อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพราะเราอยากจะล้มเจ้าแต่เพราะเห็นว่าข้อกล่าวหาและกระบวนการที่ ดำเนินอยู่มันส่งผลกระทบต่อเสรีภาพของมนุษย์ในทางที่ละเมิดต่อหลักสิทธิ มนุษยชน และยังถูกตีตราจากสังคม จากสื่อที่ปั่นเอาประเด็นเหล่านี้ไปรับใช้การต่อสู้และโจมตีกันทางการเมือง

ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้เรา-กองบรรณาธิการได้ข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับ การรายงานข่าวคดี 112 ว่าจะไม่ลงนามสกุลของผู้ต้องหาหรือจำเลยอีกต่อไป เพราะมันส่งผลไม่เพียงต่อตัวผู้ต้องหา หากแต่ยังกระทบต่อครอบครัวของผู้ต้องหาที่หลายคดีเราพบว่าถูกรังเกียจ เดียดฉันท์จากเพื่อนบ้าน ครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียน แม้ข้อตกลงนี้จะดูเป็นเรื่องไร้เดียงสาในเมื่อสื่ออื่นๆ เปิดเผยชื่อ-นามสกุลผู้ต้องหาชัดแจ้งแล้ว แต่เรายืนยันจะทำต่อไปด้วยเหตุผลว่า การละเมิดนั้นต้องไม่มาจากเรา

ดิฉันทำข่าวคดีทำนองนี้ไม่มากนัก แต่พอจะรู้ได้ว่านักข่าวผู้ต้องทำหน้าที่รายงานข่าวสายนี้ ต้องทำงานหนักด้วยความระมัดระวัง ซึ่งดิฉันชื่นชมเสมอมา ด้วยว่ามันเป็นประเด็นข่าวที่ไม่อภิรมย์เลย ดิฉันแทบไม่เคยได้ยินข่าวดีจากเรื่องราวที่เธอเล่าเลยสักครั้ง

ในฐานะมนุษย์ ดิฉันรู้สึกมึนงงจริงๆ และเมื่อสำรวจลงไปในหัวใจ ก็พบเพียงความด้านชาหนักๆ อยู่เท่านั้น คนเราไม่อาจเสียใจได้ซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ ในเรื่องที่เรารู้ซึ้งอยู่แล้วว่าเราจะต้องเผชิญกับความเสียใจเช่นนั้นอีก นับไม่ถ้วน ด้วยยังมีอีกมากหลายคดีที่ค้างคาอยู่ในชั้นศาล และอีกนับร้อยคดีที่ร้องทุกข์กล่าวโทษอยู่ในขั้นสืบสวนสอบสวน

ดิฉันทำได้เพียงกราบลาอากงด้วยข้อเท็จจริงของคดีอากงเท่านั้น และหวังด้วยว่าคนเราควรจะกราบกรานกันด้วยความเป็นจริง ไม่ใช่ด้วยอารมณ์อันถูกเร้าขึ้นให้ผู้ถูกกราบเลิศลอยเหนือมนุษย์

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า หากมันช่วยเปล่งเสียงให้กับสิทธิประกันตัวของผู้ต้องหาและจำเลยทั้งหลายในคุกของไทย

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า หากมันได้ช่วยส่งเสียงไถ่ถามถึงการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาในการสั่งไม่ให้ ประกันตัวว่าสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเพียงใดหรือไม่

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า หากมันได้ช่วยกระตุ้นคำถามที่หนักอึ้งถึงอุดมการณ์เบื้องหลังการบังคับใช้ มาตรา 112 ว่าสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและนิติรัฐเพียงใด

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า หากมันจะได้ทำให้สื่อมวลชนที่ยั่วยุปลุกปั่นความเกลียดชังได้สำนึกละอายในพฤติกรรมของตน

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า หากบรรดาผู้คลั่งเจ้าอย่างไร้สติจะได้หวนกลับคืนสู่ความเป็นมนุษย์ที่รู้ ร้อนหนาวในทุกข์ของผู้อื่น และไม่มืดบอดอยู่กับการแอบอ้างความรักเจ้าเพื่อจะสร้างความชอบธรรมแก่ความ คิดและพฤติกรรมถ่อยเถื่อนของตน

ความตายของอากงจะไม่สูญเปล่า...........

ที่มา prachatai

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ : อาลัยอากง: น้ำตาหยดนี้จะไม่สูญเปล่า



"เมื่ออากงเสียชีวิตในวันนี้ ผมก็รู้ว่า ในที่สุด ความพยายามของผมประสบกับความล้มเหลว คนในประเทศนี้ยังใช้กฏหมายหมิ่นฯ เป็นเครื่องมือทางการเมือง น่าอัปยศอดสูที่สุด"

แม้ว่าผมจะเป็นผู้ริเริ่มโครงการฝ่ามืออากง แต่ผมได้มีโอกาสพบอากงเพียงแค่ครั้งเดียวครับ ในโอกาสที่เราได้พบกันครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ เรือนจำคลองเปรม ผมได้พบกับป้าอุ๊ ภริยาของอากงด้วย เมื่อเราได้รับอนุญาตให้เข้าพบอากง ป้าอุ๊ได้แนะนำผมให้อากงรู้จัก ทันทีที่อากงรู้ว่าผมเป็นผู้เคลื่อนไหวโครงการฝ่ามืออากง อากงยกมือขึ้นไหว้ผม และกราบไปบนโต๊ะที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกรงขัง และได้กล่าวขอบคุณผมนับครั้งไม่ถ้วน อากงบอกว่า อากงรู้สึกประทับใจที่คนภายนอกให้ความเห็นใจอากง และขอบคุณผมเป็นพิเศษที่อุตส่าห์เป็นธุระเรื่องการจัดแคมเปญรณรงค์เพื่อ ปล่อยตัวอากง อากงพูดไปก็น้ำตาไหลไป บอกกับผมแต่เพียงว่า “อาจารย์ ผมไม่ได้ทำนะ ผมไม่รู้เรื่อง” ผมเองได้เพียงแต่ปลอบใจอากง และบอกว่า ผมเข้าใจว่าอากงเป็นผู้บริสุทธ์ และผมจะช่วยอย่างเต็มที่ที่จะให้สาธารณชนรับรู้เรื่องนี้ โดยหวังว่า ความเคลื่อนไหวของผมจะเป็นปัจจัยที่แม้ว่าอาจจะมีพลังเพียงน้อยนิด แต่ก็อยากให้เป็นแรงผลักดันให้อากงได้รับอิสรภาพในที่สุด แต่เมื่ออากงเสียชีวิตในวันนี้ ผมก็รู้ว่า ในที่สุด ความพยายามของผมประสบกับความล้มเหลว คนในประเทศนี้ยังใช้กฏหมายหมิ่นฯ เป็นเครื่องมือทางการเมือง น่าอัปยศอดสูที่สุด

เมื่อเราได้คุยกัน ผมได้ถามถึงทุกข์สุขของอากงในเรือนจำ อากงบอกว่า ก็อยู่พอได้ แต่อยากออกมาพบลูกหลานมากกว่า พูดไป อากงก็มองไปทางป้าอุ๊ ผมเห็นแล้วก็เศร้าใจครับ ป้าอุ๊พูดเสริมเกี่ยวกับความเป็นไปในครอบครัว และขอให้อากงอย่าเป็นห่วง ผมเองก็บอกอากงไปว่า ผมได้นำเงินจำนวนหนึ่งที่ได้รับจากการขายหนังสือเรื่องอากง มามอบให้ป้าอุ๊ในวันนี้ หวังว่าคงจะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากหรือขัดสนได้บ้าง พออากงรู้ อากงก็ร้องไห้อีก ยกมือไหว้ผม และกราบลงไปที่โต๊ะ อำนวยพรขอให้ผมประสบในสิ่งที่ดี -- เป็นภาพที่น่าเศร้าจริงๆ ครับ

ก่อนจะจากไป ผมบอกว่า เราไม่ลืมอากงแน่ๆ และจะช่วยจนถึงที่สุดให้อากงได้รับอิสรภาพ อากงกล่าวขอบคุณผมอีกหลายครั้ง และเมื่อต้องบอกลา อากงไม่ยอมเดินจากไป แต่กลับมองพวกเราเดินออกไปจนลิบตา

นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ผมพบอากง หลังจากที่ผมได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับป้าอุ๊แล้ว ผมก็ไม่มีโอกาสได้เจอกับครอบครัวอากงอีก เป็นเพราะผมไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ผมจึงไม่สามารถมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอีก แต่ผมยังมีโครงการเกี่ยวกับอากงที่อยู่ในใจอีกหลายโครงการ โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องการนำเรื่องอากงนี้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้รับรู้ถึงความอยุติธรรมทางสังคมที่เกิดจากการใช้กฏหมายหมิ่นฯ เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่อากงก็พลันมาเสียชีวิตเสียก่อน ผมขอให้ทุกคนที่รักความยุติธรรม ได้ต่อสู้ต่อไปเพื่อความถูกต้อง เพื่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงซึ่งความเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา -- อากงจะไม่เสียชีวิตเปล่าครับ แต่จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่การต่อสู้ที่เข้มข้นขี้นอีกต่อไป

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบวันแต่งงานปีที่ 44 ปีของอากงและป้าอุ๊ อีก 3 วันต่อมา เป็นวันจบชีวิตของอากง ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน?? ปกติผมจะไม่ค่อยเชื่อเรื่องผลกรรมเท่าไหร่ครับ แต่วันนี้ ผมหวังว่า คนที่ก่อกรรมกับคนบริสุทธิ์อย่างอากง จะต้องได้รับผลตอบแทนที่สาสมแน่นอน ไม่นานครับ และผมเริ่มจะเห็นถึงผลตอบแทนลางๆ แล้ว

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
8 พฤษภาคม 2555
เกียวโต ญี่ปุ่น

ที่มา prachatai

แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข เรื่องอากง




จักรภพ เพ็ญแข



ชื่อบทความเดิม แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข เรื่อง “นายอำพล ตั้งนพกุล” หรือ “อากง” เสียชีวิต วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2555

ผมรู้สึกเศร้าสลดใจอย่างลึกซึ้งต่อข่าวการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของ “นายอำพล ตั้งนพกุล” หรือ “อากง” ที่พวกเรารู้จักกันดีในฐานะเหยื่อของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเสียชีวิตของ “อากง” ได้สั่นสะเทือนความรู้สึกของคนไทยและชาวโลกที่กำลังเพ่งมองประเทศไทยว่า ยังมีความยุติธรรมและความเป็นธรรมหลงเหลือในคำว่ากระบวนการยุติธรรมหรือไม่

การพิสูจน์ทราบว่า “อากง” เสียชีวิตเพราะอะไร จะเป็นเพราะการกลั่นแกล้งรังแก หรือจงใจเจตนาให้ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกแบบแผนของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นเรื่องที่เวลาจะพิสูจน์ทราบต่อไป แต่สิ่งที่ปรากฏคือ ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย หรือคดีใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้มีอำนาจรัฐตัวจริง ย่อมอยู่ในภาวะอันตรายและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนศักดิ์ศรีอย่างรุนแรงทั้งสิ้น

ผมขอให้ดวงวิญญาณของ “อากง” ได้โปรดไปสู่สุคติภพและได้ดลบันดาลให้พวกเราที่ยังเหลืออยู่ประสบชัยชนะใน การต่อสู้เชิงโครงสร้างของสังคมไทย ไม่เห็นแก่การรอมชอมแบบตื้นเขินที่ไม่มีความหมายใดๆ ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย และมุ่งตรงไปสู่การยกระดับอำนาจและความเสมอภาคของประชาชนชาวไทยด้วยเถิด และขณะเดียวกันขอให้พี่น้องชาวประชาธิปไตยทั้งไทยและต่างประเทศได้ช่วยขยาย ความ กระจายข้อมูล และชี้ประเด็นอย่างชัดเจนถึงความไม่เป็นธรรมนี้ไปสู่มวลชนต่างๆ ทั่วประเทศไทยและทั่วโลก ขอให้การเสียชีวิตของ “อากง” ได้กลายเป็นอนุสาวรีย์ใหม่ช่วยให้เราทุกคนข้ามน้ำไปสู่ฝั่งที่เราพึงประสงค์ ได้ในเร็ววันด้วยเทอญ.

แถลง ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2555

นายจักรภพ เพ็ญแข

ที่มา prachatai

"อากง เอสเอ็มเอส" เสียชีวิตแล้ว หลังปวดท้องอย่างหนัก-เปิดจดหมายเขียนถึงทนายก่อนสิ้นใจ



เมื่อ เวลาประมาณ  10.20 น. วันที่  8 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายอานนท์ นำภา ทนายความสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์  โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กในชื่อ อานนท์ นำภา  ระบุว่า นางรสมาริน แจ้งว่า นาย อำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ อากง สามีอายุ 61 ปี  ผู้ต้องขังคดีส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งถูกศาลอาญาฯ  พิพากษาจำคุก 20 ปี   ในความผิดมาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้เสียชีวิตแล้ว  เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา  หลังมีอาการปวดท้อง เนื่องจากคาดว่า น่าจะเป็นผลพวงจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็ง  ต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นายอานนท์ โพสต์ข้อความระบุว่า "อากงเสียชีวิตแล้ว ป้าอุ๊โทรมาแจ้งเมื่อสักครู่ ช่วยไปอยู่เป็นเพื่อนแกที่เรือน​จำหน่อยครับ !"

พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์  เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ ยืนยันว่า นายอำพลได้เสียชีวิตลงแล้วจริงที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีอาการปวดท้องมาตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยแพทย์ในเรือนจำได้ให้ยาบรรเทาปวดเบื้องต้นก่อนที่ผู้บัญชาการเรือนจำ พิเศษกรุงเทพฯ จะส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และเสียชีวิตเมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ของวันที่ 8 พ.ค. อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างให้แพทย์ชันสูตรสาเหตุของการเสียชีวิตแล้ว


ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า "กราบ อากง อำพล .... (2494 - 8 พฤษภาคม 2555) ผมเสียใจมาก ร้องไห้ออกมา แบบปล่อยโฮเลย ทั้งๆที่ไม่รู้จัก อากง มาก่อน ...เพิ่งโทรคุยกับคุณ ป๋าจอม Nithiwat Wannasiri ได้รายละเอียดเพิ่มอีกเล็กน้อยอากง มีอาการป่วยมาสักระยะหนึงแล้ว แต่ว่า ระบบเรือนจำ การรักษาอะไรมันก็ไม่ดีเหมือนข้างนอก เห็นว่า สุดท้าย (ข้อมูลนี้คงต้องเช็ครายละเอียดอีกที นะครับ) ต้องไหว้วาน อ.หวาน Suda Rangkupan ช่วยเดินเรื่องให้เข้าไปรักษาในโรงพยาบาลในเรือนจำ อากง เข้า รพ.ในเรือนจำ ตั้งแต่วันศุกร์ วันนี้เสียชีวิต แน่นอน ป้าอุ๊ ไม่ได้อยู่ด้วยตอน อากง สิ้นใจ (โรงพยาบาลอยู่ในคุก คนนอกเข้าไปไม่ได้อยู่แล้ว) "ป๋าจอม" กำลังเดินทางเป็นเพื่อนไปกับป้าอุ๊ ไปเรือนจำ"


ด้านพ.ต.อ.จักร อ่อนนิ่ม ผกก.สน.ประชาชื่น กล่าวว่า หลังจากสน.ประชาชื่นรับแจ้งว่ามีนักโทษเสียชีวิตในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ช่วงเวลา 11.00 น. ได้รีบไปตรวจสอบพร้อมแพทย์นิติเวช ทนายความ รวมถึงภรรยาและลูกของผู้ตาย พบว่าร่างกายภายในนั้นปกติดี ไม่พบบาดแผลร่องรอยการถูกทำร้าย เพียงแต่ว่าบริเวณหน้าท้องมีลักษณะบวมมาก เนื่องจากผู้ตายมีปัญหาเกี่ยวกับไต และกำลังรับการรักษาอยู่เลยเกิดผลแทรกซ้อน ซึ่งทางญาติไม่ได้ติดใจอะไร เพียงแต่ต้องรอผลการผ่าพิสูจน์อีกครั้ง โดยทางเรือนจำอนุญาตให้ส่งศพผู้ตายไปผ่าชันสูตรที่สถาบันนิติเวชวิทยา ร.พ.ตำรวจ จากนั้นก็จะทราบสาเหตุการตายที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุใด ทั้งนี้จะเรียกผู้เกี่ยวข้องกับผู้ตายไม่ว่าจะเป็นภรรยาและญาติ แพทย์ที่รักษา รวมถึงนักโทษและผู้คุมที่มีความใกล้ชิดกับผู้ตายมาสอบปากคำอย่างละเอียดอีก ครั้ง




ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2555 "อากง"ได้เขียนจดหมายจากเรือนจำถึงนายอานนท์นำภามี เนื้อหาระบุว่า"สวัสดีครับ  คุณอานนท์  ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยที่ไม่เคยเขียนจดหมายไปหาเลย เหตุเพราะว่าผมเขียนไม่ค่อยเก่ง คิดอะไรไม่ค่อยออก สายตาก็ไม่ดีเลย  เลยไม่ค่อยอยากเขียน กับหลานๆผมก็ไม่เคยเขียนไปนะ ทั้งๆที่คิดถึงพวกเขามาก อาจเพราะว่าคุณหนุ่มเขาทำหน้าที่นี้แทนผมไปก็ได้ เขียนไปคุยเรื่องของผมให้หลานๆฟังอยู่เรื่อยๆ ผมเลยไม่ได้เขียนไป คุณหนุ่มเขียนเสมือนผมเขียนแหล่ะ


"ผมเอง สบายดีครับโดยเฉพาะช่วงนี้ ที่รู้ข่าวว่าคุณอานนท์จะทำเรื่องขออภัยโทษรายบุคคลให้พร้อมๆกับเพื่อนครอบ ครัว  112  ทั้ง  11  คน ผมดีใจและมีความหวังมากๆที่จะได้รับอิสรภาพในเร็วๆนี้ พร้อมๆกับเพื่อนๆที่ร่วมอดทนต่อสู้กันมาและผมเชื่อว่าทางออกทางนี้ดีที่สุด เพราะคดีอย่างผมยังไงก็ไม่มีทางที่จะนิรโทษกรรมกับเขาหรอก"


"ทุก วันนี้ผมก็ออกกำลังกายตอนเช้าๆทุกวัน บางวันผมก็ทำคนเดียว แต่บางวันผมก็ทำกับคุณหนุ่ม เรื่องความเป็นอยู่พวกเราก็กินด้วยกันที่แดน 8 พวกเราเกาะกลุ่มกันดีครับ ก็มีหนุ่ม หมี สุริยันต์ ไมตี้ และเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบคนเสื้อแดงอีกหลายคนคอยดูแลกันและกัน คุณอานนท์อย่าได้กังวล ที่ผ่านมาผมยอมรับว่าเหนื่อยมากๆ เหนื่อยที่จะมีชีวิตอยู่ เหนื่อยที่จะต่อสู้เพื่อค้นหาความยุติธรรมให้กับตัวเองและคนในครอบครัว ผมหมดกำลังใจหลายครั้ง คิดถึงแต่ลูกเมียและหลานๆ ก็มีแต่คุณหนุ่มที่จะคอยชาร์ตแบตให้ คุณหนุ่มจะบ่นว่าเสมอ ผมเป็นพวกแบตเสื่อมชาร์ตได้ไม่กี่นาทีก็ต้องกลับมาชาร์ตอยู่เรื่อยๆคิ ดแล้วก็เห็นใจหนุ่มเขานะ แต่ผมก็ท้อจริงๆในแต่ละวันผมจะเฝ้ารอ อุ้มาเยี่ยม บางวันพาหลานๆมา ทำให้ผมมีกำลังใจยิ้มได้บ้าง นี่แหล่ะคือความสุขของผมสามารถหาได้ตลอดเวลาที่ผ่านมา"


"คุณ อานนท์ไม่ต้องห่วงผมนะครับ ผมจะพยายามอดทนและมีกำลังใจสู้ต่อไป หวังแต่เพียงว่าคุณอานนท์และรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะช่วยกันผลักดันการขอ อภัยโทษของพวกเราในกรณีพิเศษเพื่อว่าผมจะได้กลับไปอยู่กับหลานๆลูกเมียเสีย ทีผมบอกตามตรงเลยนะครับว่าผมคิดถึงหลานๆมากที่สุดเลยครับผมเขียนจดหมายถึง หลานทีไรผมก็น้ำตาไหลทุกทีเลย  เลยไม่อยากเขียนไปหา"


"คุณ อานนท์ครับ ฝากกราบขอบคุณคนที่มาเยี่ยมให้กำลังใจผมและนักโทษ  112  ทุกคนด้วยครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผมจะได้รับข่าวดีในเร็ววันนี้ ขอขอบพระคุณมากครับ (นายอำพล.....) "


สำหรับ นายอำพลถูกจับกุมตั้งแต่วันที่3ส.ค.2553และถูกคุมขังสองเดือนก่อนศาลจะ อนุญาตให้ประกันตัวแต่หลังนายอำพลไปรายงานตัวเพื่อรับทราบคำสั่งฟ้องของ อัยการเมื่อวันที่18ม.ค.2554ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีกจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการยื่นขอประกันตัวอีกหลายครั้ง ด้วยเหตุที่ว่าเกรงจำเลยจะหลบหนี ส่วนการพิพากษานั้นในวันที่ 23 พ.ย. 2554 ศาลได้ตัดสินจำคุกนายอำพล 20 ปี จากการส่งข้อความสั้น (SMS) เข้าข่ายหมิ่นสถาบันไปยังมือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวในอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงกลางปี 2553 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและนายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี


ล่าสุดเมื่อวันที่3 เม.ย.ที่ผ่านมา นายอานนท์ ทนายความของนายอำพลดำเนินการยื่นถอนอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวเนื่องจากเจ้าตัว ต้องการจะขอพระราชทานอภัยโทษประกอบกับอายุมากและเป็นโรคประจำตัวแต่ปรากฏว่า มาเสียชีวิตเสียก่อน


เวลา 15.00 น. วันที่ 8 พ.ค. ที่ริมฟุตบาธหน้าศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นางสุดา รังกุพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิชาอักษรศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมคนเสื้อแดงประมาณ 50 คน ส่วนใหญ่ใส่ชุดสีขาวดำเพื่อไว้อาลัยให้กับนายอำพล นำรถติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชูภาพอากง ป้ายข้อความไม่เอา ม.112 เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรไปมาได้พบเห็น รวมทั้งมีการนำผ้าดำบางมาติดที่รั้วของศาลตั้งแต่หน้าประตูทางเข้า จนถึงป้ายศาลอาญา ระหว่างนี้มีการอภิปรายเชิญชวนให้ผู้ที่ได้รับทราบข่าว SMS มาร่วมชุมนุม โดยสำนักงานศาลยุติธรรมนำกำลังรปภ.มาดูแลความปลอดภัยภายในรั้วศาลอาญาอย่าง เข้มแข็ง และปิดประตูเหล็กทางเข้าออกหน้าศาลอาญาเพื่อป้องกันเหตุร้าย


ขณะ ที่นางสุดา กล่าวทั้งน้ำตาโดยเรียกร้องให้รัฐปล่อยตัวนักโทษการเมืองออกทั้งหมด โดยระบุว่าส่วนใหญ่นักโทษทางการเมืองมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งเป็นโรคเก๊าต์  อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งในช่วง 19.12 น. ของวันนี้ ตนจะนำคนเสื้อแดงจุดเทียนสีดำเพื่อไว้อาลัยแก่อากงและไว้อาลัยให้กับความ อยุติธรรม โดยมวลชนคนเสื้อแดงทยอยเดินทางมากันอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจราจรบนถนนรัชดาภิเษกตัดขัด

ที่มา khaosod


สัมภาษณ์: ภรรยา "อากง" ที่บ้านเช่า หลังดูหน้าสามีครั้งสุดท้าย  



8 พ.ค. 55 - "รสมาลิน" ภรรยานายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ "อากง SMS" ให้สัมภาษณ์ที่บ้านเช่าย่านสำโรง หลังกลับจากทราบข่าวการเสียชีวิต และเข้าดูศพสามี ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

"นัก โทษการเมืองไม่ใช่คู่ต่อสู้ของใคร เขาคือผู้ได้รับผลกระทบจากการเมือง อย่าเอาเขามาเป็นเชลย ปล่อยพวกเขาเถอะ ไม่เช่นนั้นจะมีคนเดินตามอากงต่อไปเรื่อยๆ คนแล้วคนเล่า" รสมาลินกล่าว

โดยหลังการสัมภาษณ์รสมาลิน เดินทางไปที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ต่อเพื่อไปร่วมกิจกรรมไว้อาลัยการเสียชีวิตของนายอำพล


ที่มา prachatai



"กลับบ้านเรานะ ตอนนี้เค้าปล่อยตัวลื๊อแล้ว" ภรรยาอากง



นาง รสมาลิน ภรรยานายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ "อากง" ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังดูศพสามี โดยกล่าวว่า "แกเคยบอกว่าถ้าแกไปก็เอาไว้วัดด่านนะ แกจะดูแลหลานเอง เรื่องการเสียชีวิตดิฉันไม่ทราบ แต่ติดใจเรื่องอื่นมากกว่าว่าทำไมคนแก่อย่างอากงต้องมาติดคุกทรมานแบบนี้"


ภรรยานายอำพล ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณกลับบ้าน โดยกล่าวว่า "กลับบ้านเรานะ ตอนนี้เค้าปล่อยตัวลื้อแล้ว"

ที่มา prachatai